จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดมุ่งหมายของการสอนที่กำหนด หรือคาดหวังพฤติกรรม    การเรียนรู้ ของผู้เรียนในรูปของการแสดงออก หรือการกระทำที่สามารถสังเกตเห็นได้ จุดมุ่งหมาย    เชิงพฤติกรรมที่เขียนอย่างถูกต้องครบถ้วน จะประกอบด้วยข้อความ 3 ส่วน คือ พฤติกรรมที่คาดหวัง  สถานการณ์หรือเงื่อนไข   และเกณฑ์ ดังนี้
         1. พฤติกรรมที่คาดหวัง เป็นข้อความที่ระบุถึงพฤติกรรมของผู้เรียนหลังการเรียนการสอน     ในรูปของการปฏิบัติหรือการกระทำเพื่อให้สามารถสังเกตพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เช่น เขียน อ่าน บอก อธิบาย จำแนก ยกตัวอย่าง วาด เป็นต้น
         2. สถานการณ์ หรือเงื่อนไข คือการกำหนดเนื้อหาและกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียน       การสอน  เพื่อใช้เป็นตัวกระตุ้น หรือเป็นเงื่อนไขที่จะทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา    ให้สามารถสังเกตเห็นได้หรือวัดได้  เช่น เมื่อกำหนดบทความมาให้   เมื่อเรียนจบเรื่องทักษะการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล  เป็นต้น
        3. เกณฑ์ หมายถึง ข้อความที่อธิบายให้ทราบว่าผู้เรียนจะต้องปฏิบัติให้ดีเพียงใด หรือ         พฤติกรรมของผู้เรียนควรอยู่ในระดับใด เราจึงจะยอมรับว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมที่คาดหวังจริง  เช่น ถูกต้องทั้งหมด  ถูกต้อง 8 อย่าง ใน 10 อย่าง    เสร็จภายใน 5 นาที   เป็นต้น
ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ประกอบด้วยส่วนประกอบครบทั้ง 3 ส่วน

  1. เมื่อกำหนดคำมาให้ 10 คำ นักเรียน สามารถอ่านออกเสียงได้ ถูกต้องอย่างน้อย 8 คำ
  2. เมื่อกำหนดสมการที่มีตัวแปร  2  ตัว  มาให้ 5 สมการ นักเรียน สามารถแก้สมการได้ ถูกต้องอย่างน้อย 4 สมการ
  3. กำหนดระยะทาง 800 เมตร นักศึกษา สามารถวิ่งได้ ภายใน 2 นาที
  4. กำหนดภาพมาให้ 1 ภาพ นักเรียน สามารถแต่งประโยคให้สอดคล้องกับภาพได้ อย่างน้อย 3 ประโยค

                จากตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมสามารถจำแนกเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้

  1. คำที่ใช้ตัวหนาเป็นพฤติกรรมที่คาดหวัง
  2. คำที่ขีดเส้นใต้เป็นสถานการณ์
  3. คำที่ใช้ตัวหนังสือเอนเป็นเกณฑ์

ในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมโดยทั่วไปจะระบุไว้แค่เพียงส่วนของพฤติกรรมที่ คาดหวัง ไม่ระบุสถานการณ์และเกณฑ์เอาไว้ เช่นทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการได้

  • แปลความหมายจากกราฟตามที่กำหนดให้ได้
  • สรุปเรื่องที่กำหนดให้ได้
  • แยกประเภทของผ้าชนิดต่าง ๆ ได้
  • แปลงประโยคที่กำหนดให้เป็นประโยคตรรกวิทยาได้

        การใช้คำที่เป็นพฤติกรรม  เช่น  ความรู้ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์   การสังเคราะห์  และการประเมินค่า  คำเหล่านี้เป็นคำที่แสดงพฤติกรรมแฝง  จะต้องเขียนเป็นจุดประสงค์ซึ่งจะต้องเปลี่ยนให้เป็นพฤติกรรมตรงเสียก่อน  ดังตัวอย่างการเทียบคำที่แสดงถึงการกระทำที่ใช้ในการเขียนจุดประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน  ดังนี้ 

ตัวอย่างคำที่บ่งถึงการกระทำ

ระดับพฤติกรรม

คำที่บ่งถึงการกระทำ

ด้านพุทธิพิสัย

     1. ความรู้ความจำ

     2.  ความเข้าใจ


     3.  การนำไปใช้
     4.  การวิเคราะห์

     5.  การสังเคราะห์

     6.  การประเมินค่า
ด้านจิตพิสัย
ด้านทักษะพิสัย

 

บอก  ชี้บ่ง  บรรยาย  ให้รายการ  บอกหัวข้อให้นิยาม ออกกฎเกณฑ์ 
บอกลักษณะ บอกสัญลักษณ์
แปลความหมายของนิยาม  ยกตัวอย่าง  อธิบาย  ตีความหมายจากภาพ 
ข้อความ  สัญลักษณ์  สรุป  จัดใหม่  ขยาย  ต่อเติม  บรรยาย  บอกความ
แตกต่าง  บอกความคล้ายคลึง 
คำนวณ  สาธิต  สร้าง  ทำให้ผลสำเร็จ  แก้ปัญหา  หาผลลัพธ์
จำแนก ค้นหา  เปรียบเทียบ  หาความสัมพันธ์  หาเหตุและผลที่ตามมา 
จัดประเภทใหม่
ออกแบบ  วางโครงการ  สร้าง  ผลิต  จัดรวบรวม  ตั้งสมมุติฐาน 
สรุปหลักการ
ประเมิน  ชี้ข้อมูล  พิจารณา  วินิจฉัย  เทียบคุณค่า
ยอมรับ  กล่าวส่งเสริม  สนับสนุน  เรียบเรียงใหม่  แก้ไขใหม่
การสร้าง  การประกอบ  การให้รูป  การฝึก

                สรุปแล้วจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นการจำแนกรายละเอียดของจุดประสงค์ทางการศึกษาที่สะดวกต่อการนำไปปฏิบัติอันจะช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี  และการประเมินผลจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นถ้าผู้เรียนและผู้สอนได้รู้และเข้าใจจุดประสงค์ของสิ่งที่ต้องการประเมิน  ซึ่งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจะช่วยในจุดนี้ได้  แต่ถึงแม้ว่าจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจะมีประโยชน์ต่อ  การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลมากก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ
                1. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของวิชาใดวิชาหนึ่งเหมาะที่จะใช้บอกความต้องการขั้นต่ำสุด (Minimum  Requirement) ของการเรียนการสอนวิชานั้นเท่านั้น  ผลของการเรียนที่ต้องการมิใช่มีเฉพาะตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเท่านั้น  แต่ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องการซึ่งไม่อาจเขียนได้ทั้งหมด  นอกจากนี้พฤติกรรมทางด้านจิตพิสัยซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกอารมณ์  เป็นต้น  คุณลักษณะเหล่านี้ยังคงเป็นที่ยอมรับว่าเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ยากมาก  เพราะสิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยเวลาในการสร้างสมนานมาก  และไม่อาจที่จะระบุถึงพฤติกรรมที่คาดหวังได้อย่างสมบูรณ์
               2. การเขียนและใช้จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับความรู้ในเรื่องการจำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษา  เพราะจะทำให้ได้จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่มีคุณค่าสูงที่จะช่วยให้ครูมองเห็นแง่มุมในการที่จะวัดกิจกรรมที่จะพัฒนานักเรียนให้บรรลุถึงจุดประสงค์ในระดับสูงคือระดับวิชาและระดับหลักสูตรได้