
(Principles of Exercise Training to Improve Physical Fitness)
ในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผลบรรลุเป้าหมายการปฏิบัติจะต้องทำอย่างมีขั้นตอน จะต้องเหมาะสมการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายก็เช่นเดียวกันถ้าทำน้อยเกินไป
ก็จะไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้าทำมากเกิดไปก็จะเป็นผลเสียต่อร่างกาย หรือถ้าปฏิบัติข้ามขั้นตอน
ก็จะไม่เกิดประโยชน์เช่นเดียวกันในการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายมีหลักการทั่วๆ ไปคือ (Allyn and Bacon,1997:40-41)
1. หลักการใช้ความหนักมากกว่าปกติ (Overload Principle) ในการออกกำลังกายนั้น จะต้องมีความหนักเพื่อที่จะกระตุ้นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายส่วนที่ใช้ฝึกให้ได้ทำงานมากกว่า
ภาวะปกตินั้นเอง การใช้น้ำหนักมากกว่าปกติอย่างมีหลักเกณฑ์มีขั้นตอนทำให้ร่างกายหรืออวัยวะ
ส่วนนั้นพัฒนาขึ้นเช่น ปกติวิ่งวันละ 3 กิโลเมตร โดยไม่รู้สึกเมื่อยล้า หลักของการใช้ความหนัก
มากกว่าปกติจะต้องมากกว่า 3 กิโลเมตร ขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวต่อความหนักที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2. หลักการเพิ่มความหนักเพิ่มขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน (Principle Progression) เป็นขั้นตอน ต่อเนื่องจาก Overload Principle ในการเพิ่มความหนัก จะเพิ่มขึ้นตามใจชอบไม่ได้ เพราะอาจเกิด ผลเสียทำให้ไม่พัฒนาและอาจจะเกิดการบาดเจ็บได้ในการเพิ่มขึ้นนั้นจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีขั้นตอนและเหมาะสมกับระยะเวลา การปรับเปลี่ยนความหนัก ความบ่อยและระยะเวลาในการฝึกสามารถ ปรับได้ทั้ง 3 อย่าง ซึ่งถ้าปรับได้ทั้งอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะทำให้ความหนัก ของงานในการฝึก เปลี่ยนแปลงไป ในการเพิ่มความหนักควรค่อยๆ เพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการล้าของร่างกาย และควรมีวันพักให้ร่างกายได้ฟื้นสภาพจากอาการเหน็ดเหนื่อย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
3. หลักการออกกำลังกายแบบเฉพาะเจาะจง (Specific of Exercise) ในการออกกำลังกาย นั้นโปรแกรมการออกกำลังกายเพียงโปรแกรมเดียวจะไม่สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายได้ทุกด้าน ฉะนั้นในการออกกำลังกายจึงมีความจำเป็นจะต้องจัดโปรแกรมแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับ สมรรถภาพทางกายด้านนั้นหรือจัดโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะส่วนหรือเฉพาะอวัยวะที่ต้องการเสริมสร้างนั้นๆ
4. หลักการของฟื้นฟูสภาพ (Principle of Recuperation) ในการออกกำลังกาย จะทำให้เกิดอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ายิ่งกว่านั้นจะทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดในช่วงที่มีการพักก็จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้ร่างกายฟื้นจากอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทำให้ร่างกายฟื้นสภาพซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สะสมพลังงาน และสามารถกลับมาออกกำลังกายได้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนามากยิ่งขึ้น
5. หลักของการย้อนกลับ (Reversibility of Training) ถึงแม้ว่าช่วงที่ออกกำลังกาย นั้นร่างกายมีความสมบูรณ์เต็มที่ก็ตาม แต่เมื่อหยุดออกกำลังกายนานๆร่างกายจะเริ่มเสื่อมสภาพลง กลับเข้าสู่สภาวะเดิม โดยเฉพาะในวัยที่สูงอายุไปแล้วจะเสื่อมเร็วกว่าวัยหนุ่มเนื่องจากกิจกรรมการออกกำลังกาย การเล่นกีฬาลดลง
|