หลักการจัดสุขาภิบาลในที่ชุมชนต่าง ๆ |
|
สถานที่ชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากและจำเป็นต้องมีการจัดการสุขาภิบาลขึ้น |
ปะกอบด้วย |
1. |
การจัดสุขาภิบาลตลาด ตลาดเป็นสถานที่ซึ่งจัดไว้ให้ผู้ค้าขายใช้เป็นที่ประชุม |
สำหรับขายอาหารหรือสินค้าประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของสด ของแห้งอาหารกระป๋อง |
หรืออาหารที่ ปรุงเสร็จ ตลาดจึงเป็นแหล่งรวมผู้คนในชุมชนเพื่อซื้อหาสินค้าที่ต้องการ |
ถ้าตลาดสกปรก มีสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ยอมกลายเป็นแหล่งเพราะเชื้อโรค |
และแพร่กระจายโรคไปสู่คนกลุ่มใหญ่ ซึ่งอาจเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคทาง |
เดินหายใจ และโรคผิวหนังต่าง ๆ การจัดสุขาภิบาลจึงมีความจำเป็นเพื่อป้องกัน |
เหตุแห่งโรคต่าง ๆ ดังกล่าวโดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้ |
|
1.1 สถานที่ตั้งตลาด ให้ตั้งห่างจากสุสานและฌาปนสถานหรืคอกปศุสัตว์อย่างน้อย |
100 เมตร การปลูกสร้างตลาดให้ใช้วัตถุถาวร พื้นเรียบทำความสะอาดง่ายไม่มีน้ำ |
ขังและมีรางระบายน้ำไหลได้สะดวกใช้สู่ท่อสาธารณะหรือบ่อกักเก็บน้ำโสโครกตัว |
อาคารต้องโปร่ง มั่นคง แข็งแรง มีการระบายอากาศที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดการติดต่อ |
ของโรคและช่วยลดกลิ่นได้ด้วย ตลาดควรมีแสงสว่างที่เพียงพอและมีรั้วหรือประตู |
เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าเพ่นพ่านในตลาด |
|
1.2 การจัดสภาพภายในตลาด ต้องมีแท่นหรือโต๊ะสำหรับวางขายของที่มีความสูง |
จากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และไม่ใช้พื้นที่ได้แท่นหรือโต๊ะเป็นที่เก็บของ |
ให้มีช่องทางเดินระหว่างแท่นหรือโต๊ะที่วางขายไม่ต่ำกว่า 2 เมตร บริเวณทางเดิน |
ไม่ควรวางสิ่งของเกะกะเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ |
|
1.3 ห้องน้ำห้องส้วม รวมทั้งที่ถ่ายปัสสาวะและที่ล้างมือควรจัดให้มีจำนวนเพียงพอ |
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากคนไปสู่อาหารทั้งหลายที่วางขายในตลาด |
จำนวนส้วมให้พิจารณาจากจำนวนแท่น ถ้าแท่นน้อยกว่า 50 แท่น ต้องมีส้วมจำนวน |
จำนวนขั้นต่ำ 5 ที่และเพิ่มจำนวนส้วม 1 ที่ต่อจำนวนแท่นที่เพิ่มขึ้นทุก 25 แท่น โดย |
แยกส้วมสำหรับเพศชายและหญิงบริเวณหน้าห้องน้ำมีอ่างล้างมือไว้ จำนวน 1 ใน 3 |
ของจำนวนส้วมทั้งหมด |
|
1.4 ด้านสาธารณูปโภค ประกอบด้วย |
|
1.4.1 การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ ให้สะอาดและเพียงพอเพื่อใช้ประกอบการปรุง |
อาหาร การล้างพื้น ล้างแท่นหรือโต๊ะ ล้างผักผลไม้และอาหารสดบางชนิด และใช้ล้าง |
มือหรือทำความสะอาดอื่น ๆ เพื่อป้องกันสารสะสมของเชื้อโรค และช่วยชะล้างการปน |
เปื้อนที่ติดมากับผักและผลไม้อันเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร |
|
1.4.2 การกำจัดขยะมูลฝอย มีการสร้างที่เก็บและพักขยะให้มีขนาดพอเหมาะกับ |
ปริมาณขยะ มีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมลง หนู หรือสุนัขเข้าไปไต่ตอม หรือ |
ขุดคุ้ยได้ มีการนำขยะไปกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นประจำทุกวันซึ่งจะช่วย |
ป้องกันกลิ่นเหม็นและการหมักหมมของเชื้อโรค รวมทั้งเป็นการกำจัดที่เพาะพันธุ์แมลง |
และหนูด้วย |
|
1.4.3 การระบายน้ำโสโครก ให้ทำรางระบายน้ำที่ทำความสะอาดได้ง่าย การ |
ระบายน้ำ น้ำโสโครก ควรติดลวดตาข่ายสั้นเพื่อแยกเศษขยะ เศษเนื้อ เศษผัก และ |
ของแข็งอื่น ๆ ออก มีบ่อพักเพื่อให้ตกตะกอนทุกระยะ 6 – 10 เมตร และมีบ่อกักไขมัน |
ก่อนปล่อยน้ำโสโครกภายในตลาดออกสู่ท่อสาธารณะ |
|
1.5 การป้องกันในด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย |
|
1.5.1 การป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุ จัดให้มีเวรยามตรวจตราดูแลความ |
ปลอดภัยเป็นประจำ และเป็นการดูแลความเรียบร้อยจากอัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้า |
ลัดวงจรหรือการโจรกรรมต่าง ๆ |
|
1.5.2 การป้องกันและแก้ไขเหตุรำคาญ ที่เกิดในตลาดในลักษณะต่าง ๆ |
โดยเฉพาะกลิ่นเหม็นจากการบูดเน่าของเศษอาหาร เสียงอึกทึกและการสั่นสะเทือน |
ต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องจักในการปรุงและประกอบอาหารและก่อให้เกิดความ |
เดือดร้อนรำคาญต่อผู้อยู่ข้างเคียง |
|
1.5.3 การป้องกันการแพร่กระจายของโรคจากผู้ขาย ด้วยการตรวจสุขภาพของ |
ผู้ขายอาหารในตลาดประจำปีเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขายที่เจ็บป่วยเป็นโรคแพร่กระจาย |
เชื้อโรคไปสู่ผู้บริโภคทั่วไป |
|
1.5.4 การตรวจสอบอาหารที่นำมาขายในตลาด เป็นการสุ่มตรวจอาหารทุก |
ประเภทเป็นระยะ ๆ ซึ่งเป็นอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และอื่น ๆ อาหาร |
กระป๋องอาหารแห้ง และอาหารสำเร็จรูป จะช่วยป้องกันและควบคุมมิให้ผู้ขาย |
นำอาหารเสื่อมคุณภาพหรือสกปรกมาจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ |
|
1.5.5 การควบคุมตลาดระหว่างการเกิดโรคระบาด ประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ |
เช่น การสอดส่องเกี่ยวกับอาหารที่จะนำมาขายใหม่และสดเสมอ มีการป้องกันไม่ให้ |
แมลงวันตอม อาหาร เติมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเมื่อทำความสะอาดตลาดและให้คำแนะนำ |
เกี่ยวกับการป้องกันโรคระบาดนั้น ๆ |
2. |
การจัดสุขาภิบาลสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หมายถึง |
สถานที่หรือสิ่งก่อสร้างที่จัดไว้สำหรับให้คนในชุมชนใช้บริการเพื่อความบันเทิงพักผ่อน |
หย่อนใจ หรือเพื่อการชุมนุมของผู้คนเป็นจำนวนมากที่อาจมีสุขภาพอนามัยแตกต่างกัน |
สถานที่นี้จึงอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคนานาชนิด ดังนั้น การสุขาภิบาลจึงมี |
บทบาทและความจำเป็นที่ต้องดำเนินการเพื่อควบคุมและระงับการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ |
ประเภทของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีสภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย |
ประกอบด้วย |
|
2.1 สวนสนุก สนามเด็กเล่น และสวนสาธารณะ เป็นสถานที่ใช้พักผ่อนของคนทุก |
ระดับ ที่ต้องมีระบบการรักษาความสะอาดและสร้างความปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ |
ต่าง ๆ เช่น การถูกเศษแก้วบาด ตะปูตำ การตกจากชิงช้า การเกิดไฟฟ้ารั่วในเครื่องเล่น |
|
2.2 โรงมหรสพ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร และสถานที่เต้นรำ ซึ่งเป็นที่ชุมนุม |
คนในพื้นที่จำกัด จึงเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคระบบทางเดินอาหารมากที่สุด |
ถ้ามีการสูบบุรี่ในบริเวรดังกล่าวจะเป็นการลดปริมาณออกซิเจน และเพิ่มปริมาณของ |
ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น หากมีการนำอาหาร |
และเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานและเกิดปัญหาการทิ้งเศษอาหารหกเลอะเทอะ ย่อมเป็น |
แหล่งรวมของการขยายพันธุ์และการเติบโตของสัตวพาหะนำโรคบางชนิด รวมทั้งเกิด |
อุบัติเหตุลื่น สะดุดหกล้ม เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ |
|
หลักการจัดสุขาภิบาลของสถานที่ดังกล่าว จึงต้องเริ่มจากการจัดหาสถานที่การ |
ออกแบบและวางแผนผังต่าง ๆ การจัดระบบระบายอากาศ แสงสว่าง การรักษาและ |
ทำความสะอาดการจัดให้มีห้องน้ำห้องส้วม และมาตรการป้องกันอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย |
ต่าง ๆ ให้รอบคอบรัดกุมมีการแบ่งพื้นที่จอดรถให้เป็นสัดส่วน จัดให้มีม้านั่งและโต๊ะ |
สำหรับผู้ใช้บริการอาหารเพียงพอ อาจมีสถานที่ขายอาหารและเครื่องดื่มเป็นสัดส่วน |
รวมทั้งการที่จัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาลด้วย |
3. |
การจัดสุขาภิบาลสระว่ายน้ำ สระว่ายน้ำ หมายถึง สถานที่ที่มีไว้สำหรับ |
บริการให้คน ในชุมชนมาใช้ว่ายน้ำ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือออกกำลังกาย |
จึงเป็นที่รวมของผู้ใช้สระจำนวนมาก และเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆเช่น โรคระบบ |
ทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ โรค ทางตา โรคผิวหนัง และกามโรค รวมทั้ง |
อุบัติเหตุด้วย การจัดสุขาภิบาลสระว่ายน้ำจึงมีแนวทาง ดังนี้ |
|
3.1 โครงสร้างของสระว่ายน้ำ โดยทั่วไปนิยมสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความ |
แข็งแรง น้ำซึมผ่านไม่ได้ พื้นและผนังเรียบเพื่อให้ทำความสะอาดได้สะดวก รูปร่าง |
ของสระว่ายน้ำ นิยมสร้างเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านตื้นและด้านลึก เพื่อความ |
ปลอดภัยของผู้มาว่ายน้ำได้เลือก ว่ายได้ตามความสามารถของแต่ละคน ความยาวของ |
สระว่ายน้ำควร มีความยาวไม่น้อยกว่า 60 ฟุต ความกว้างอยู่ระหว่าง 5, 6 หรือ 7 ฟุต |
ถ้าเป็นสระที่ใช้สำหรับแข่งขันว่ายน้ำ จะมีความกว้างของลู่อย่างต่ำ 5 ฟุต ขนาดของ |
สระว่ายน้ำที่นิยมคือ กว้าง 30 ฟุต ยาว 60 ฟุต ผนังด้านข้างควรเป็นแนวตั้งไม่มีความ |
ลาดเอียง |
|
3.2 บริเวณรอบสระว่ายน้ำ ภายในสระว่ายน้ำควรจัดทำเครื่องหมายแสดงส่วน |
ต่างๆ ของสระเพื่อให้ผู้ว่ายน้ำสังเกตเห็นได้ง่าย เช่น เครื่องหมายแสดงระดับความ |
ลึกของน้ำ เครื่องหมายแสดงลู่ เป็นต้น จัดให้มีทางเดินรอบสระมีความลาดนิดหน่อย่ |
เรียบแต่ไมลื่นน้ำ และมีรางระบายน้ำ รอบ ๆ สระ เพื่อรับน้ำที่ล้นออกมาโดยให้มี |
ความกว้างประมาณ 12 – 18 นิ้ว และลึกพอประมาณ |
|
3.3 มาตรฐานของน้ำในสระ มีการใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ซึ่งมีปริมาณ |
ของคลอรีนไม่ต่ำกว่า 0.4 มก./ล. น้ำในสระต้องมีความเป็นกรดด่าง ประมาณ |
8.0 – 8.9จึงจะฆ่า แบคทีเรียได้ดี ควรมีการรักษาความสะอาดของน้ำในสระ |
ตลอดเวลาโดยช้อนวัตถุที่ตกตะกอน สาหร่าย ตะไคร่น้ำ หรือสารแขวนลอยตามผิว |
น้ำการวัดความใสของน้ำให้ใช้วัตถุสีดำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วไปวางส่วนที่ลึกสุด |
ของสระ แล้วมองจากทางเดินใกล้ขอบสระให้มีระยะห่าง 10 หลา ถ้ามองเห็นสีดำ |
ชัดเจนแสดงว่าน้ำในสระมีความใสได้มาตรฐาน มีการเก็บตัวอย่างน้ำมาตรวจ |
วิเคราะห์จำนวนแบคทีเรียในน้ำ |
|
3.4 การทำความสะอาดสระ ใช้การช้อนหรือตักสิ่งสกปรกที่สามารถมองเห็นและ |
การทำความสะอาดสระ ใช้การช้อนหรือตักสิ่งสกปรกที่สามารถมองเห็นและสระให้หมด |
และทำความสะอาดก้นสระรวมทั้งด้านข้างด้วยการขัดถูหรือใช้เครื่องดูดสิ่งสกปรก |
ที่อยู่ใต้น้ำออก |
|
3.5 มีระบบการป้องกันอุบัติเหตุ ด้วยการจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือผู้ว่ายน้ำ |
ให้พร้อมใช้งาน เช่น เรือช่วยชีวิต หุ่นลอย รั้วกั้นรอบสระว่ายน้ำ โทรศัพท์ |
ห้องพยาบาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือคนตกน้ำ |
|
3.6 แสงสว่างและการระบายอากาศ ควรมีแสงสว่างและการระบายอากาศอย่าง |
เพียงพอโดยเฉพาะในเวลากลางคืนต้องมีแสงสว่างทั่วบริเวณสระว่ายน้ำ เพื่อให้ |
มองเห็นได้ชัดเจนและเป็นการลดอุบัติเหตุจากการลื่นหกล้มต่าง ๆ |
|
3.7 ห้องน้ำห้องส้วม ควรอยู่ใกล้ทางเข้าสระว่ายน้ำ เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ |
บริการเพราะต้องอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายให้ห้องน้ำก่อนลงว่ายน้ำทุกครั้ง |
4. |
การจัดสุขาภิบาลร้านตัดผม ร้านตัดผม หมายถึง สถานที่ที่รับจ้างบุคคลทั่วไป |
ในการ ตัดผม โกนผม โกนหนวดและเครา ย้อมผม ดัดผม ตลอดจนการแต่งเล็บ |
นวดหน้าและแต่งหน้าด้วย ร้านตัดผมจึงเป็นสถานที่รวมประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ที่เข้า |
มาใช้บริการ ดังกล่าว หากร้านตัดผมขาด การสุขาภิบาลที่ดีย่อมเป็นแหล่งแพร่ |
กระจายโรคติดต่อหรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ง่ายจากการสัมผัสวัตถุสิ่งของหรือ |
เครื่องใช้ที่ต้องใช้ร่วมกันกับผู้อื่น ดังนั้น ร้านตัดผมจึงควรดำเนินการต่าง ๆ ให้ถูก |
สุขลักษณะเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวตามแนวทางต่อไปนี้ |
|
4.1 สถานที่ตั้ง ร้านตัดผมควรตั้งอยู่ในที่ชุมชนหรือใกล้ชุมชนเพื่อความสะดวกใน |
การสัญจรไปมา และเป็นบริเวณที่มีไฟฟ้าใช้สะดวก มีน้ำสะอาดเพียงพอในการชำ |
ระล้างรวมทั้งมีการกำจัดขยะมูลฝอยและน้ำโสโครกที่ดี ไม่ควรตั้งใกล้บริเวณโรงงาน |
อุตสาหกรรมที่มีกลิ่นเหม็นฝุ่นละอองมากหรือมีการสั่นสะเทือนตลอดเวลา รวมทั้ง |
ควรตั้งให้ห่างจากโรงฆ่าสัตว์ หรือโรงกำจัดขยะมูลฝอยด้วย |
|
4.2 อาคาร ร้านตัดผมอาจเป็นตึกแถว ตึกหลังเดียว ห้องแถว หรือเรือนไม้ก็ได้ แต่ |
ต้องเป็นอาคารถาวร มั่นคง แข็งแรง สามารถรับน้ำหนักตัวอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ |
ได้ มีประตูเปิด ปิดเข้าสู่ร้านได้สะดวก และต้องมีห้องน้ำห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับ |
ช่างตัดผมและลูกค้า ถ้าเป็นอาคารที่ใช้พักอาศัยด้วย ควรแยกห้องนอน ห้องครัว ให้ |
ห่างจากสถานที่ตัดผมเพื่อป้องกันเศษผมหรือฝุ่นละอองปลิวฟุ้งเข้าไปในห้องพักหรือ |
ห้องครัว |
|
4.3 ภายในอาคาร ต้องมีการระบายอากาศที่ดีพอ ควรมีประตูหน้าต่างที่ใช้ระบาย |
อากาศตามธรรมชาติและมีแสงสว่างที่เพียงพอ อาจใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ |
ช่วยระบายความร้อนออกสู่ภายนอกร้าน พื้นห้องควรเป็นซีเมนต์ขัดผิว หรือกระเบื้อง |
เคลือบ เพื่อให้ทำความสะอาดง่ายและติดไฟได้ยาก ส่วนผนังและเพดานต้องเป็น |
ผิวเรียบ เพื่อให้ทำความสะอาดได้ง่าย ควรใช้สีอ่อน ๆ เพื่อช่วยให้เย็นตาและทำไชให้ |
ห้องสว่างขึ้น |
|
4.4น้ำดื่ม–น้ำใช้เป็นสิ่งจำเป็นของร้านตัดผมซึ่งประกอบด้วย |
|
4.4.1 อ่างสำหรับสระผม ควรทำด้วยวัตถุไม่อุ้มน้ำ บริเวณโดยรอบควรเป็น |
กระเบื้อง หรือหินขัด เพื่อทำการขัดล้างและรักษาความสะอาดได้ง่ายซึ่งควรทำความ |
สะอาดทุกวัน |
|
4.4.2 อ่างล้างหน้า ควรจัดไว้ต่างหากซึ่งไม่ควรอยู่ห่างไกลจากห้องส้วม และ |
ควรมีสบู่วางไว้ประจำด้วย |
|
4.5 การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยในร้านตัดผมที่เป็นปัญหาในการเก็บ |
รวบรวมคือเศษผมซึ่งมักมีขนาดเล็ก จึงควรใช้เครื่องดูดฝุ่นช่วยเพื่อไม่ให้เกิดการ |
ฟุ้งกระจาย และนำมารวมไว้ในถังเก็บขยะมูลฝอยเพื่อรอการกำจัดต่อไป |
|
4.6 อุปกรณ์ต่าง ๆ การตัดแต่งหรือตัดผมรวมทั้งกิจกรรมบริการต่าง ๆ ของ |
ร้านตัดผมต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย |
|
4.6.1 เก้าอี้นั่งหรือเก้าอี้นอน ใช้สำหรับตัด ดัด หรือสระผม ควรเป็นเก้าอี้ที่หมุน |
ได้รอบตัว มีผนังพิงหลังหรือศีรษะ พร้อมที่วางแขนวางเท้าของผู้เข้ามารับบริการ |
ให้อยู่ในท่าสบาย เก้าอี้สามารถปรับให้อยู่ในท่านอนได้เพื่อความสะดวกในการโกน |
หนวด เครา กันผม และแคะหู |
|
4.6.2 ผ้าคลุม ใช้สำหรับคลุมตัวผู้ใช้บริการเพื่อป้องกันเศษผมร่วงหล่นใส่ร่างกาย |
จึงควรมีความยาวพอที่จะคลุมตัวผู้ใช้บริการอย่างมิดชิดเลยเข่าและควรเป็นผ้าสีขาว |
|
4.6.3 ผ้าขนหนู ใช้สำหรับพันคอเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คลุมตัวสัมผัสต้นคอของ |
ผู้ใช้บริการ จึงเป็นผ้าที่ต้องมีความสะอาด เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคทางผิวหนัง |
โดยเฉพาะกลาก เกลื้อน |
|
4.6.4 กรรไกร มีดโกน หวี และแปรง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับตัดแต่งผม หนวด |
เครา ต่าง ๆ ต้องสะอาด มีสภาพดี และปลอดภัยต่อการใช้งาน |
|
4.6.5 เสื้อคลุม ใช้สำหรับช่างตัดผมสวมใส่ขณะตัด แต่ง หรือให้บริการอื่น ๆ |
ซึ่งควรเป็นผ้าสีขาวสะอาด มีผ้าขาวปิดปากและจมูก เพื่อป้องกันเศษผมปลิวเข้า |
ปากหรือจมูกอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ |
|
และเพื่อความปลอดภัยจากการติดต่อและแพร่กระจายโรค ช่างตัดผมควร |
ปฏิบัติตนตามแนวทางต่อไปนี้ |
|
1.สวมเสื้อคลุมที่สะอาดและผ้าขาวปิดปาก ปิดจมูกขณะตัดผม |
|
2.ล้างมือ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังตัดผมลูกค้าแต่ละราย |
|
3.ชักผ้าขนหนูให้สะอาดและอบไอน้ำเดือดอย่างน้อย 15 นาทีก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง |
|
4.ถ้าช่างตัดผมป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น ลมบ้าหมู โรคเรื้อน วัณโรค คุดทะราด |
ห้ามตัดหรือให้บริการแก่ลูกค้าโดยเด็ดขาด |
|
5.ช่างตัดผมไม่ควรให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ และมีหนองไหล |
|
6.ห้ามใช้เวชภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารหนู ปรอท หรือกรดโลหะหรือวัตถุใดๆ |
ที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง เนื้อเยื่อ ตา หรือผมของคน |
|
|