การลงรายการชื่อผู้แต่ง (ต่อ)
 
  9. หน่วยงานเอกชน มูลนิธิ ธนาคาร สมาคม ให้ใช้ชื่อหน่วยงานนั้นๆ เป็นผู้แต่ง
     
  ตัวอย่าง
มูลนิธิดวงแก้วในพระสังฆราชูปถัมภ์.
มูลนิธิโกมลคีมทอง.
สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย.
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย.
ธนาคารกสิกรไทย.  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
ธนาคารกรุงไทย.
The Chaipattana Foundation.
   
  10. ผู้แต่งสองคนให้ลงรายการทั้งสองคน หลังชื่อคนที่ 1 คั่นด้วยอัฒภาค(semicolon) เชื่อมด้วยคำว่า
“และ” ในภาษาไทย หรือเครื่องหมาย Ampersand ( & ) ในภาษาอังกฤษ ต่อด้วยขื่อคนที่ 2
   
  ตัวอย่าง
มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์; และ นิรัตน์ อิมามี.
สุชาติ โสมประยูร;.และ เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์.
Goldhaber, Samuel Z.; & Ridker, Paul M.
Hurst, J. Willis; & Chimowitz, Marc I.
   
  11. ผู้แต่งสามคนให้ลงรายการทั้งสามคน โดยการลงชื่อคนที่หนึ่งกับคนที่สองให้ใช้เครื่องหมาย
อัฒภาคคั่น ( ; ) และชื่อคนที่สองกับคนที่สามคั่นด้วย “; และ” ในภาษาไทย หรือ (; & ) ในภาษาอังกฤษ
   
  ตัวอย่าง
วรรณา จันทนาคม; อรวรรณ อินทรประสงค์; และ ดวงใจ อมิตรพ่าย.
ขนิษฐา อุทวนิช; ยูระ เอี่ยมชื่น; และ ระเบียบ ณ กาฬสินธุ์.
Black, Alexander J. R.; Anderson, Vernon H.; & Ellis, Stephen G.
LaMont, J. Thomas; Lee, Martin L.; & Young, Lowell S.
   
  12.  ผู้แต่งมากกว่าสามคนขึ้นไปให้ลงชื่อคนแรกตามที่ปรากฏในเอกสารนั้น และตาม
ด้วยคำว่า “; และคนอื่นๆ” ในภาษาไทย หรือ “; et al.”  ในภาษาอังกฤษ
   
  ตัวอย่าง
สายพิณ หัตถีรัตน์; และคนอื่นๆ.
Kartner, Samual C.; et al.
Brook, Richard; et al. 
   
  13.  ผู้แต่งที่ใช้ชื่อในการประพันธ์ที่บ่งชัดว่าเป็นนามแฝง ให้ใช้นามแฝงที่ปรากฏ คั่นด้วยจุลภาค
ตามด้วย นามแฝง
   
  ตัวอย่าง
แก้วเก้า, นามแฝง.
ทมยันตี, นามแฝง.
Vance, pseud.
   
  14. หนังสือแปลที่ปรากฏชื่อผู้แต่งเดิม ให้ลงรายการชื่อผู้แต่งเดิมเป็นผู้แต่ง โดยสะกดเป็นภาษาไทย
ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน หากในตัวเล่มสะกดเป็นภาษาอังกฤษให้ถอดเป็นภาษาไทยตามกฎเกณฑ์ของ
ราชบัณฑิตยสถานแต่ในกรณีที่หนังสือแปลไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งเดิมให้ลงชื่อผู้แปล และระบุคำว่าผู้แปลต่อท้ายสำหรับ
เอกสารภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “tran” สำหรับผู้แปลคนเดียว หรือ “trans.” สำหรับผู้แปลหลายคน
   
  ตัวอย่าง
  โจลส์, ร็อบ.  (หน้าปกในมีรายละเอียดว่า  หมัดเด็ด พิชิตใจ แปลจาก How to
change minds โดย Rob Jolls  แปลโดย ณ มน)
  เทเลอร์, ริชาร์ด เอช. (หน้าปกในมีรายละเอียดว่า สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม
แปลจาก Nudge โดย Richard H. Thaler and Cass R. Sunstein แปลโดย
นรา สุภัคโรจน์)
  พิมพ์มาดา, นามแฝง, ผู้แปล.  (หน้าปกในมีรายละเอียดว่า  101 วิธีกำจัด
ความเครียด แปลจาก 101 Ways to kill stress ! ไม่ระบุผู้เขียนดั้งเดิม)
  สิทธา พินิจภูวดล; และคนอื่นๆ, ผู้แปล.
   
   
10.1
  หลักการเขียนบรรณานุกรม
10.2
  การลงรายการชื่อผู้แต่ง
10.3
รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรม
10.4
  การเขียนบรรณานุกรมต้องลงรายการ
  ตามรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศ
10.5
  การพิมพ์บรรณานุกรมและรายการ
  เอกสารอ้างอิง
     
     
     
   
   
  กลับหน้าหลักบทที่ 10