มลพิษทางเสียง

  มลพิษทางเสียง (Noise  pollution) หมายถึง  ภาวะแวดล้อมที่มีเสียงไม่พึง
ปรารถนารบกวนโสตประสาทจนก่อให้เกิดความรำคาญหรืออันตรายต่อระบบการได้
ยินของมนุษย์และสัตว์
  เสียงเป็นพลังงานที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของอากาศที่ผ่านสู่อวัยวะ
รับฟังซึ่งต้องประกอบด้วยแหล่งกำเนิดเสียง ตัวกลางที่เดินผ่าน และการรับฟังคุณสมบัติ
ที่สำคัญของเสียงคือ มีความถี่ (pith หรือ frequency) ซึ่งวัดเป็นรอบต่อวินาที
(cycle per Second : cps) หรือครั้งต่อวินาที หรือ เฮิรตซ์ (hertz : Hz) เสียงสูงจะมี
ความถี่มากกว่าเสียงต่ำ ระดับความถี่ของเสียงที่มนุษย์ได้ยินอยู่ระหว่าง 20 – 200,000
ครั้งต่อวินาที ส่วนความดังของเสียงจะวัดเป็นเดซิเบล(decibel : dB) ความดังปกตb
ที่มนุษย์ได้ยินอยู่ระหว่าง 0 – 27 เดซิเบล เสียงที่เกิดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ
มนุษย์อาจเป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 เฮิรตซ์ ซึ่งเป็นลักษณะของการสั่นสะเทือน
หรือเป็นเสียงที่มีความถี่สูง รวมทั้งเสียงที่มีความดังเกิน 85 เดซิเบล ปัจจัยสำคัญของ
มลพิษทางเสียง จึงประกอบด้วยระดับความถี่หรือความดังของเสียงและระยะเวลาใน
การได้ยิน  เสียงที่มีความไพเราะถือเป็นเสียงธรรมชาติ (Sound) ส่วนเสียงอึกทึกที่
ที่ทำให้เกิดความรำคาญและมีผลเสียต่อร่างกายและจิตใจเรียกว่าเสียงรบกวนหรือ
เสียงอึกทึก (Noise) ระดับเสียงต่าง ๆ ที่เกิดในชีวิตประจำวันอาจกำหนดได้เป็น
ระดับเสียงในชีวิตประจำวัน

ระดับเสียงในชีวิตประจำวัน (ต่อ)
   
  แหล่งกำเนิดมลพิษทางเสียง
 
แหล่งกำเนิดเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวนซึ่งจัดเป็นมลพิษทางเสียงเกิดจากแหล่ง
ต่าง ๆ ดังนี้
1.
จากการจราจร  ซึ่งเป็นเสียงจากการจราจรทางบก ทางน้ำ  และทางอากาศที่
เป็นการขับเคลื่อนของยานพาหนะต่าง ๆ เช่น
  1.1 เสียงจากรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถไฟ  ที่มีปัญหาในเมืองใหญ่ซึ่งยวดยาน
หนาแน่น เสียงที่วัดได้จากย่านจราจรทางบกหนาแน่นจะมีความดังประมาณ
65 – 95 เดซิเบล
  1.2 เสียงจากท่าอากาศยาน ที่เกิดจากเครื่องบิน ขณะขึ้นหรือลงและทำให้อากาศมี
ความดันสูง เกิดการสั่นสะเทือนของหน้าต่างและกระจก เสียงที่วัดจากเครื่องบิน
คอนคอร์ดมีความดังประมาณ 112 เดซิเบล
  1.3 เสียงจากยานพาหนะทางน้ำ ได้แก่ เรือยนต์และเรือหางยาว ซึ่งมีเสียงดังมาก
คือ ประมาณ 80 – 100 เดซิเบล  เนื่องจากท่อไอเสียไม่ได้มาตรฐาน
  1.4 เสียงที่เกิดจากยานพาหนะประเภทต่าง ๆ จะมีระดับความดังไม่เท่ากัน
ระดับความดังของเสียงที่เกิดจากยานพาหนะ
2.
จากแหล่งชุมชนที่พักอาศัย  เป็นเสียงที่เกิดจากการใช้เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
ต่าง ๆ เช่น วิทยุ  โทรทัศน์  เครื่องขยายเสียง เครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีความดังประมาณ
60 – 70 เดซิเบล
3.
จากโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกิดจากการใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ประเภทต่างๆ
โดยเฉพาะในโรงงานทอผ้า  โรงไม้  โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงกลึง โรงพิมพ์ .บริเวณ
ก่อสร้างและอู่ซ่อมรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีความดังเฉลี่ยประมาณ 60 – 120
เดซิเบล ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องจักร
4.
จากเครื่องจักรกลทางการเกษตรกรรม ที่เกิดจากการใช้เครื่องยนต์ประกอบการ
เกษตรเช่น เครื่องสูบน้ำ รถแทรกเตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องพ่นยาฆ่าแมลง เป็นต้น
ความดังของเครื่องจักรกลเหล่านี้เฉลี่ยประมาณ 60 – 120 เดซิเบล
5.
จากแหล่งบันเทิงต่าง ๆ เช่น ดิสโก้เธค ไนต์คลับ และคอฟฟี่ชอป จะมีการใช้เครื่อง
ขยายเสียงที่ดังมาก ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการ ความดังโดยเฉลี่ยประมาณ
60 – 120 เดซิเบล
6.
จากเสียงของมนุษย์  ที่เกิดจากการพูดคุยหรือทะเลาะวิวาท ทำให้เกิดเสียงดัง
รบกวนประมาณเฉลี่ย 60 – 70  เดซิเบล
7.
แหล่งอื่น ๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น ฟ้าร้อง
ฟ้าผ่าเสียงยิงปืน ระเบิด การโฆษณาที่ใช้เครื่องกระจายเสียง เป็นต้น
  อันตรายจากมลพิษทางเสียง
  เสียงที่ดังเกินกว่าปกติจะมีผลเสีย ดังน
1. อันตรายต่อการได้ยิน  การอยู่ใกล้แหล่งเสียงที่ดังมาก ๆ เป็นเวลานานจะ
เสียต่ออวัยวะในการรับฟัง ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ดังนี้
1.1 หูตึงหรือหูอื้อชั่วคราว จากเสียงดังไม่มากและนานพอที่จะทำลายเซลล์ประสาท
และปลายประสาทได้อย่างถาวร
  1.2 หูตึงหรือหนวกถาวร  จากเสียงที่ดังมากเป็นเวลานานจะทำลายประสาทการได้
ยิน คือจะทำให้หูค่อย ๆ ตึงจนระบบการได้ยินเสียงอย่างถาวร ซึ่งมีการวิจับพบว่าผู้
อาศัยอยู่ใกล้แหล่งเสียงที่ดังเฉลี่ยกว่า 70 เดซิเบล ตลอด 24 ชั่วโมงจะทำให้หูตึงได้ใน
เวลา 40 ปี
  1.3 หูตึงและหนวกแบบเฉียบพลัน จากการได้ยินเสียงดังเกินไปในระยะสั้น ๆ
ทำให้เซลล์ประสาทและแก้วหูฉีกขาดทันที เช่น เสียงประทัด พลุ ระเบิด ฟ้าผ่า
2.
อันตรายต่อจิตใจ  เสียงทำให้เกิดความรำคาญ นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท
หงุดหงิด ไม่สบาย โกรธง่าย มีอาการทางประสาทโดยเฉพาะผู้เป็นโรคประสาทอาจ
คลุ้มคลั่งได้
3.
อันตรายต่อสุขภาพ เสียงที่ดังมากเกินไปมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายผิดปกติ
เซลล์ประสาทและแก้วหูฉีกขาดทันที เช่น เสียงประทัด พลุ ระเบิด ฟ้าผ่ามีกรดใน
กระเพาะอาหารมากผิดปกติ คลื่นไส้และอาเจียน (เป็นอาการของเสียงที่ดังเกิน 135
เดซิเบล) และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่นโรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร
และโรคต่อมไทรอย์เป็นพิษ
4.
ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง  เพราะเสียงจะทำให้เสียสมาธิในการ
ทำงานต่าง ๆ และอาจเกิดความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น
5.
เป็นการรบกวนการติดต่อสื่อสาร เสียงจากการพูดโดยตรง หรือการพูดที่ใช้
เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง
6.
ทำลายสิ่งมีชีวิต เสียงบางชนิดสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กให้ตายได้ เช่น
เสียงจากเครื่องบินไอพ่นที่มีความถี่ประมาณ 15,000 – 20,000 เฮิรตซ์  เมื่อผ่าน
ลงไปในน้ำจะทำให้แบคทีเรีย กบ และปลาตายภายในไม่กี่นาที
  การควบคุมและป้องกันมลพิษทางเสียง
  แนวทางการป้องกันมลพิษทางเสียงมีหลายวิธีการ ดังนี้
1.
ใช้มาตรการทางกฎหมายหรือข้อบังคับ  เพื่อกำหนดมาตรฐานความดังของเสียง
และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ ทางเสียงที่ใช้ในปัจจุบัน
ประกอบด้วย
  1.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตราที่
32 64 68  92
  1.2 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
  1.3 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับ
เสียงของรถยนต์
  1.4 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
  1.5 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่องการ
กำหนดมาตรฐานระดับเสียงทั่วไป
2.
กำหนดค่ามาตรฐานของระดับเสียงรถยนต์ เพื่อควบคุมมลพิษทางเสียงและใช้เป็น
เกณฑ์ในการตรวจสอบดังรายละเอียด
ค่ามาตรฐานของระดับเสียงของรถยนต
       
3.
ลดหรือควบคุมระดับเสียงที่แหล่งกำเนิด ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น
  3.1 ติดตั้งเครื่องลดหรือเครื่องกรองเสียงด้วยการใช้ท่อไอเสียที่ได้มาตรฐานตาม
แบบของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  3.2 ใช้หรือปรับแต่งเครื่องยนต์ให้มีความสมบูรณ์  ด้วยการใช้เครื่องยนต์อุปกรณ์
ตามแบบมาตรฐานของการผลิต การตรวจสอบดูแลสภาพเครื่องยนต์ในเรื่องน้ำมัน
หล่อลื่นและการหลอม การสั่นคลอนของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์
  3.3 ไม่ดัดแปลงท่อไอเสียหรือส่วนใดที่จะทำให้เกิดเสียงดังเกินไป
  3.4 ขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์ในอัตราความเร็วพอเหมาะและไม่บรรทุก
น้ำหนักเกิน
  3.5 ติดตั้งกำแพงป้องกันหรือดูดซับเสียงจากถนนหรือโรงงานอุตสาหกรรมและ
กิจกรรมอื่น ๆ เช่น กำแพง ต้นไม้ หรือคันดิน
  3.6 เพิ่มระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียงถึงผู้รับ เช่น เว้นช่องระหว่างถนนและ
บ้านเรือนหรืออาคารริมถนน กำหนดให้มีระยะห่างระหว่างเครื่องจักรที่มีเสียงดังกับ
แนวเขตของโรงงาน กำหนดพื้นที่ว่างระหว่างขอบของโรงเรียนหรือกิจกรรมที่มีเสียง
ดังกับบ้านเรือนประชาชน
4.
ลดหรือควบคุมระดับเสียงที่ผู้รับ เมื่อไม่สามารถลดระดับเสียงที่เกิดได้ เช่น ห้ามใช้
เสียงในบางเขตที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน
และสถานที่พักฟื้น เป็นต้น
5.
ใช้อุปกรณ์ป้องกันหู  ในกรณีที่ไม่สามารถจำกัดเวลาในการสัมผัสเสียงได้  การใช้
เครื่องป้องกันหูจะช่วยลดความเข้มข้นของเสียงที่จะผ่านเข้าในช่องหู เครื่องป้องกันหูที่
นิยมใช้ เช่น
  5.1 เครื่องอุดหู (Ear Plugs) ใช้อุดหูทั้ง  2 ข้าง โดยสอดใส่เข้าไปในช่องหู
เครื่องอุดหูแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการลดเสียงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของ
วัสดุที่ทำ เช่น
  สำลีธรรมดาชนิดอัดแน่น      ลดความดังได้ประมาณ 6 – 8 เดซิเบล
  ขี้ผึ้ง ดินน้ำมัน                ลดความดังได้ประมาณ 20 เดซิเบล
  พลาสติก ยาง                 ลดความดังได้ประมาณ 18 – 25 เดซิเบล
  5.2 เครื่องครอบหู  (Ear  Muffs) ใช้ปกปิดครอบใบหูทั้ง 2 ข้าง เครื่องครอบหู
ที่ได้มาตรฐานจะสามารถลดระดับความดังได้ตามลักษณะของเครื่องครอบหูแต่ละ
ประเภท คือ
  แบบ  Heavy       ลดความดังเสียงได้ประมาณ 40 เดซิเบล
  แบบ  Medium     ลดความดังเสียงได้ประมาณ 35  เดซิเบล
  แบบ  Light         ลดความดังเสียงได้ประมาณ  30  เดซิเบล
6.
ตรวจสอบความสามารถในการได้ยินเพื่อแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น ในกรณี
ที่ต้องอยู่ในแหล่งกำเนิดเสียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
  6.1 ตรวจด้วยตัวเอง  โดยยกมือขึ้นใกล้หู ใช้นิ้วชี้ถูกับนิ้วหัวแม่มือห่างจากหู
ประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วฟังเสียง ลองตรวจทีละข้างหากไม่ได้ยินให้ปรึกษาแพทย์
  6.2 ตรวจโดยให้เพื่อนช่วย  ให้ผู้ตรวจยืนหันหลังห่างจากเพื่อนประมาณ  5 ฟุต
แล้วให้เพื่อนเรียกชื่อด้วยเสียงดังปกติ  4 – 5 ครั้ง หากไม่ได้ยินแสดงว่ามีปัญหาเกี่ยว
กับการได้ยิน
แนวทางป้องกันมลพิษ
  จากผลกระทบของมลพิษในด้านต่าง ๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับมนุษย์และ
สิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นในการกำหนดนโยบายและมีการส่งเสริมการป้องกัน
มลพิษ เพื่อลดภาวะของการเป็นพิษให้มีระดับน้อยลง กรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (2542 : 11) ได้สรุปกลยุทธ์ที่ใช้ใน
การส่งเสริมการป้องกันมลพิษไว้ ดังนี้
  1. จัดทำนโยบายระดับชาติเพื่อส่งเสริมการป้องกันมลพิษควบคู่กับการพัฒนา
เศรษฐกิจสังคม และอุตสาหกรรม
  2. ออกกฎหมายและระเบียบการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการป้องกันมลพิษ
  3. สนับสนุนให้มีความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ
  4. เพิ่มการควบคุมแหล่งกำหนดมลพิษ จัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าปรั
  5. จัดทำโครงการให้ผลตอบแทนทางการเงินต่อผู้ใช้วิธีป้องกันมลพิษ เช่น
ลดภาษี ลดค่าธรรมเนียม ให้เงินกู้
  6. ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ประกอบการและให้ความรู้แก่ประชาชน
ทั่วไป
  7. จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการป้องกันมลพิษกับต่างประเทศ
  8. สนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการป้องกันมลพิษระดับชาติ
  9. จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างการป้องกันมลพิษ
เช่น การนำกลับมาใช้ใหม่ การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การแลกเปลี่ยนของเสีย
  10. สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยจัดทำหลักสูตรการป้องกัน
มลพิษในการศึกษาอบรม
การป้องกันมลพิษกับ ISO 140
  ISO 14000  เป็นอนุกรมมาตรฐานขององค์กรมาตรฐานสากล (Intermational
Organization for Standaedization, ISO) ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อม (Enviromental Management System, EMS) มาตรฐาน ISO  
14001ได้ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยกำหนดเกณฑ์ในการจัดระบบสิ่งแวดล้อม
ขององค์กรและเป็นมาตรฐานฉบับเดียวในอนุกรม ISO 14000  ที่ผู้ประกอบการ
สามารถขอการรับรองได้ มาตรฐาน ISO 14001ได้กำหนดให้องค์กรมีการจัดระบบ
การจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลัก 5 ประการคือ
  1. กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่ต้องมีความตั้งใจ
มุ่งมั่นในการจัดองค์กรของตนให้มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานก่อนจึง
จะสามารถกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กรเพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติ
อย่างถูกต้อง
  2. การวางแผน  โดยผู้จัดโครงการสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร
ระดับสูงให้เป็นผู้วางแผนกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเพื่อปรับปรุง
และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรให้เป็นไปตามกฎหมายรวมทั้งจัดทำ
แผนปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน
  3. การปฏิบัติ  โดยพนักงานทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามวิธีที่
กำหนดเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งองค์กรต้องจัดอบรมและสร้างจิตสำนึก
ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานเพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการ
ประทำของตน
  4. การตรวจสอบแก้ไข  โดยผู้ตรวจประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องในวิธีปฏิบัติและ
เสนอแนะให้มีการแก้ไข เพื่อให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามข้อกำหนด
ของมาตรฐาน
  5. การพิจารณาทบทวน  โดยผู้บริหารที่พิจารณาผลการดำเนินงานของระบบการ
จัดการสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
  การที่องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 14000 ได้ จะเป็น
การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้องค์กรทุกประเภทสามารถปรับปรุงระบบการ
ทำงานของตนให้ทันกับความต้องการของลูกค้าและเป็นไปตามข้อกำหนดของ
กฎหมาย นำไปสู่การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดอันเป็น
การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
       
       

 

8.1
  มลพิษทางน้ำ
8.2
  มลพิษของดิน
8.3
  มลพิษทางเสียง