มลพิษของดิน |
|
มลพิษของดิน (Soil pollution) หรือดินเป็นพิษ หมายถึง ดินที่มีคุณสมบัติ |
ทางเคมี ฟิสิกส์และชีววิทยา เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากการปนเปื้อนด้วยสาร |
มลพิษมากเกินขีดจำกัดทำให้ไม่เหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ จนเป็นอันตราย |
ต่อสุขภาพ ตลอดจนการเจริญเติบโตของามนุษย์ พืช และสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม |
|
ดินเป็นสสารที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ใน |
การใช้เป็นที่อยู่อาศัย และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ เนื้อดินในภาวะปกติจะประกอบ |
ด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อยผุพัง และมีความเปลี่ยนแปลง |
อยู่ตลอดเวลาจากอิทธิพลของความชื้น กระแสลม กระแสน้ำ และการกระทำของมนุษย์ |
|
ดินจะเป็นสารมลพิษที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศถ้ามีการฟุ้งกระจาย หรือ |
เป็นสารมลพิษที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำจากการชะล้างสารพิษในดินสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ |
และในทางกลับกัน ดินอาจเป็นแหล่งรองรับสารมลพิษต่าง ๆ จากอากาศ น้ำ มนุษย์ |
และกิจกรรมอุตสาหกรรม จากการที่ดินทำหน้าที่ดูดซับสารมลพิษต่าง ๆ ไว้ ซึ่งถ้ามี
|
สารมลพิษในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหามลพิษทางดินได้ |
|
แหล่งกำเนิดมลพิษของดิน |
|
สารมลพิษของดินมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ ดังต่อไปนี้คือ |
|
1. ย่านชุมชน จากการทิ้งของเสียในชุมชน ทิ้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซในรูป |
ของขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ทำให้เกิดความสกปรกในดิน รวมไปถึงน้ำ อากาศ และ |
กลายเป็นแหล่งเพาะ เชื้อโรค ทำให้เกิดโรคระบาด ทำลาย ความสวยงามของสถาน |
ที่แวดล้อม |
|
2. โรงงานอุตสาหกรรม เป็นการปล่อยของเสียทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ สารเคมี |
โลหะหนัก สารกัมมันตรังสี และขยะมูลฝอย ทำให้เกิดการสะสมตกค้างของสารพิษ |
และของเสียต่าง ๆ มลพิษทางดินจะมีระดับความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ |
กระบวนการผลิต วิธีการผลิต และประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงงานอุตสาหกรรม |
ในแต่ละประเภท |
|
3. ภาคการเกษตรกรรม จากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยเคมี เช่นี |
ดีดีท พาราโธ ออน เอนดริน ดีลดริน มาใช้ในการประกอบการเพื่อเพิ่มผลผลิตของ |
พืช ทำให้เกิดการตกค้างและสะสมสารพิษต่าง ๆ ในดิน |
|
4. จากแหล่งกำเนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกมันสำปะหลังซ้ำ ๆ หลายครั้งจะทำ |
ให้ดินจืดและเป็นมลพิษของดิน การถมที่ดินให้สูงขึ้น โดยมีโลหะหนักปะปนอยู่ทำ |
ให้มีการสะสมแร่ธาตุเหล่านี้ในดิน หรือแม้แต่การอุจจาระเรี่ยราดในดินทำให้เป็น |
การแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ และ หนอนพยาธิ |
|
ประเภทของสารมลพิษของดิน |
|
สารมลพิษของดินที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มีดังนี้ |
|
1. ปุ๋ยเคมี เป็นสารเคมีที่นำมาใช้ในการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นแต่ถ้า |
ใส่อย่างไม่มีความรู้ ไม่ถูกต้อง จะทำให้ดินเสื่อมโทรมและผลผลิตที่ได้รับจากดินนั้น |
ลดต่ำลง เช่น |
|
1.1 ปุ๋ยฟอสฟอรัส ทำให้มีการตกค้างฟอสเฟตในดิน |
|
1.2 ปุ๋ยยูเรีย/ปุ๋ยแอมโมเนีย ทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น |
|
1.3 ปุ๋ยที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ทำให้ลักษณะสมบัติทางกายภาพของดิน |
เสื่อมลง |
|
1.4 ปุ๋ย N-P-K มีผลกระทบต่อการลดลงของกิจกรรมจุลินทรีย์ในดิน |
2. |
วัตถุมีพิษ มักเป็นสารเคมีที่ใช้ปราบศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช |
ยาฆ่ารารวมทั้งดีดีที ซึ่งย่อยสลายได้ช้า มีการสะสมตกค้างจากพืชที่ดูดซึมสารดัง |
กล่าว และถ่ายทอดมาสู่คน ที่บริโภคพืชเหล่านี้ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ |
3. |
โลหะหนัก มักปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งดินจะสะสม |
โลหะหนักเหล่านั้นไว้ โลหะหนักที่สะสมตกค้างในดิน เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม |
โครเมียม สังกะสี เป็นต้น |
4. |
ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ดินบริเวณที่มีการทิ้งขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมาก ๆ |
ในลักษณะของการกองทิ้งสุมกันไว้ จะทำให้เกิดเน่าเหม็น มีน้ำโสโครกไหลออกมา |
นองพื้นอันเป็นสาเหตุของเหตุรำคาญ และกลายเป็นที่อาศัยของแมลงและสัตวแทะ |
์ต่าง ๆ ซี่งเป็นพาหนะนำโรค และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค |
5. |
สารกัมมันตรังสี ที่รั่วไหลจากการทดลองหรือจากโรงงานอุตสาหกรรมและปะปน |
สะสมในดิน จะถูกดูดซึมไปสะสมที่ใบและดอกของพืช ผ่านห่วงโซ่อาหารมาถึงมนุษย์ |
ซึ่งเป็นผู้บริโภคและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง |
|
จะเห็นได้ว่าสารมลพิษของดินจะเป็นกลุ่มเดียวกับสารมลพิษทางอากาศและสาร |
มลพิษทางน้ำ เนื่องจากดินมีคุณสมบัติในการดูดซึมสิ่งต่าง ๆ สารเคมี และสารพิษ |
ต่าง ๆ จากอากาศและน้ำสู่ดิน |
|
อันตรายจากมลพิษของดิน |
|
สารพิษที่ตกค้างในดินจนทำให้เกิดมลพิษ จะก่อให้เกิดผลเสียในด้านต่าง ๆ คือ |
1. |
ด้านสุขภาพ มลพิษของดินที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและหนอนพยาธิ ทำให้เป็น |
แหล่งเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ตัวอ่อนของพยาธิปากขอจะไชเข้าสู่ร่างกายทางหนังเท้า |
ส่วนดินที่มีสารเคมี ปนเปื้อนจะทำให้เกิดโรคตามประเภทของสารพิษที่มีการสะสม |
เช่น โรคอิไต – อิไต จากการปนเปื้อนของแคดเมียมโรคมินามาตะจากปรอท |
โรคเมทฮีโมโกลบิน จากการสะสมไนโตรเจนในรูปไนเตรต โรคเลปโตสไปโรซีส |
โรคแอนแทรกซ์ที่สะสมในดินผ่านห่วงโซ่อาหารมาสู่คน |
2. |
ด้านสิ่งแวดล้อม สารพิษที่ตกค้างในดินจะทำลายระบบนิเวศ ได้รับสารเอนดริน |
และคลอเดนจะยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียทำให้กระบวนการสร้างไนเตรตในดิน |
ได้รับความกระทบกระเทือน การใช้ยาฆ่าแมลงไม่ถูกหลักวิชาการทำให้ปริมาณแมลง |
ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น ตัวห้ำ สูญหาย และส่งผลให้จำนวนผลิตผลลดลง ซึ่งเป็น |
การเสียสมดุลในระบบนิเวศ นอกจากนี้การที่พืชดูดซึมสารมลพิษจากดินไป |
สะสมในส่วนต่าง ๆ และถ่ายทอดไปยังมนุษย์ที่เป็นผู้บริโภคย่อมทำให้เกิดการเจ็บป่วย |
จากสารพิษที่กินเข้าไปซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ |
3. |
ด้านเศรษฐกิจ มลพิษของดินทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ถ้าเป็นดินที่มี |
ขยะมูลฝอย ซึ่งไม่ย่อยสลายหรือย่อยสลายยาก เช่น เศษอิฐ เศษแก้ว พลาสติก |
ทับถมอยู่ หรือการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากเกินไป จะทำให้ดินเค็มไม่เหมาะกับการเพาะ |
ปลูก ทำให้พืชผลที่ลงทุนไปแล้วเสียหายและเป็นสาเหตุของภาวะหนี้สินเกษตรกร |
อันเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งของประเทศและส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนด้วย |
4. |
ด้านสังคม มลพิษของดินที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสุขภาพดังกล่าว |
ทำให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายคนจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรมและ |
บริการอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น เกิดชุมชนแออัด |
แหล่งเสื่อมโทรมตามเมืองใหญ่ ๆ เนื่องจากเกษตรกรละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม |
ที่ทำแล้วได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่าและยังส่งผลให้เกิดปัญหาอาชญากรรม และ |
ปัญหาการว่างงานด้วย |
5. |
ด้านการเมือง พื้นที่ที่มีสารมลพิษของดินมากจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิง |
เศรษฐกิจได้ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ ยากจน มีหนี้สินล้นพ้นตัว |
ซึ่งจัดเป็นความอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง |
ที่มีการชุมชนเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งยังเป็นโอกาสให้มีการ |
แทรกแซงทางการเมืองที่ให้ความคาดหวังต่อคนในชุมชนว่าจะมีโอกาสที่ดีขึ้น |
และนำไปสู่ |
|
การควบคุมและป้องกันมลพิษของดิน |
|
1. การใช้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ แต่เป็นกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำที่ห้ามกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิด |
มลพิษและตกตะกอนหรือสะสมในดิน ซึ่งเป็นการป้องกันปัญหาทางอ้อม |
|
2. นำวิธีการผลิตแบบยั่งยืนมาใช้ในภาคเกษตรกรรม ด้วยการใช้สารอินทรีย์มา |
ทดแทนปุ๋ยและสารเคมีต่าง ๆ หรือลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีให้น้อยลง |
เช่น การใช้มูลสัตว์ประเภทมูลวัว มูลไก่ หรือมูลค้างคาวทดแทน หรือสลับกับการ |
ใช้ปุ๋ยเคมีที่ทำให้ดินเสื่อมเร็ว ได้แก่ |
|
2.1 การใช้น้ำสะเดาหมักกับข่าพ่นกำจัดแมลงแทนสารกำจัดแมลง |
|
2.2 การใช้รังสีทำให้แมลงตัวผู้เป็นหมัน |
|
2.3 การใช้แสงล่อแมลงแล้วนำไปทำลาย |
|
2.4 การใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยกว่าทดแทน |
3. |
ปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดิน ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียให้ธาตุอาหารในดิน |
และไม่ต้องใช้สารเคมีเร่งการเจริญเติบโตมาก การปลูกพืชคลุมดิน พืชหมุนเวียน |
หรือพืชแซมเป็นวิธีการช่วยให้ดินพ้นจากแรงกระทบของฝนและลม รวมทั้งไม่มีพื้น |
ที่ว่างสำหรับการทิ้งขยะมูลฝอย |
4. |
ให้ความร่วมมือในการทิ้งสารมลพิษ ด้วยการทิ้งและกำจัดขยะมูลฝอยรวมทั้งสิ่ง |
ปฏิกูลอย่างถูกสุขลักษณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารมลพิษต่าง ๆ |
อย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุที่ก่อให้เกิดมลพิษด้วยการใช้วัสดุทางิ |
ธรรมชาตทดแทน หรือถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดมลพิษต้องศึกษาวิธีการ |
ใช้ให้ถูกต้องตามรายละเอียด |
วิธีการทำลายฤทธิ์ กำจัด ทิ้งหรือฝั่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|