ปัญหาสิ่งแวดล้อม |
|
สามารถจัดแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ |
1. |
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ลดลง หรือเสื่อมโทรม หมายถึง ลักษณะของทรัพยากร |
ธรรมชาติ มีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ และอาจสูญสิ้นไปทั้งหมด เช่น เช่น ป่าไม้ที่มี |
การตัดไม้มากเกินไปจนธรรมชาติเสียสมดุล หรือการทำนากุ้งโดยทำลายป่าชายเลน |
เป็นต้น |
2. |
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ หมายถึง ลักษณะที่แปลกปลอม เจือปนอยู่ใน |
สิ่งแวดล้อมและมีปริมาณอยู่ในระดับที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมี |
ชีวิตต่าง ๆ |
|
ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งสองประเภทดังกล่าว ได้ปรากฏเป็นสภาพปัญหาที่พบใน |
ปัจจุบัน ดังนี้ |
1. |
ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก โครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ |
(United Nation Environment Program หรือ UNEP) ได้รายงานปัญหา |
สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งภูมิภาคใหญ่ ๆ ของโลกกำลังประสบอยู่ว่าประกอบด้วยปัญหา |
ต่อไปนี้ |
|
1.1 ปัญหาทรัพยากรดินและที่ดิน เกิดจากความเสื่อมโทรมของการใช้พื้น |
ที่เพื่อการเกษตรกรรม ลักษณะของความเสื่อมโทรมของดินที่พบ เช่น ดินขาดความ |
อุดมสมบูรณ์อันเนื่องมาจากการกร่อนหรือพังทลายอย่างรุนแรง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วน |
ส่งผลทำให้เกิดปัญหาด้านการผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการทำให้เกิด |
ปัญหาความอดอยากขาดแคลน และยากจน |
|
1.2 ปัญหาทรัพยากรชีวภาพ สืบเนื่องจากป่าไม้และพื้นที่ป่าลดลงและ |
เสื่อมโทรมเพราะไฟป่า แมลงที่เป็นศัตรูและเชื้อโรคต่างๆ รวมทั้งการกระทำของมนุษย์ |
ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลายและสิ่งแวดล้อมขาดความสมดุลในที่สุด |
|
1.3 ปัญหาทรัพยากรน้ำ ซึ่งรวมทั้งน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินมีคุณภาพต่ำและ |
เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ รวมทั้งปัญหาการปนเปื้อนจากสารเคมี ขยะมูลฝอยทำให้เกิด |
ตะไคร่น้ำหรือมีสภาพเป็นกรดล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องเชื้อโรคและปัญหา |
ด้านการสุขาภิบาลที่ดี |
|
1.4 ปัญหาชายฝั่งทะเล จากสภาพความเสื่อมโทรมที่เกิดจากการกระทำ |
มนุษย์ใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น การบุกรุกป่าชายเลน การประมงที่ปล่อยน้ำมันรั่วไหล |
ลงสู่ทะเล การทิ้งขยะที่ไม่ย่อยสลายของนักท่องเที่ยว เป็นต้น |
|
1.5 ปัญหาด้านพลังงาน เป็นปัญหาที่เกิดจากความต้องการใช้พลังงาน |
ประเภทต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการใช้ |
พลังงานอย่างมากมาย ซึ่งพลังงานบางอย่างเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน น้ำมัน |
ก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ความต้องการ ใช้ไม่ได้ลดตามจำนวนของพลังงานดังกล่าว |
|
1.6 ปัญหามลพิษ มีครอบคลุมตั้งแต่คุณภาพของอากาศ น้ำ ดิน และส่งผลทำให้ |
ภูมิอากาศแปรปรวน มีความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น |
รวมทั้งคุณภาพของชีวิตที่อยู่ในระดับต่ำลงด้วย |
|
1.7 ปัญหากากของเสียและสารพิษ เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริโภคและ |
กระบวนการผลิตที่ทำให้เพิ่มปริมาณขยะและตกค้างที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตาม |
ธรรมชาติส่งผลต่อการทำลายพืชและสัตว์ทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ปริมาณกาก |
กัมมันตรังสี คราบน้ำมันดิบ โฟม พลาสติก เป็นต้น |
2. |
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้ |
ทำการศึกษาสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ และระบุในนโยบายและแผน |
การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540 – 2559 |
(2541 : 37 – 41) ไว้ ดังนี้ |
|
2.1 สภาพความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกิดจากความต้องการ |
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นขณะที่การจัดการไม่มีประสิทธิภาพ มีส่วนทำให้ |
ทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในอดีตลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว และอยู่ |
ในสภาพเสื่อมโทรม เช่น ทรัพยากรที่เสื่อมโทรมจากการตกค้างของสารพิษ การทรุดตัว |
เนื่องจากมีการสูบน้ำบาดาลมาใช้มากเกินไป หรือแม้แต่การใช้ดินที่ไม่เหมาะสมกับ |
สถานะ พื้นที่ป่าลดลงความต้องการใช้น้ำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ แหล่งแร่ที่ถูกนำมาใช้ |
ต่อเนื่องและสิ้นเปลือง การใช้พลังงานในอัตราสูง ไม่ประหยัดและไม่มี ประสิทธิภาพ |
เท่าที่ควร รวมทั้งปัญหาการใช้ที่ดินชายฝั่งทะเลและใต้ทะเลเพื่อการเกษตร |
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการอื่น ๆ ที่คาดหวังผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแต่ไม่มี |
มาตรการอนุรักษ์ที่เหมาะสม ทำให้ทรัพยากรชายฝั่งทะเลเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว |
และต่อเนื่อง |
|
2.2 ปัญหาการกระจายตัวของประชากรและการตั้งถิ่นฐาน การเพิ่มขึ้นของ |
จำนวน ประชากร อย่างรวดเร็วทำให้เกิดสภาพการเคลื่อนย้ายแรงงานท้องถิ่นสู่ |
เมืองใหญ่ เพื่อหางานทำหรือต้องการให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนำไปสู่ปัญหาเรื่องความ |
แออัด การว่างงาน การขยายตัวของเมือง ไม่มีระเบียบแบบแผน รวมทั้งคุณภาพชีวิต |
ของประชากร นอกจากนี้การขยายตัวของภาคเกษตรกรรม การคมนาคม การท่องเที่ยว |
การค้า การบริการ ล้วนมีส่วนทำให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ความเสื่อมโทรม |
ของคุณภาพน้ำในแม่น้ำ มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ |
ในบริเวณหนาแน่น สภาพขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ไม่สามารถ กำจัดได้หมด |
รวมทั้งการสะสมสารพิษที่มีการนำมาใช้ |
|
2.3 ปัญหาสภาพเสื่อมโทรมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ซึ่ง |
จัดเป็น มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศ ความเสื่อมโทรมนี้อาจเกิด |
จากภัยธรรมชาติและ การกระทำของมนุษย์ แต่ไม่มีการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูสภาพ |
แวดล้อมที่เหมาะสม ทำให้เป็นปัญหาที่เรื้อรังและมีความทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว |
|
2.4 ปัญหาการขาดความตระหนักหรือความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในการ |
จัดการศึกษาไม่สามารถเสริมสร้าง หรือปลูกฝังให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีส่วน |
ร่วมคิดร่วมทำ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีเท่าที่ควร ส่วนการ |
ประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละหน่วยงานที่ยังไม่เป็นระบบเกื้อกูลซึ่งกันและ |
กันเพราะขาดนโยบายหลักและเครือข่ายระบบข้อมูลสารสนเทศสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ |
มีระบบการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การเอกชน และ |
ประชาชนที่มีประสิทธิภาพ |
|
2.5 ความจำกัดด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพ |
สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีขอบเขตจำกัดและไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาที่สำคัญเร่งด่วน |
รวมทั้งการใช้เทคโนโลยียังอยู่ใน ระดับต้นแบบหรือสาธิตมากกว่าการนำไปใช้ใน |
ในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งต้องอาศัยการวิจัยเพื่อพัฒนาและมีการส่งเสริมการนำไป |
ใช้ให้บังเกิดผลในวงกว้างกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน |
|
|
|
|