บทที่ 8

ควบคุมมลพิษทางน้ำ

  มลพิษทางน้ำหรือน้ำเสีย (Water  Pollution) หมายถึง น้ำที่มีสารมลพิษปนเปื้อน
เกินขีดจำกัดทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ จนทำให้มนุษย์
สัตว์ และพืช ได้รับอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์
์ได้มีสารต่าง ๆ ปะปน อยู่มาก โดยทั่วไปน้ำที่สะอาดสำหรับการใช้ประโยชนจะมี
คุณลักษณะ ดังนี้
  1. ใสและสะอาด
  2. ปราศจากกลิ่นต่าง ๆ
  3. ปราศจากแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  4. ปราศจากเชื้อโร
  5.มีอุณหภูมิเหมาะสม
  แต่เนื่องจากน้ำในธรรมชาติจะมีสารประกอบต่าง ๆ ปนเปื้อน จึงได้มีการ
ทดสอบและกำหนดคุณภาพมาตรฐานของน้ำในแหล่งน้ำ ให้มีสารประกอบต่าง ๆ
มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ
 
ปริมาณสารประกอบในน้ำที่สามารถนำไปอุปโภคบริโภคได้
 
  ประเภทของมลพิษทางน้ำ
  มลพิษทางน้ำหรือน้ำเสียสามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. น้ำเสียเนื่องจากมีออกซิเจนน้อยเกินไป โดยเกณฑ์ปกติน้ำสะอาดจะมี
ออกซิเจนอยู่ในน้ำประมาณ 5 – 7 PPM  ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อสัตว์น้ำเพื่อใช้ในการ
ดำรงชีวิตและป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเหม็น มีสีดำ ถ้าน้ำมีปริมาณออกซิเจนน้อยเกินไป
จะทำให้เกิดปฏิกริยาเคมีแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียทำให้เกิดการเน่าเหม็น
ของน้ำดังนั้นการวิเคราะห์คุณภาพของน้ำจึงใช้ดัชนีของค่าออกซิเจนละลายน้ำ
(D.O., Dissolved  Oxygen) หรือค่าความต้องการออกซิเจนในการย่อยสลาย
ทางชีววิทยา (D.O., Oxygen  Demand) เป็นเกณฑ์ประเมินคุณภาพของน้ำ
  2. น้ำเสียเนื่องจากมีสารเคมีละลายปนอยู่  เป็นการปนเปื้อนของสารเคมี
ต่าง ๆ ในปริมาณมากจนทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ
เช่น มีปรอทตะกั่ว แคดเมียมปะปนอยู่ ซึ่งมักเป็นน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
  มลพิษทางน้ำทั้ง 2 ลักษณะมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม
ลักษณะการประกอบการ และกลุ่มของชุมชน
  แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ
  แหล่งสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ ได้แก่
  1. แหล่งชุมชน  เป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมการใช้น้ำต่าง ๆ ในชีวิต
ประจำวันของมนุษย์ เช่น การชำระร่างกาย การซักล้าง การขับถ่าย การประกอบอาหาร
เป็นต้น สิ่งที่ปนเปื้อนออกมามักเป็นปฏิกูล สารอินทรีย์ สารซักฟอก เชื้อโรค และ
ขยะมูลฝอย ปริมาณของน้ำเสียนี้มีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานและ
กิจกรรมของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ แหล่งน้ำเสียประเภทนี้เกิดในบริเวณชุมชนต่างๆ
เช่น อาคารบ้านเรือน สำนักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม หอพัก ร้านอาหาร และ
โรงพยาบาล
  2. โรงงานอุตสาหกรรม  เป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงงาน
อุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ กระบวนการ
ถ่ายเทความร้อน น้ำที่ใช้ล้าง ถังหรือภาชนะที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำเสียที่ปล่อย
ออกมาจึงประกอบด้วยสารอินทรีย์ และสารพิษต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท สารหนู
ไซยาไนต์ สังกะสี แคดเมียม  ซึ่งจะมีปริมาณและชนิดของ สารมลพิษแตกต่างกัน
ไปตามประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น 
  2.1 โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานผลิตนม โรงงานผลิตสุรา โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
โรงฆ่าสัตว์  จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารประกอบอินทรีย์สูง
  2.2 โรงงานอุตสาหกรรมเคมี โรงงานถลุงโลหะ โรงงานย้อมผ้า โรงงานฉาบโลหะ
จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารประกอบที่เป็นพิษและโลหะหลักลงสู่แหล่งน้ำ
  2.3 โรงงานผลิตโซดาไฟ จะปล่อยน้ำทิ้งที่มีสารปรอท ทำให้เกิดโรคมินามาตะ
เพราะสารมลพิษประเภทโลหะหนัก เช่น ปรอท แคดเมียม ตะกั่ว สามารถตกค้าง
ในสภาพแวดล้อมได้ นานและก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และสัตว์
   
โรงงานอุตสาหกรรมที่ทิ้งน้ำเสียจากกระบวนการผลิต
 
   
  3. น้ำเสียจากภาคเกษตรกรรม  เป็นน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้าน
เกษตรกรรมเช่น การใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
น้ำเสียจากฟาร์มสุกร นากุ้ง บ่อเลี้ยงปลาที่ปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์และอาหารสัตว์
น้ำเสียในภาคเกษตรกรรมจึงประกอบด้วยอินทรีย์และสารเคมีที่ตกค้างในดิน
หรือสะสมในเนื้อเยื่อของพืช และไขมันของสัตว์โดยเฉพาะสัตว์น้ำ
  4. น้ำเสียจากที่กำจัดขยะมูลฝอย เป็นน้ำเสียที่เกิดจากการนำขยะมูลฝอย
ไปกองไว้อย่างไม่ถูกวิธี ซึ่งขยะมูลฝอยดังกล่าวประกอบด้วยเศษอาหาร และของเน่า
เสียปะปนอยู่เมื่อฝนตกลงมา จะชะน้ำเสียของสารอินทรีย์ที่บูดเน่าดังกล่าวไหลปนเปื้อน
สู่แหล่งน้ำผิวดินและซึมลงสู่น้ำใต้ดินด้วย
  5. น้ำเสียในธรรมชาติ  เป็นน้ำเสียที่เกิดจากภาวการณ์ขาดออกซิเจนใน
แหล่งน้ำและเกิดการเน่าเสียเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสะพรั่งของ
แพลงตอนแล้วตายลงพร้อม ๆกัน การย่อยซากแพลงตอนทำให้ออกซิเจนหมดไปจึงมี
การเน่าเสียเกิดขึ้นแทน
  6. จากแหล่งอื่น ๆ เป็นน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งต่าง ๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว
เช่น น้ำเสียที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งทางน้ำ จากการทิ้งน้ำเสีย ขยะสิ่งปฏิกูล
และน้ำมันลงไปในน้ำคราบน้ำมันที่ลอยบนผิวน้ำจะเป็นอันลงไปในน้ำคราบน้ำมันที่
ลอยบนผิวน้ำจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและทำให้ออกซิเจนละลายน้ำได้ลดลงหรือการ
ทำเหมืองแร่ ที่ทำให้น้ำมีตะกอนขุ่นข้นและมีแร่ธาตุบางอย่างปะปนในน้ำในระหว่าง
กระบวนการล้างแร่ เป็นต้น
  ประเภทของสารมลพิษทางน้ำ
  สารมลพิษที่ปนเปื้อนในน้ำมีมากมายหลายประเภท ดังนี้
  1. เกลืออนินทรีย์ เป็นสารประกอบที่พบในน้ำทิ้งที่มาจากโรงงาน
อุตสาหกรรมและในธรรมชาติ เกลืออนินทรีย์จะทำให้น้ำกระด้างและเกิดตะกอนเมื่อ
นำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเกิดตะกอนในหม้อต้มน้ำของโรงงานอุตสาหกรรม
ทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น
เกลืออนินทรีย์บางชนิด เช่น เกลือของฟอสฟอรัส และไนโตรเจนจะทำให้สาหร่ายในน้ำ
เติบโตอย่างรวดเร็วและเมื่อสาหร่ายตายลงจะทำให้ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำสูงขึ้น
จนอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้
  2. กรดและด่าง เป็นสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีและ
โรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น โรงงานย้อมผ้า โรงงานสุรา โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์
และเคมียางพลาสติก เป็นต้น น้ำทิ้งควรมีค่า pH อยู่ระหว่าง  6 – 9 จึงจะไม่เป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ น้ำที่มีกรดหรือด่างปะปนมาก ๆ จะเป็นอันตรายต่อสัตว์
น้ำที่อาศัยอยู่
  3. สารอินทรีย์ เป็นสิ่งที่ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นจากการสลายตัวของอินทรีย์สาร
ในน้ำซึ่งทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ทำให้อึดอัด วิงเวียนศีรษะเมื่อสูดดมเข้าไป
หรือก๊าซฟีนอลซึ่งมีกลิ่นเหม็นและเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการอักเสบคัน นอกจาก
นี้สารอินทรีย์ที่เน่าเสียในน้ำยังทำให้น้ำขุ่น หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือสีแดง และทำให้
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง เนื่องจากจุลินทรีย์ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อย
สลายสารอินทรีย์เหล่านี้มากขึ้น
  4. ของแข็งในสภาพแขวนลอย เป็นสิ่งที่ถูกปล่อยมากับน้ำทิ้งจากโรงงาน
อุตสาหกรรมทำให้เกิดการตกตะกอนหรือถูกพัดพาไปทับถมอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ
เกิดการเน่าเปื่อยมีกลิ่นเหม็น ของแข็งที่ทับถมก้นแม่น้ำจะทำลายการแพร่พันธุ์
ของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในส่วนที่ลูกกระสุนน้ำพัดพาไปจะเพิ่มความขุ่นของ
น้ำให้เพิ่มขึ้น
  5. สสารที่ลอยน้ำได้  ประกอบด้วยของแข็งและของเหลวที่ลอยน้ำ เช่น ใบไม้
เศษไม้ กระดาษ ขยะ  โฟม  น้ำมันและน้ำมันเครื่อง ที่ปะปนในน้ำ ทำให้แสงอาทิตย์
ส่องลงในน้ำได้น้อยลงและทัศนียภาพของแหล่งน้ำเสีย
  6. น้ำร้อน คือน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าภาวะปกติ ถ้าเป็นน้ำที่ระบายออกจากโรงงาน
อุตสาหกรรมที่มีอุณหภูมิสูงและปริมาณมากจะทำให้เกิดการแบ่งชั้นขึ้นในแม่น้ำ
เป็นชั้นน้ำเย็นและชั้นน้ำร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ เพราะน้ำร้อนจะเบาและลอยอยู่
ชั้นบนทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง รวมทั้งทำให้เกิดปฏิกิริยาทางชีวภาพจากการ
ที่จุลินทรีย์ไปย่อยสารอินทรีย์ในน้ำมากขึ้น  ซึ่งเป็นส่วนทำให้ออกซิเจนในน้ำลดน้อยลง
อย่างรวดเร็ว อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ระหว่าง 25 – 30 องศาเซลเซียล
  7. สี ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทจะปล่อยสีออกมาปะปนในน้ำและมี
ผลกระทบต่อระบบนิเวศเพราะสีที่ถูกปล่อยลงน้ำจะดูดแสงอาทิตย์บางส่วนไว้และ
สะท้อนบางส่วนกลับไปสู่บรรยากาศ ทำให้แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องลงในพื้นน้ำ
ได้เต็มที่
  8. สารเคมีที่เป็นพิษ เป็นสารเคมีต่าง ๆ ที่ปะปนในน้ำทิ้งและทำให้เกิดอันตราย
ต่อมนุษย์และสัตว์น้ำ ซึ่งได้แก่
  8.1 ปรอท ปะปนมากับน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและยาฆ่าเชื้อราผล
กระทบต่อผู้ที่ได้รับสารปรอทคือทำให้ระบบประสาทต่าง ๆ ทำงานไม่สัมพันธ์กันเกิด
ความกลัวปวดศีรษะ ทำลายระบบหายใจและกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดโรคมินามาตะ ซึ่งมี
ลักษณะปัญญาอ่อน และกล้ามเนื้อลีบ
  8.2 แคดเมียม เป็นสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตสี โลหะ ยาปราบศัตรูพืช ซึ่งพบ
มากในโรงงานผลิตแบตเตอรี่  โรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้าหรือน้ำทิ้งจากเหมืองแร่
ทำให้กระดูกผุกร่อน ทำลายไต อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคอิไต อิไต ซึ่ง
ทำให้กระดูกเปราะหักง่ายและมีอาการปวดกระดูก
  8.3 ไนเตรทหรือไนไตรท์ เป็นสารมลพิษตกค้างจากการใช้ปุ๋ยในแหล่ง
เกษตรกรรมและจากโรงงานที่ใช้ไนโตรเจนในกระบวนการผลิต โรคที่เกิดจาก
ไนเตรทและไนไตรท์มักเป็นกับเด็กทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำ แม้จะรักษาอาการหาย แต่
ถ้าได้รับน้ำที่มีสารนี้เจือปนอยู่ซ้ำ ๆ อีกจะกลับมามีอาการที่สีผิวหนังคล้ำอีกได้
  8.4 ยาฆ่าแมลง ประเภทดีดีที ที่ใช้ฉีดแมลงในไร่นา ยาเหล่านี้จะสลายตัวยากและ
ละลายน้ำได้น้อยมากจึงถูกชะล้างสู่พื้นดิน แหล่งสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
และเมื่อมนุษย์ได้กินอาหารตลอดจนเนื้อปลาต่าง ๆ ที่มีดีดีทีสะสมเข้าไป จะกลาย
เป็นการสะสมในร่างกายของมนุษย์
  8.5 ตะกั่ว เป็นสารที่พบมากในโรงงานแบตเตอรี่ โรงงานผลิตสี ถ้าสะสมใน
ปริมาณมากจะทำให้ระบบประสาทผิดปกติและเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
  9. น้ำมัน  การกระจายของน้ำมันลงบนผิวน้ำทำให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศอย่าง
รุนแรงเพราะคราบน้ำมันที่กระจายบนผิวน้ำ จะทำให้ออกซิเจนในน้ำและอากาศถ่ายเท
ไม่ได้ทำให้สัตว์น้ำตายเพราะขาดออกซิเจนที่ใช้หายใจ
  10. สารที่ใช้ทำความสะอาดที่ทำให้เกิดฟอง จะพบมากในโรงงานกระดาษ
โรงงาน อุตสาหกรรมเคมีที่มีสารทำให้เกิดฟอง รวมทั้งผงซักฟอกจากที่พักอาศัยและ
อาคารต่าง ๆ ทำให้น้ำมีสภาพเป็นพิษ  เนื่องจากมีสารฟอสเฟตผสมอยู่ด้วย เพราะ
สารประกอบฟอสเฟตเป็นปุ๋ยเคมีที่สำคัญของพืชทำให้เติบโตและแพร่พันธุ์ได้เร็ว เมื่อ
พืชน้ำเหล่านี้ตายลงจะเป็นการเพิ่มสารอินทรีย์และเป็น อาหารของจุลินทรีย์ในน้ำ
นอกจากนี้วัชพืช เช่น ผักตบชวาจะเจริญได้อย่างรวดเร็วและสร้างปัญหาการจรจร
ทางน้ำ
  11.จุลินทรีย์ในน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สารอินทรีย์เกิดการสลายตัวเน่าเปื่อย
ในน้ำซึ่งพบมากในโรงงานฆ่าสัตว์  โรงงานฟอกหนัง โรงงานเครื่องกระเบื้อง จุลินทรีย์
ที่ใช่ออกซิเจนจะเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนจุลินทรีย์ที่
ไม่ใช่ออกซิเจนในการย่อยสลายจะทำให้เกิดก๊าซมีเทน และก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟต์
ทำให้มีกลิ่นเหม็น น้ำเป็นสีดำ
      12. สารกัมมันตรังสี  เป็นสารที่เกิดในอากาศและถูกชะล้างสู่แหล่งน้ำ ซึ่ง
    มักเกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การทำเหมืองแร่ยูเรเนียม หรือจากโรงงานผลิต
    พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะทำลายเซลล์ในร่างกาย ก่อให้เกิด
    โรคมะเร็งและทำลายระบบการเจริญพันธุ์
      อันตรายจากมลพิษทางน้ำ
      มลพิษทางน้ำทำให้เกิดความเสียหายหลายประการ ดังต่อไปนี้
      1. ด้านสุขภาพ น้ำเสียที่มีเชื้อโรคหรือสารพิษปะปนอยู่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
    ในมนุษย์เช่น อหิวาตกโรค บิด ไทฟรอยด์ มินามาตะ  อิไต-อิไต  และทำให้เกิดเหตุ
    รำคาญแก่ผู้ที่พักอาศัยในบริเวณแหล่งน้ำรวมทั้งผู้สัญจรทางน้ำที่มีมลพิษด้วย
      2. ด้านการอุปโภค  ถ้าน้ำเน่าเสียในแม่น้ำ ลำคลอง จะทำให้ขาดแคลนน้ำดิบ
    สำหรับการทำน้ำประปา เพราะมีกลิ่นและรสของน้ำเปลี่ยนไป น้ำที่มีสารแขวนลอย
    ปะปนเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร  หรือมีแบคทีเรียเกินกว่า 10,000 ตัวต่อน้ำ 
    100 มิลลิลิตร จัดเป็นน้ำที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมที่ไม่สามารถทำน้ำประปาได้
      3. ด้านเกษตรกรรม  น้ำเสียที่มีความเป็นกรดหรือด่าง เกลืออนินทรีย์  หรือมี
    สารพิษในปริมาณมากไม่ควรนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์หรือเพาะปลูกเพราะจะทำให้
    ้สัตว์มีอาการเจ็บป่วยแคระแกร็น หรือถ่ายทอดสารพิษที่สะสมไว้มาสู่มนุษย์
    ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
      4. ด้านการประมง  น้ำเสียจะเป็นสาเหตุที่ทำให้การแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำลดลง
    เพราะตายจากสารพิษ  หรือขาดออกซิเจนหายใจ จึงส่งผลกระทบต่อมนุษย์ที่เป็น
    ผู้บริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้เป็นอาหาร  จึงกล่าวได้ว่ามลพิษทางน้ำทำลายแหล่งอาหาร
    ของมนุษย์
        5. ด้านสิ่งแวดล้อม  น้ำเสียจะทำให้ระบบนิเวศของแหล่งน้ำเสียสมดุล เพราะพืช
      และสัตว์อาจตายลงจากการได้รับสารมลพิษในน้ำ
        6. ด้านทัศนียภาพ  สภาพน้ำเน่าที่มีสีดำและส่งกลิ่นเหม็น เป็นสิ่งทำลายความ
      สวยงามของแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ในด้านการพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้
      แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้รับผลกระทบตามไปด้วย
        การควบคุมและป้องกันมลพิษทางน้ำ  สามารถดำเนินการได้หลายวิธีดังนี้คือ
        1. กำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ  เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมและรักษา
      คุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดอันตรายและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน
      ต่าง ๆ ได้ การวัดความสกปรกของน้ำเสีย นิยมวัดด้วยค่าต่าง ๆ ต่อไปนี้
        1.1 บีโอดี (BOD, Biochemical  Oxygen  Demand) เป็นการวัดปริมาณ
      ออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ด้วยวิธีการทางชีวภาพในเวลา 5 วัน
      ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
        1.2 ซีโอดี (COD, Chemical  Oxygen  Demand)  เป็นการวัดปริมาณ
      ออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ด้วยวิธีการทางเคมี
        1.3 เอส เอส (SS, Suspended  Solids) เป็นการวัดปริมาณของ
      แข็งแขวนลอย
        1.4 ทีดีเอส (TDS, Total   Dissolved  Solids)  เป็นการวัดปริมาณ
      แบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากการถ่ายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงสู่น้ำ
        1.5 ค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Coliform Bacteria) เป็นการวัดปริมาณี่
      แบคทีเรียทเกิดขึ้นจากการถ่ายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงสู่น้ำ
      2.
      ดำเนินการควบคุมดูแลให้ผู้ประกอบการใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย  เพื่อทำน้ำ
      ให้สะอาดก่อนสู่แหล่งน้ำหรือสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง โดยรัฐบาลสนับสนุนการติดตั้ง
      ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานทั้งในด้านการติดตั้งและข้อมูลทางวิชาการ
      3.
      มีการกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน  เพื่อใช้
      เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
      สิ่งแวดล้อมได้กำหนดให้ปฏิบัติดังรายละเอียดในตาราง
      มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
      ประเภทและขนาดอาคารที่ต้องมีการควบคุมการระบายน้ำทิ้ง
      มาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร
        4. ให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อปลูกจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่คนในชุมชนที่อาศัยอยู่
      ริมฝั่งแม่น้ำให้รักและหวงแหนน้ำ ซึ่งจะช่วยให้มีความร่วมมือในการรักษา
      ความสะอาดและลดปริมาณสารปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำได้
        5. มีการตรวจสอบสภาพน้ำและแหล่งน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แก้ไขปัญหา
      ที่พบได้ทันรวมทั้งมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญ ๆ
        6. มีระบบกำจัดขยะมูลฝอยในแหล่งชุมชน เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ทิ้งสู่
      แหล่งน้ำโดยจัดถังขยะไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่สะดวกและมีปริมาณเพียงพอ มีการสร้างโรง
      กำจัดขยะหรือนำขยะไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งสร้างระบบและระบายน้ำเสีย
      ถังเก็บสิ่งโสโครกโรงกำจัดสิ่งโสโครก และโรงทำความสะอาดน้ำในบริเวณที่มีคน
      ในชุมชนหนาแน่น
        7. ให้การส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อลดปริมาณการให้ปุ๋ย  สารเคมี
      หรือยาฆ่าแมลงที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ และเป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ
      อินทรีย์สารที่ทิ้งสู่แหล่งน้ำเพราะสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักได้
        8. จัดให้มีการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มออกซิเจนในน้ำ
      ใช้แบคทีเรียพื้นเมืองชนิด Acineto bacteria sp.TISTR 985และPseudomonas
      so TIS TR 984 เพื่อกำจัดคราบน้ำมันในน้ำทิ้ง เพื่อให้น้ำทิ้งมาใช้ประโยชน์ได้อีก
        9. ใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อกำหนดขึ้นเป็นเกณฑ์ให้ต้องปฏิบัติตาม
      กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางน้ำของประเทศไทยในปัจจุบัน
      ประกอบด้วย
        9.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
      มาตราที่ 32 – 34, 55, 69 - 77
        9.2 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่องการกำหนด
      มาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
        9.3 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3
      (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภท
      โรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม
        9.4 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 4
      (พ.ศ. 2539) เรื่องกำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
      เป็นแหล่งมลพิษที่จะต้องถูก ควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออก
      สู่สิ่งแวดล้อม
        9.5 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 5
      (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากดินจัดสรร
        9.6 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2537) เรื่องกำหนด
      มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง
        9.7 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8(พ.ศ. 2537)เรื่องกำหนด
      มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน
        9.8 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
        9.9 กฎกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535)
        9.10 กฎกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535)
        9.11 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539)
        9.12 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
        9.13 พระราชบัญญัติรักษาคลองรัตนโกสินทร์ ศก 121 และพระราชบัญญัติรักษา
      คลอง พ.ศ. 2483
        9.14 พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526
        9.15 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2535
        9.16 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2518
        9.17 พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
        9.18 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้าน
      เมือง
        9.19ประกาศของกรมเจ้าท่าที่ 419/2540 เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการ
      ระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             

       

      8.1
        มลพิษทางน้ำ
      8.2
        มลพิษของดิน
      8.3
        มลพิษทางเสียง
           
         
           
           
           
           
           
           
           
           
           
          ใบกิจกรรมบทที่ 8
          แบบทดสอบบทที่ 8