ประเภทของสิ่งแวดล้อม

  สามารถจัดแบ่งได้ดังนี้
    1.
    แบ่งตามลักษณะการเกิด ประกอบด้วย
      1.1 สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ (Natural  Environments) เป็นสิ่งที่เกิด
    ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ จุลินทรีย์ พืช หรือสัตว์ เป็นต้น
      1.2 สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมนุษย์ (Man made Environments) จัดเป็น
    สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นและไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น ที่อยู่อาศัย
    สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาคาร สถานที่ เป็นต้น
      2.
      แบ่งตามการมีชีวิต ได้แก่
        2.1 สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environments) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีชีวิตใน
      ธรรมชาติ เช่น มนุษย์  สัตว์ พืช จุลินทรีย์ เป็นต้น
        2.2 สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environments) หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่มี
      คุณสมบัติของการมีชีวิต ซึ่งอาจมีในธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น
      อากาศ  น้ำ แร่ธาตุ เครื่องจักร  อุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
       
      3.
      แบ่งตามคุณประโยชน์หรือโทษที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ประกอบด้วย
        3.1 สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมหรือค้ำจุนชีวิต (Life  Support  Environments)
      หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือระบบของสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ ในการดำรงชีวิต
      ของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นความต้องการพื้นฐานหรือเป็นความจำเป็นในการดำเนินกิจกรรม
      ต่าง ๆ เช่น พลังงาน อากาศ น้ำ ดิน ความร้อน เป็นต้น
        3.2 สิ่งแวดล้อมที่บั่นทอนหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต (Environmental  Hazards)
      หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือสร้างความเสียหายให้เกิดกับสิ่งมี
      สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ซึ่ง อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือ เกิดจากมนุษย์ เช่น พายุ ฟ้าฝ่า
      แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อากาศ เสีย  น้ำเสีย ขยะมูลฝอย  เป็นต้น
             
      4.
      แบ่งตามองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งออกได้เป็น  4  ประเภท คือ
        4.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical  Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อม
      ที่มีในธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นและเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เช่นดิน น้ำ ฟ้า  อากาศ
      ความร้อน แสง รังสีต่าง ๆ
        4.2 สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological  Environments) ซึ่งแตกต่าง
      จากกายภาพ คือ เป็นสิ่งมีชีวิตทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น เช่น พืช
      สัตว์ จุลินทรีย์ ต่าง ๆ
        4.3 สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social  Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เป็น
      นามธรรม และเกิดจากความคิด การปฏิบัติของมนุษย์ในชุมชน เช่น วัฒนธรรม
      ความเชื่อถือ ค่านิยม ศาสนา ประเพณี เศรษฐกิจ เป็นต้น
        4.4 สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical  Environments)  หมายถึง สิ่งแวดล้อม
      ที่มีสารเคมี เป็นองค์ประกอบสำคัญ เช่น แร่ธาตุ  โลหะ อโลหะ สารประกอบเคมีต่างๆ
      เป็นต้น
             
             
             
             

       

      1.1
        ความหมายของสุขภาพวิ่งแวดล้อม
      1.2
        อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพ
      1.3
        ประเภทของสิ่งแวดล้อม
      1.4
        สาเหตุและการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
      1.5
        โรคและพิษภัยที่เกิดจากปัญหา
        สิ่งแวดล้อม
      1.6
        ความหมายและความสำคัญของ
          การสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม