เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่ใช้สำหรับล้วงความรู้สึกนึกคิดของคนออกมาโดยไม่ให้เจ้าตัวรู้ เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของบุคคลได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพโดยอาศัยการให้จินตนาการอย่างอิสระ
เทคนิคการให้สร้างจินตนาการ
การให้สร้างจินตนาการอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการ คือ
1. สิ่งเร้าที่ใช้ต้องสร้างให้มีความคลุมเครือให้มากๆ ยิ่งคลุมเครือมากยิ่งวัดความรู้สึกให้ผู้ตอบแสดงอารมณ์หรือการตอบสนองที่ตรงกับความเป็นจริงมากเท่านั้น
2. สิ่งเร้าที่ใช้ต้องขาดความเป็นปรนัย เพื่อให้ผู้ตอบต่างมีอาการตอบสนองที่ต่างกัน
แบบการให้สร้างจินตนาการ
การให้สร้างจินตนาการแบ่งตามการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ 2 ประเภท คือ
1. การเติมประโยคให้สมบูรณ์ เช่น
- ถ้าฉันมีเงิน ฉันจะ ……………………
ส่วนมากผู้ตอบจะนำประสบการณ์เดิมของตนมาเติม ทำให้เราสามารถรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของเขาได้
2. อธิบายจากภาพที่เลือนลางหรือชวนสงสัย การวัดชนิดนี้อาจใช้ภาพจากหยดหมึก หรือภาพถ่ายที่เลือนลางหรือชวนสงสัย โดยให้เด็กดูภาพแล้วบรรยายภาพไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ผู้ที่มีประสบการณ์และคลุกคลีกับประสบการณ์อย่างไรก็จะอธิบายภาพนั้นให้พาดพิงไปถึงเรื่องของตนในอดีตเสมอ