ขั้นตอนของการเขียนรายงาน (ต่อ)
   
    การบันทึกเนื้อความ
    การบันทึกเนื้อความที่ได้จากการฟัง การสังเกต หรือการอ่าน สามารถกระทำได้โดยวิธีใดวิธี
หนึ่งหรือผสมผสานกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้บันทึก การบันทึกสามารถกระทำได้ดังนี้
    1. การบอกขอบเขตหรือแนวคิดเรื่องที่อ่าน เป็นการบันทึกขอบเขตหรือเรื่องที่อ่านไว้เพื่อ
ใช้เตือนความจำและเป็นประโยชน์ในการสืบค้นครั้งต่อไป การบันทึกรูปแบบนี้จึงเป็นการบันทึกสาระหลักของ
งานนั้นอย่างย่นย่อ
    2. การสรุปความ เป็นการบันทึกสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านและจดสาระที่ต้อง
การโดยใช้ถ้อยคำสำคัญจากต้นฉบับผสมผสานกับสำนวนของผู้อ่าน
    3. การถอดความ เป็นการบันทึกที่ได้จากการเรียบเรียงใหม่ แต่รักษาเนื้อความเดิมจาก
ต้นฉบับไว้อย่างครบถ้วน โดยใช้สำนวนภาษาของผู้อ่าน การบันทึกแบบถอดความมักใช้กับงานเขียนต้นฉบับที่
เป็นบทนิพนธ์ประเภทร้อยกรอง หรืองานที่เป็นภาษาต่างประเทศ
    4. การคัดลอกข้อความ เป็นการบันทึกที่ได้จากการคัดลอกข้อความสำคัญบางส่วนจากข้อ
เรื่องที่อ่านเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา การเขียนแบบคัดลอกข้อความนี้ มักใช้กับงานเขียนที่มีลักษณะต่อไป
นี้คือ
    4.1 เป็นข้อความในเรื่องสำคัญที่หากไม่คัดลอกข้อความเดิมอาจบันทึกผิดพลาดได้
    4.2 เป็นงานเขียนที่ดี ถ้าสรุปหรือถอดความอาจไม่ดีเท่าเดิม
    4.3 เป็นข้อความที่ผู้เขียนรายงานต้องการอ้างอิงเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของตน
    4.4 เป็นข้อกำหนดหรือกฎระเบียบ ที่ต้องคงไว้ซึ่งรายละเอียดต่างๆ
    หลักการสำคัญของการเขียนแบบคัดลอกข้อความมี 2 กรณี คือ
    1. ข้อความที่คัดลอกมามีความยาวไม่เกิน 4 บรรทัด ให้คัดลอกโดยใช้เครื่องหมายอัญประกาศ
กำกับข้อความ เช่น
 
 
 
"Operater" หมายถึง บุคลากรที่มีหน้าที่คอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ Hardware
ทั้งหมดให้ทำงานได้ตามปกติ ตั้งแต่การเปิดเครื่อง ปิดเครื่อง การจัดและนำเทปหรือ Disk
ที่จะใช้งานมาใส่ในเครื่อง Disk Unit หรือ Tape Unit "
 
     
    2. ข้อความที่คัดลอกมีความยาวเกิน 4 บรรทัด ให้คัดลอกเป็นย่อหน้าโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมาย
อัญประกาศกำกับข้อความ และหากมีการละข้อความบางส่วนจากต้นฉบับที่คัดลอกไว้ให้ใส่ เครื่องหมาย ...
ในตำแหน่งที่ข้อความละไว้ เช่น
     
 
แผ่นที่ 2
อยู่ในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 1,300 เครื่อง โดยแบ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่หรือเครื่อง
เมนเฟรม ประมาณ 100 เครื่อง เครื่องมินิประมาณ 900 เครื่อง และเครื่องไมโครประมาณ
12,000 เครื่อง ในปี พ.ศ. 2531 ยอดรวมของจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดได้สูงขึ้น
ถึงประมาณ 30,000 เครื่อง ซึ่งในปี 2559 มีการสำรวจพบว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์
ประเภทพกพา หรือโน็ตบุ๊คมีจำนวนลดลง เพราะคนนิยมใช้ IPad หรือ Smart Phone
มาใช้งานแทน
     
    5. การเรียบเรียงเนื้อหาจากการบันทึกข้อมูล เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการจดบันทึก
ข้อมูลลงในบัตรบันทึกที่ได้จากการอ่าน การฟัง การสังเกต และเป็นข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเขียนรายงาน
ให้นำบัตรบันทึกข้อมูลมาจัดแยกตามหัวข้อเรื่อง จากนั้นจึงจัดประเด็นของเรื่องให้สอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด
ไว้ในโครงเรื่องซึ่งอาจเสริมข้อความหรือถ้อยคำให้สละสลวยและเชื่อมต่อข้อมูลให้สัมพันธ์กัน ภาษาที่ใช้ใน
การเขียนรายงนควรใช้สำนวนหรือคำศัพท์ที่เข้าใจง่าย อธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นประเด็น ๆ และหลีกเลี่ยง
การเขียนเรื่องที่ไม่มีความรู้จริงเพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
    6. การเขียนรายการอ้างอิง คือ การเขียนที่ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลซึ่งนำมาใช้ประกอบ
การศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงาน อันประกอบด้วย การลงรายการเชิงอรรถ และรายการบรรณานุกรม
เชิงอรรถสามารถเขียนได้ 3 ประเภท คือ
    6.1 เชิงอรรถอ้างอิง (Citation Footnote) เป็นการเขียนเชิงอรรถเพื่อบอกแหล่งที่มา
ของข้อมูล เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำรายละเอียดในเชิงอรรถกลับไปตรวจสอบเนื้อหาจากต้นฉบับที่นำมาอ้างอิงได้
    6.2 เชิงอรรถเสริมความ (Content Footnote) เป็นการเขียนเชิงอรรถที่ใช้อธิบาย
ข้อความเพิ่มเติมจากเนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันแต่ไม่สามารถเขียนในส่วนเนื้อหาได้ เพราะทำให้
้ เรื่องที่เขียนไม่กระชับ หรือไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
    6.3 เชิงอรรถโยง (Cross Reference Footnote) เป็นการเขียนเชิงอรรถที่ใช้โยงให้
ผู้อ่านไปดูรายละเอียดของเรื่องหรือหัวข้อนั้นได้ในส่วนหรือหน้าอื่นของรายงาน
้ เรื่องที่เขียนไม่กระชับ หรือไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
    7. การจัดพิมพ์หรือเขียนรายงาน เป็นขั้นตอนสำหรับการเสนอผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
โดยทั่วไปการเขียนรายงานจะใช้การเขียนหรือพิมพ์เพียงหน้าเดียว ซึ่งมีการกำหนดกรอบของการเขียนหรือพิมพ์
ไว้เป็นแบบสากล คือ
  7.1 การเว้นระยะของเนื้อหา ประกอบด้วย
    1) บรรทัดแรกของรายงานต้องอยู่ห่างจากขอบกระดาษตอนบนลงมา 1.5 นิ้ว
    2) ข้อความในแต่ละบรรทัดที่ไม่มีการย่อหน้าต้องอยู่ห่างจากขอบกระดาษซ้ายเข้ามา
1.5 นิ้ว
    3) ข้อความในแต่ละบรรทัดที่มีการย่อหน้าอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้ายเข้ามา 1.5
และ นับเข้ามาอีก 7 ตัวอักษร หรือ 11 ตัวอักษร
    4) ข้อความในแต่ละบรรทัดที่เป็นตัวสุดท้าย ต้องอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านขวา
เข้ามา 1 นิ้ว
    5) ข้อความในบรรทัดสุดท้ายของหน้าให้อยู่ห่างจากขอบเข้ามา 1 นิ้ว
  7.2 จัดพิมพ์หรือเขียนส่วนประกอบต่างๆ ของรายงานให้ครบถ้วน ซึ่งต้องประกอบด้วย
    1) ปกนอก
    2) ปกใน
    3) คำนำ
    4) สารบัญ
    5) เนื้อเรื่อง
    6) บรรณานุกรม
    7) ภาคผนวก
    8. การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการเย็บเล่มส่ง สิ่งที่ควรตรวจสอบ
ได้แก่ การสะกดคำ หัวข้อเรื่องที่จัดทำว่าครบถ้วนตามที่ระบุในโครงสร้างหรือไม่ การจัดลำดับเนื้อเรื่องตรงกับที่
ระบุในสารบัญหรือไม่ รายการอ้างอิงและส่วนประกอบที่ต้องมีในรายงานได้รวบรวมครบถ้วนสมบูรณ์หรือยัง ถ้าพบ
ข้อบกพร่องให้นำกลับไปแก้ไขใหม่ก่อนการนำมาเข้าเล่ม
    9. เย็บเล่มนำส่ง จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการนำส่ง ซึ่งมีวิธีการเช่นเดียวกับการเย็บเล่ม
หนังสือโดยทั่วไป คือ ใช้การเย็บด้วยลวดเย็บกระดาษด้านข้างของเล่มและปิดด้วยกระดาษกาว หรือเทปสี เพื่อ
ความเรียบร้อยในการจัดทำ
     
8.1
  ประเภทของผลงานวิชาการ
8.2
ประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า
8.3
ขั้นตอนการเขียนรายงาน
     
     
     
     
     
     
   
   
  กลับหน้าหลักบทที่ 8