อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ
  1. เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ให้เป็นปกติสุข สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์
ขาดไม่ได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตให้อยู่ได้ ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ
พื้นดิน ที่อยู่อาศัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยพื้นฐานของการมีชีวิตทั้งสิ้น
  2. เป็นสิ่งช่วยส่งเสริมทางด้านสุขภาพของประชาชน สิ่งแวดล้อมที่เป็นสารตกค้าง
หรือ ของเสีย เช่น สิ่งปฏิกูล อากาศเสีย น้ำเสีย สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้มีส่วนสำคัญที่ ทำให้เกิดโรคขึ้นมากมาย ดังนั้น การควบคุมสิ่งแวดล้อมีให้อยู่
ู่ในสภาพดี ย่อมลดสาเหตุของการเกิด โรคได้วิธีการหนึ่งและเป็นส่วนส่งเสริมให้ทุกคน
มีสุขภาพอนามัยที่ดีด้วย
  3. เป็นสิ่งที่สร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งหมายถึงสิ่งแวดล้อม
ประเภทบริเวณและสถานที่ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม ฟ้าผ่า
หรือพิษจากสารเคมี ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างอันตรายให้เกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน การควบคุม
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ให้เป็นปกติย่อมเป็นการสร้างความปลอดภัยได้วิธีการหนึ่ง
  4. เป็นสิ่งที่สามารถช่วยลดอัตราเจ็บป่วยหรือการตายของประชาชนความเจ็บป่วย
ของมนุษย์ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษเช่น โรคภูมิแพ้อากาศ ซึ่งมีสาเหตุ
จากมลพิษทางอากาศ โรคทางเดินอาหารที่ได้รับอาหารเป็นพิษโรคนิ่วที่เกิด
จากการดื่มน้ำไม่บริสุทธตัวอย่างของโรคเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
การอนุรักษ์หรือแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีย่อมเป็นการลดสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ
ดังกล่าวได
  5. เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศสภาพของสิ่งแวดล้อม
ที่ดี ส่งผลต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศทั้งในทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ
การลดอัตราโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ย่อมเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษา
โรคและในขณะเดียวกันหากประเทศมีสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมสามารถใช้ประโยชน์ด้านการ
ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นการสร้าง รายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศได้เป็นอย่างดี
  ดังนั้น สภาพแวดล้อมคือสิ่งที่ก่อให้เกิดผลดีแก่มนุษย์ และเป็นรากฐานของ
การรักษาสุขภาพทั้งของตนเองและชุมชน
       
       
       

 

1.1
  ความหมายของสุขภาพวิ่งแวดล้อม
1.2
  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ
1.3
  ประเภทของสิ่งแวดล้อม
1.4
  สาเหตุและการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.5
  โรคและพิษภัยที่เกิดจากปัญหา
  สิ่งแวดล้อม
1.6
  ความหมายและความสำคัญของ
    การสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม