การลงรายการชื่อผู้แต่ง (ต่อ)
 
  5. ผู้แต่งที่เป็นพระสงฆ์
  5.1 สมเด็จพระสังฆราชที่มีเชื้อพระวงศ์ ให้ลงพระนามจริงก่อน ตามด้วยนามที่แสดงลำดับชั้น
เชื้อพระวงศ์ไว้ข้างหลัง
     
  ตัวอย่าง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระ.
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา.
   
  5.2 สมเด็จพระสังฆราชที่มาจากสามัญชน พระราชาคณะชั้นต่างๆ พระครู พระมหา พระที่มีคำนำ
หน้าแสดงชั้นสัญญาบัตรหรือฐานานุกรมให้ลงชื่อพระนามหรือนามตามที่ปรากฏในตัวเล่มหนังสือ
     
  ตัวอย่าง
  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ).
  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).  (ในหนังสือระบุสมณศักดิ์
หลังสุดเป็นพระราชาคณะชั้นพรหม)
  พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (ในหนังสือระบุสมณศักดิ์
ครั้งเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม)
  พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (ในหนังสือระบุสมณศักดิ์ครั้ง
เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ)
  พระธรรมเสนานี (ชุณห์ กิติวณโณ).
  พระครูปลัดสิทธิวรวัฒน์ (คธาวุฒิยโสธโร).
  พระครูอินทรวรวิชัย (ชนะ สุทธโน).
  พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต.
  พระใบฎีกาชาญณรงค์ จนฺทสโร.
  พระปลัดทรศักดิ์.
   
  5.3 พระสงฆ์ที่ไม่มีสมณศักดิ์ให้ลงชื่อ นามสกุล (ถ้ามี) และฉายานาม ตามที่ปรากฏในตัวเล่ม
     
  ตัวอย่าง
หลวงพ่อสรวง ปริสุโท
พระปัญญา อิสโรนัง
   
  5.4 พระสงฆ์ที่มีผลงานเขียนเป็นที่รู้จักในนามเดิม และเป็นชื่อที่ปรากฏในผลงานนั้นๆ ให้ลงชื่อตาม
ที่ปรากฏ
   
  ตัวอย่าง
ว. วชิรเมธี.  (หนังสือบางเล่มอาจใช้นามว่า พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี)
พุทธทาสภิกขุ.  (หนังสือบางเล่มอาจใช้นามว่า พระธรรมโกศาจารย์)
ปัญญานันทภิกขุ.  (หนังสือบางเล่มอาจใช้นามว่า พระพรหมมังคลาจารย์)
พระพยอม กัลยาโณ.  (หนังสือบางเล่มอาจใช้นามว่า พระราชธรรมนิเทศ)
   
  6. เอกสารของหน่วยงานราชการระดับกระทรวง เนื้อหาในตัวเล่มเป็นเรื่องราวของกระทรวงนั้นโดยรวม
หรือเป็นผลงานที่ออกในนามกระทรวง ให้ใช้ชื่อกระทรวงเป็นผู้แต่ง แต่ถ้าเป็นเอกสารของหน่วยงานระดับกรมหรือ
เทียบเท่า เนื้อหาเน้นเรื่องราวที่รับผิดชอบโดยกรมนั้นๆ ให้ใช้ชื่อกรมเป็นชื่อผู้แต่ง แม้จะมีชื่อกระทรวงปรากฏใน
เอกสารก็ไม่ต้องใส่ชื่อกระทรวง และหากมีชื่อหน่วยงานย่อยลงไปให้ลงชื่อหน่วยงายย่อยหลังชื่อหน่วยงานระดับกรม
โดยมีมหัพภาคคั่น
   
  ตัวอย่าง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงศึกษาธิการ.
Ministry of Commerce.
สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร.
Department of Interllectual Property.  (สังกัด Ministry of Commerce)
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.  สำนักมาตรฐานและประเมินผล อุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
   
  7. เอกสารออกในนามของสถาบันการศึกษาทุกระดับ ให้ใช้ชื่อสถาบันนั้นๆ เป็นผู้แต่ง สำหรับ
สถาบันอุดมศึกษา ถ้ามีชื่อคณะวิชาหรือหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะวิชาเป็นผู้รับผิดชอบงาน ให้ลงชื่อคณะวิชาหลัง
ชื่อสถาบันโดยมีมหัพภาคคั่น
   
  ตัวอย่าง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  คณะวนศาสตร์.
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร.  คณะศึกษาศาสตร์.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.
Srinakharinwirot University.  Faculty of Physical Education.
   
  8. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สำนักงาน มูลนิธิ ให้ใช้ชื่อหน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้แต่ง
   
  ตัวอย่าง
การรถไฟแห่งประเทศไทย.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.  ฝ่ายเทคโนโลยีพลังงาน.
องค์การเภสัชกรรม.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ.
State Railway of Thailand.
   
10.1
  หลักการเขียนบรรณานุกรม
10.2
  การลงรายการชื่อผู้แต่ง
10.3
รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม
10.4
  การเขียนบรรณานุกรมต้องลงรายการ
  ตามรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
10.5
  การพิมพ์บรรณานุกรมและรายการ
  เอกสารอ้างอิง
     
     
     
   
   
  กลับหน้าหลักบทที่ 10