สาเหตุและการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม |
1. |
จากการเพิ่มจำนวนประชากร ประชากรเป็นผู้มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม |
และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและที่ |
มนุษย์สร้างขึ้น เนื่องจากมนุษย์ต้องแสวงหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อความอยู่รอดและ |
ความ สะดวกสบาย การเพิ่มขึ้นของประชากรย่อมมีความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ |
เพื่อใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคเพิ่มขึ้นด้วย การที่มนุษย์ใช้ |
ทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมโดย ไม่ระมัดระวัง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ หรือหมดไปจาก |
ธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดเสียสมดุล ธรรมชาติ และกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผล |
กระทบต่อสังคมในปัจจุบัน |
2. |
จากการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม มนุษย์มีสติปัญญาในการ |
พัฒนาสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นในชีวิต การพัฒนาดังกล่าว |
ได้ส่งผลกระทบ และทำลายธรรมชาติอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ |
ในการพัฒนาโดยเฉพาะการใช้ เครื่องจักรกลในวงการอุตสาหกรรม การค้นคิดสารเคมี |
เพื่อกำจัดสัตว์ พืช และเร่งผลผลิต การใช้โฟม หรือพลาสติกเพื่อความสะดวกในการ |
ใช้งาน ล้วนเป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่สร้างปัญหาให้สิ่งแวดล้อมจากการที่ธรรมชาติ |
ไม่สามารถสลายตัวได้เอง ทำให้มีการตกค้างของสารพิษ และก่อให้เกิดอันตราย |
ต่อสุขภาพอนามัยอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ของมนุษย์ |
3. |
จากการกระทำของมนุษย์โดยตรง มนุษย์เป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรง |
และทางอ้อม เนื่องจากการกระทำต่าง ๆ เช่น |
|
3.1 การทิ้งของเสีย ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ เข้าสู่สิ่งแวดล้อม |
โดยตรง ทำให้เกิดความสกปรก การปนเปื้อน ส่งกลิ่นเหม็น การกระจายของสารพิษ |
และก่อให้เกิดเชื้อโรคที่ กระจายสู่ชุมชน เช่นการทิ้งขยะมูลฝอยตามถนน การปล่อย |
น้ำโสโครกจากโรงงาน ลงแหล่งน้ำ หรือปล่อยควันดำ ไอเสียจากโรงงาน จากรถยนต์ |
เข้าสู่อากาศ เป็นต้น |
|
3.2 การทำลายสาธารณสมบัติ ซึ่งหมายถึงของส่วนรวมที่ทุกคนเป็นเจ้าของ |
ดังตัวอย่างเช่น สวนสาธารณะ โต๊ะ เก้าอี้ ที่วิทยาลัยจัดให้นั่งพักผ่อน ต้นไม้ที่ปลูกเพื่อ |
ตกแต่งสถานที่ให้ร่มรื่นสวยงามในบริเวณสวนหย่อมต่าง ๆ ชายทะเลที่สวยงามใน |
ธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็น สถานที่ หรือสิ่งของที่ทุก ๆ คน สามารถใช้ประโยชน์เพื่อผ่อน |
คลายความตึงเครียดและทำให้มี สุขภาพจิตที่ดี การใช้สาธารณสมบัติที่ไม่ระวังรักษา |
แต่กลับร่วมทำลาย เช่น การขีดเขียน โต๊ะเก้าอี้ของวิทยาลัย การทิ้งขยะในบริเวณ |
ชายหาด การเด็ดดอกไม้ใบไม้ที่ปลูกประดับบริเวณสวนหย่อม ล้วนเป็นพฤติกรรม |
การทำลายของมนุษย์ที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดความสกปรกรกรุงรัง และเสื่อมโทรม |
อย่างรวดเร็ว |
4. |
จากความไม่เสมอภาคของทรัพยากร จากการกระจายตัวของ ทรัพยากร |
ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำให้มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรไปสู่ประเทศที่ |
ขาดแคลนและสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นได้ เช่น การที่ประเทศไทยสั่งซื้อน้ำมันดิบ |
จากประเทศในกลุ่มโอเปค หากเกิดอุบัติเหตุทำให้น้ำมันรั่วไหลลงทะเลย่อมทำให้ |
สัตว์น้ำถูกทำลายและเป็นปัญหาต่อระบบนิเวศ เป็นต้น |
5. |
จากการขยายตัวของเมืองใหญ่ ผลกระทบจากการอพยพของคนชนบทสู่ |
เมืองใหญ่เพื่อแสวงหางานทำ การศึกษา หรือคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้เกิดการขยายตัว |
ของเมืองเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งหากเป็นการขยายตัวที่ไม่มีการวางแผนและกำหนด |
ผังเมืองไว้ล่วงหน้า ย่อมสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นได้ เช่น ปัญหาการจราจร |
ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ปัญหาด้านสาธารณูปโภคและการบริการ รวมทั้งสถาน |
ที่พักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ ที่มีความแออัดและทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของ |
ประชากรที่อาศัยอยู่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|