บทที่ 8
การเขียนรายงาน
     
  ปัจจุบันระบบการเรียนการสอนในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนปลายจนถึงระดับ
อุดมศึกษา ผู้เรียนมักได้รับมอบหมายให้รู้จักการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และเสนอผลงานในรูปของรายงาน
ประกอบรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้มอบหมาย การเขียนงานวิชาการไม่ได้จำกัดเฉพาะในสถาบัน
การศึกษา หากแต่ยังคงมีบทบาทต่อนักศึกษาเมื่อประกอบอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ
เช่น การเขียนตำรา/หนังสือทางวิชาการ การเขียนรายงาน การวิจัย การเขียนบทความหรือบทวิเคราะห์ต่างๆ
เป็นต้น ดังนั้นการมีความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาค้นคว้า จึงเป็นประโยชน์ต่อการนำไป
ประยุกต์กับการเรียนและพัฒนาอาชีพในอนาคต
     
  การศึกษาค้นคว้า เป็นคำกล่าวที่หมายถึง กระบวนการแสวงหาข้อมูล ความรู้ด้วยตนเอง
จากทรัพยากรสารสนเทศที่มีการจัดเก็บและให้บริการตามสถาบันบริการสารนิเทศต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
อย่างใดอย่างหนึ่ง และสามารถนำเสนอผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าให้ปรากฎเป็นรูปธรรมตามลักษณะต่างๆ
ของผลงานวิชาการด้วย
     
ประเภทผลงานวิชาการ
   
  ผลงานวิชาการที่มีการศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงเป็นรูปเล่มทั้งในระบบการศึกษาและเป็นส่วนหนึ่ง
ของการทำงานสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
  1. รายงาน (Report)
  2. ภาคนิพนธ์หรือสารนิพนธ์ (Term Paper)
  3. วิทยานิพนธ์/หรือปริญญานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
  4. รายงานการวิจัย (Research Report)
  ซึ่งผลงานวิชาการในแต่ละประเภท มีลักษณะโดยรวม ดังนี้
     
  1. รายงาน หมายถึง งานเขียนที่นักเรียนหรือนักศึกษาเรียบเรียงขึ้นจากการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง
หัวข้อของรายงานส่วนใหญ่ ครูผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดให้มากกว่านักศึกษาคิดเองและต้องเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยว
ข้องกับรายวิชานั้นๆ การจัดทำรายงานอาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม ก็ได้ และมีระยะเวลาในจัดทำรายงานแต่
ละหัวข้อเป็นช่วงเวลาสั้น ซึ่งต้องเสร็จสิ้นภายในภาคเรียนที่มีการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ
  2. ภาคนิพนธ์หรือสารนิพนธ์ หมายถึง งานเขียนของนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีที่เรียบเรียงขึ้น
จากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หัวข้อของภาคนิพนธ์อาจกำหนดโดยครู ผู้สอน หรือ นักศึกษาเป็นผู้
กำหนดเองก็ได้ แต่ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาเอกที่นักศึกษาเรียนอยู่ การจัดทำภาคนิพนธ์มักเป็นงาน
รายบุคคล และหัวข้อของภาคนิพนธ์จะไม่ซ้ำกับบุคคลอื่นๆ ส่วนระยะเวลาในการทำมีกำหนด 1 ภาคการศึกษา
และการศึกษาคว้าคว้ามีความละเอียดลึกซึ้งกว่าการเขียนรายงาน
  3. วิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ หมายถึง งานเขียนของนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต
และปริญญาดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ที่เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่นักศึกษา
เป็นผู้กำหนดเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเอง และต้องเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ เนื้อหา
ในวิทยาพนธ์จะต้องก่อให้เกิดการค้นพบใหม่ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในสาขาวิชาดังกล่าว และเป็นหัวข้อที่ไม่เคยมี
การศึกษามาก่อน การจัดทำวิทยานิพนธ์ต้องเป็นงานรายบุคคลเท่านั้น โดยทั่วไปวิทยานิพนธ์จะมีโครงสร้าง
เนื้อหาใกล้เคียงกับการเขียนรายงานการวิจัย คือ ประกอบด้วยบทต่างๆ รวม 5 บท และต้องผ่านการตรวจสอบ
จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการนำออกเผยแพร่
  4. รายงานการวิจัย หมายถึง งานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าเพื่อแสงหาคำตอบในเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งที่ต้องการ โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งในระบบการศึกษา หรือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานก็ได้ การเขียนรายงาน
การวิจัยซึ่งเป็นผลจากการค้นคว้าวิจัยนี้ จะมีการทำอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการทำงานโดยเริ่มจากการกำหนด
หัวข้อ การกำหนดวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและการสรุปผลของการวิจัย ดังนั้นการเขียนรายงานการวิจัย
จึงเป็นการบันทึกกระบวนการของการวิจัยที่มีการดำเนินงานได้หลายประเภท
     
     
     
8.1
  ประเภทของผลงานวิชาการ
8.2
ประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า
8.3
ขั้นตอนการเขียนรายงาน
     
     
     
     
     
     
   
   
  กิจกรรมบทที่ 8
  แบบทดสอบบทที่ 8