แนวทางการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม

1.
ใช้กฎหมายในการควบคุมและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันประเทศไทย
ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535ขึ้นเพื่อให้มีผลในการปฏิบัต
2.
มีการวางแผนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของประเทศ เช่น การพัฒนาทาง
การเกษรอุตสาหกรรม คุณภาพชีวิต ที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน และใช้เป็นแผนแม่
บทในการกำหนดนโยบายของกระทรวงหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.
ให้การศึกษาประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในความสำคัญ
ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการรณรงค์เพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้น
4.
ควบคุมการเพิ่มของประชากรและความแออัดของชุมชน โดยใช้กลไกของรัฐใน
การจัดการ เช่น การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นโดยหลักของการสร้างชุมชน เข้มแข็ง
เพื่อป้องกันการอพยพสู่เมืองใหญ่ หรือการให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดเพื่อลดอัตรา
การเกิดของประชากร เป็นต้น
5.
แสวงหากระบวนการหรือการใช้สารธรรมชาติ ทดแทนการผลิตที่มีสารตกค้าง
หรือย่อยสลายไม่ได้ในธรรมชาติ
6.
กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ
สุขภาพอนามัย เช่น การทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
เป็นต้น
7.
ลดปริมาณการใช้สารเคมี สารพิษต่าง ๆ โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ย่อย
สลายง่ายมาทดแทนและปลูกฝังเป็นค่านิยมในสังคม
8.
มีการนำวัสดุที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณขยะทั้งในรูปของ
การใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
9.
สร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่าง ๆ อย่าง
ประหยัดแต่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหรือบรรเทาความ
เสื่อมโทรมของ สิ่งแวดล้อม
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
 

 

1.1
  ความหมายของสุขภาพวิ่งแวดล้อม
1.2
  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ
1.3
  ประเภทของสิ่งแวดล้อม
1.4
  สาเหตุและการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
1.5
  โรคและพิษภัยที่เกิดจากปัญหา
  สิ่งแวดล้อม
1.6
  ความหมายและความสำคัญของ
    การสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
 
             
         
ก่อนหน้า