ความหมายและความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

  จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มนุษย์เกิดโรคต่าง ๆ ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมานั้นทำ
ให้เกิดแนวคิดในการป้องกันหรือแก้ไขเพื่อลดอัตราการเกิดโรคขึ้นที่เราเรียกว่า
การสุขาภิบาล
  ความหมายของการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
  การสุขาภิบาล การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นคำที่ใช้อธิบาย
เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มีสภาพดีและเป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งองค์การ
อนามัยโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า เป็นการควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหมด
ของมนุษย์ที่กระทำหรืออาจกระทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาการทางด้านสุขภาพ
ร่างกายและการมีชีวิตรอดของมนุษย์
  ความสำคัญของการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สามารถสรุปได้ ดังนี้
1.
ทำให้ป้องกันโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษได้
2.
เป็นการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี
3.
ช่วยลดอัตราการป่วย และอัตราการตายของประชากร เนื่องจากมีสุขภาพแข็งแรง
เพิ่มขึ้น
4.
ส่วนทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่นคง  เนื่องจากลดค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษา
โรคที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
  ขอบข่ายของการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
  องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบข่ายของงานอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็น
แนวปฏิบัติขององค์กร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ดังนี้
1.
จัดหาน้ำดื่มใช้ที่สะอาดและมีคุณภาพเหมาะสม เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นของการ
ดำรงชีวิต  การจัดหาต้องมีปริมาณที่เพียงพอต่อการอุปโภค  และมีคุณภาพเหมาะสม
ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
2.
การควบคุมมลพิษทางน้ำ คือ การป้องกันควบคุมรักษาแหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน
ไม่ให้คุณภาพเสื่อมโทรม จนเกิดภาวะเป็นพิษและส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์
3.
การจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและของเสียที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ครอบคลุม
ตั้งแต่การเก็บ การขนถ่าย และการกำจัดขยะมูลฝอย และของเสียให้ถูกหลัก
สุขาภิบาล เพื่อป้องกันการเกิดแหล่งเพาะเชื้อโรค หรือเป็นที่อาศัยของพาหะนำโรค
ต่าง ๆ
4.
การควบคุมสัตว์อาร์โทรปอด และสัตว์แทะ  อันเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงต่าง ๆ
มาสู่ คน เช่น โรคอหิวาตกโรค  ไข้มาลาเรีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุ
ของการทำให้เกิดเหตุรำคาญรวมทั้งความเสียหายในทรัพย์สินต่าง ๆ
5.
การควบคุมมลพิษของดิน ที่มักเกิดจากการทิ้งสิ่งสกปรกต่าง ๆ ลงสู่พื้นดิน เช่น
ขยะ มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเน่าเสีย ของทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งอุจจาระของ
มนุษย์ อันเป็น เหตุทำให้เกิดมลพิษของดินและส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตมนุษย์
เพราะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ
6.
การสุขาภิบาลอาหาร เป็นวิธีการดูแลควบคุมอาหารให้ถูกสุขลักษณะและมีความ
ปลอดภัยสำหรับการบริโภคเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือสารพิษต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย
จากการกินอาหาร
7.
การควบคุมมลพิษทางอากาศ คือการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอม
เข้าสู่ อากาศในปริมาณมาก ๆ จนทำให้เกิดพิษภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช ซึ่งอาจได้
จากแหล่งคงที่เช่น ควัน ฝุ่นละออง เขม่า  ก๊าซต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม
และแหล่งเคลื่อนที่ เช่น ไอเสีย  เขม่า  แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์จากรถยนต์ เป็นต้น
8.
การป้องกันอันตรายจากรังสี  ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้มีการนำรังสีมาใช้เพื่อ
ปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้น การใช้รังสีที่ไม่มีระบบป้องกันหรือควบคุมที่รัดกุม
จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งที่เป็นผู้ใช้และผู้ถูกใช้
9.
อาชีวอนามัย เป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้มีความเหมาะสมและ
ปลอดภัยในการทำงานต่าง ๆเพราะการประกอบอาชีพบางประเภทอาจต้องใกล้ชิด
กับฝุ่นละออง ความร้อน  แสง  เสียง  หรือสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ
อนามัยของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ หากไม่มีการป้องกัน ควบคุมที่ดีพอ
10.
การควบคุมมลพิษทางเสียง มีขอบข่ายในการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังมาก ๆหรือ
ค้างเป็นเวลานาน ๆ จนเป็นผลเสียต่อสุขภาพ และทำให้เกิดโรคหูหนวก หูตึงในเวลา
ต่อมา
11.
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง คือการจัดที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้
ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้มีสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตที่ดีไม่มีขยะมูลฝอย น้ำเน่าเหม็น
อากาศสกปรก หรือเสียงดังรบกวน เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคและเหตุรำคาญได้
ทั้งสิน
12.
การวางผังเมือง เป็นการจัดในส่วนต่าง ๆ ของเมืองถูกต้องเป็นสัดส่วน เพื่อให้มี
ความสะดวกสบายและมีสุขภาพกาย รวมทั้งสุขภาพจิตที่ดี เช่น ย่านธุรกิจ
ย่านอุตสาหกรรม ย่านที่พักอาศัย เป็นต้น
13.
งานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม ทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก
ด้วยการตรวจตราดูแลให้สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการคมนาคมอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับ
การใช้งาน ร่วมกันป้องกันไม่ให้เป็นการเผยแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการคมนาคม
เหล่านี้ด้วย
14.
การป้องกันอุบัติเหตุ  เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย พิการ และการตายด้วยอุบัติเหตุลง
เนื่องจากปริมาณของอุบัติเหตุมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
15.
การสุขาภิบาลของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยการจัดหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
ให้เพียงพอและมีคุณภาพที่จะส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดี และช่วยลดความเครียดให้แก่
คนที่มาใช้บริการด้วย
16.
การควบคุมการระบาดของโรคหรือการอพยพประชากร  เป็นการติดตามดูแล
ควบคุมไม่ให้เกิดโรคระบาด หรือถ้ามีโรคระบาดเกิดขึ้น ต้องรีบควบคุม และให้
การระบาดของโรคยุติลงโดยเร็วที่สุด
       

 

1.1
  ความหมายของสุขภาพวิ่งแวดล้อม
1.2
  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ
1.3
  ประเภทของสิ่งแวดล้อม
1.4
  สาเหตุและการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.5
  โรคและพิษภัยที่เกิดจากปัญหา
  สิ่งแวดล้อม
1.6
  ความหมายและความสำคัญของ
    การสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม