หลักการจัดการสุขาภิบาลโรงเรียน

  การสุขาภิบาลที่ดีของโรงเรียนมีหลักในการจัดที่ต้องพิจารณา 3  ประการคือ
1.
จัดโรงเรียนให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อต่าง ๆด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเมื่อเกิดการ
ระบาดของโรค ดูแลความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ต่าง ๆ แก่นักเรียนเพื่อให้เกิดความรู้และป้องกันโรคต่าง ๆ ในเบื้องต้นได้
2.
จัดบริเวณให้สะอาด สะดวกสบาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ให้นักเรียนมี
ความรู้สึกดี  เกิดสมาธิในการเรียน และเป็นการส่งเสริมสภาพทางร่างกายของเด็ก
ที่กำลังเติบโตให้มีทัศนคติที่ดี และเป็นการปลูกฝังสุขนิสัยให้เกิดขึ้นและเป็นลักษณะ
ประจำตัว
3.
จัดบริเวณโรงเรียนในทุก ๆ สถานที่ให้เรียบร้อย เป็นการจัดและรักษาความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียนเพื่อเป็นแบบอย่างแก่นักเรียน เช่น
โรงอาหารห้องสมุด  ห้องเรียน ห้องประชุม เป็นต้น
 
   

การดำเนินงานสุขาภิบาลโรงเรียน

  จากหลักการจัดสุขาภิบาลโรงเรียนดังกล่าว สามารถดำเนินงานสุขาภิบาล
โรงเรียนให้ปรากฏผลชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.
ทำเลที่ตั้งโรงเรียน ในการจัดตั้งโรงเรียนใหม่ควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ
เช่น
  1.1 กำหนดพื้นที่ตั้งของโรงเรียน  ควรอยู่ในที่ราบน้ำท่วมไม่ถึง ไม่ชื้นแฉะหรือ
เป็นแอ่งน้ำเพราะจะเป็นที่เพาะพันธุ์ยุง หรือที่ขังน้ำโสโครกได้
  1.2 ไม่ควรสร้างโรงเรียนบนที่สูงเกินไป เช่น ไหล่เขา เพราะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
พลัดตกหกล้มได้ง่าย
  1.3 พื้นที่ภายในโรงเรียนไม่ควรเป็นที่โล่งแจ้ง เพราะทำให้มีความร้อนจัดใน
ฤดูร้อนแต่ไม่ควรมีต้นไม้ใหญ่ใกล้อาคารเกินไปเพราะจะบังแสงสว่าง ขัดขวางการ
ระบายลมหรืออาจล้มทับโรงเรียนได้
  1.4 ควรปลูกไม้พันธุ์เล็กหรือไม้ดอก  เพื่อความสวยงามและรักษาหน้าดินไม่ให้มี
หญ้าขึ้น หรือเฉอะแฉะเป็นโคลนในฤดูฝน และเป็นฝุ่นในฤดูแล้ง
  1.5 พื้นที่ในการปลูกสร้างโรงเรียน ควรคำนึงถึงการขยายตัวของโรงเรียนในวัน
ข้างหน้าด้วย  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดพื้นที่ของโรงเรียนในชนบทระดับต่าง ๆ
ไว้ ซึ่งสรุปในรูปของตารางได้ดังนี้คือ
   
   
2.
การจัดสิ่งแวดล้อม  โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีย่อมมีส่วนสำคัญต่อ
สุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ของนักเรียนให้ดีตามสภาพแวดล้อมที่พบอยู่เป็น
ประจำการจัดตั้งโรงเรียน จึงควรมีลักษณะ ดังนี้
  2.1 ไม่ควรตั้งอยู่ห่างย่านชุมชน เพื่อให้การคมนาคม หรือการสัญจรไปมาสะดวก
และทำให้นักเรียนไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางไป – กลับโรงเรียน
  2.2 ไม่ควรอยู่ติดถนนหรือทางรถไฟ เพราะทำให้มีเสียงรบกวนและอาจเกิด
อันตรายแก่นักเรียน เช่น อุบัติเหตุ  หรือมลพิษทางเสียงได้
  2.3 ไม่ควรอยู่ใกล้โรงเรียนหรือโรงมหรสพหรือใกล้แหล่งสกปรกโสโครก ซึ่งเป็น
สถานที่ก่อมลพิษในด้านต่าง ๆ เช่น กลิ่น ฝุ่นละออง เขม่าควัน และก๊าซพิษ  นอกจากนี้
สถานที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่งมลพิษทางเสียง ซึ่งรบกวนสมาธิในการเรียนของนักเรียน
ของนักเรียนด้วย
  2.4 ไม่ควรตั้งใกล้แหล่งอบายมุข  เช่น โรงแรม บาร์ สถานโบว์ลิ่ง ร้านเล่นเกม
แหล่งการพนัน แหล่งโสเภณี  เป็นต้น เนื่องจากสถานที่เหล่านี้เป็นสิ่งยั่วยุให้นักเรียน
ทดลองอาจเสียการเรียนและหลงผิดได้
  2.5 ควรมีรั้วรอบขอบชิด เพื่อแสดงขอบเขตของโรงเรียนให้ชัดเจนและป้องกัน
สิ่งรบกวนจากภายนอก เช่น คน สัตว์  หรือสิ่งอื่น ๆ ที่จะทำลายสมาธิในการเรียน
และอาจเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของนักเรียนด้วย
3.
การจัดอาคาร ซึ่งประกอบด้วยอาคารเรียนหรืออาคารประกอบ รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง
ต่าง ๆ ในโรงเรียน เช่น อาคารเรียน โรงอาหารและโรงครัว หอประชุม ห้องพยาบาล
และห้องน้ำห้องส้วม  ลักษณะทั่วไปของการจัดอาคารเพื่อให้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุข
ลักษณะควรคำนึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้
  3.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง ควรหันหน้าไปทิศที่จะได้รับลมได้ดี แต่ไม่รับแสงแดดหรือ
ฝนมากเกินไป อาคารจึงไม่ควรหันหน้าไปทิศตะวันออกหรือตะวันตก
  3.2 การออกแบบ  การสร้างแบบแปลนควรเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพของภูมิ
ประเทศและดินฟ้าอากาศที่โรงเรียนตั้งอยู่  รวมทั้งมีขนาดพอเหมาะกับจำนวน
นักเรียนด้วย
  3.3 การก่อสร้าง ต้องพิจารณาถึงวัสดุที่ใช้และรายละเอียดต่าง ๆ ให้เป็นไปตาม
แบบแปลนซึ่งต้องคำนึงถึงความแข็งแรงในการใช้งานไม่ลื่นและรักษาความสะอาดง่าย
  ดังนั้น  การจัดสร้างอาคารต่าง ๆ ในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะควรพิจารณา
รายละเอียดต่าง ๆ กล่าวคือ
1.
อาคารเรียน เป็นสถานที่ใช้เรียนของนักเรียนในการทำกิจกรรมหรือหา
ประสบการณ์ต่าง ๆ ห้องเรียนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและไม่ดีได้
การจัดห้องเรียนควรมีขนาดกว้างและจุนักเรียนไม่เกิน 35 คน เพื่อให้รับแสงสว่าง
และลมได้เพียงพอ ถ้าเป็นอาคารสองชั้น ควรทำบันไดทางด้านซ้ายหรือขวาของอาคาร
เพื่อใช้ขึ้นลงอาคาร ขนาดห้องเรียนที่เหมาะสมกับนักเรียนมีอัตราเฉลี่ยคนละ 5 – 8
ลูกบาศก์เมตร หรือคนละ 1.50 เมตร สำหรับนักเรียนประถมศึกษา และคนละ 2.50
เมตร สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารเรียน มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม ดังนี้
  1.1 พื้นอาคาร  ควรยกให้สูงกว่าระดับน้ำหรือพื้นดิน 1 เมตร เป็นพื้นด้านทำ
ความสะอาดได้ง่าย ถ้าเป็นพื้นไม้กระดานควรเป็นชนิดอัดเข้าลิ้นเพื่อป้องกันฝุนละออง
ตกจากชั้นบน ถ้าเป็นพื้นที่มีระดับเสมอพื้นดิน ควรใช้พื้นปูนซีเมนต์  คอนกรีตแผ่นอิฐ
หรือกระเบื้องปูพื้น ถ้าขาดแคลนวัสดุจากใช้พื้นดินเหนียวที่ทุบแน่นแต่เรียบแทนก็ได้
  1.2 ฝาผนัง ไม่ควรมีลวดลายเพื่อป้องกันการเกาะของฝุ่น และทำให้ง่ายใน
การทำ ความสะอาด ฝาผนังระหว่างห้องควรทึบเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากห้องอื่น ๆ
ส่วนฝาผนังด้านอื่น ๆ ควรมีช่องระบายลมระหว่างผนังกับเพดาน ไม่ควรใช้สังกะสี
เพราะทำให้ร้อน อาจใช้ไม้หรือซีเมนต์จะดีกว่า
  1.3 บันได  ถ้าเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ต้องมีบันไดสำหรับขึ้น
ลงในอาคาร บันไดที่ป้องกันอุบัติตุได้ควรมีลักษณะที่ไม่ลาดหรือชันเกินไปและมีราว
เกาะความยาวของบันไดไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร ช่วงระหว่างบันไดสูงประมาณ
12 – 15  เซนติเมตรในแต่ละช่วงบันไดไม่เกิน 14 ขั้น ถ้าเกินควรทำชานพักซึ่งใต้
ชานพักอาจทำเป็นห้องเก็บของหรือห้องน้ำ ถ้าอาคารเรียนยาวต่อกันเกิน  4  ห้องเรียน
หรือ 36 เมตรขึ้นไป ควรทำบันไดขึ้นลงสองแห่งให้พอสมควร
  1.4 หลังคาและเพดาน หลังคาของอาคารควรมีความลาดไม่น้อยกว่า 30 องศา
จากแนวระดับ โดยมีชายคาหรือกันสาดยืนพ้นฝาผนัง หรือตัวอาคาร ประมาณ
1.50 – 2.00 เมตร ตาม ลักษณะรูปแบบทรงของอาคารและหลังคา เพื่อกันฝนสาดหรือ
ลมโกรก วัสดุที่ใช้ต้องกันแดดและฝนได้ เช่น กระเบื้องดินเผา กระเบื้องไม้  กระเบื้อง
ซีเมนต์  สังกะสี  จากหรือแฝก ส่วนเพดานควรด้วยไม้  ไม้อัด กระดาษอัด  ซีเมนต์
แผ่นเรียบ หรือเสื่อลำแพนเพื่อช่วยป้องกันความร้อนในห้องเรียน และฝุ่นละอองจาก
หลังคาอาคาร
  1.5 ระเบียง  เป็นส่วนเชื่อมต่อจากห้องเรียนต่าง ๆ ในอาคารเรียน ซึ่งควรมีความ
กว้างประมาณ 2.00 – 2.50  เมตร และมีลูกกรงหรือพนักกันตลอดเพื่อป้องกันการ
พลัดหล่นจากอาคาร
  1.6 ประตูและหน้าต่าง  ห้องเรียนทุกห้องต้องมีประตูเปิดสู่ระเบียงด้านขวาของ
อาคารเรียนอย่างน้อย  2  ประตู  ขนาดมาตรฐานของประตูมีความกว้าง 1.10 เมตร
สูง  2.10  เมตร หรือสูงเสมอขอบบนหน้าต่าง ส่วนหน้าต่างควรอยู่ด้านซ้ายของ
ห้องเรียนโดยมีจำนวนมากพอสำหรับถ่ายเทอากาศและรับแสงสว่างจากภายนอกซึ่งเป็น
หน้าต่างที่เปิดออกทางด้านนอก  ขนาดของหนาต่างที่เหมาะสมมีความกว้างประมาณ
80 เซนติเมตรสูง 1.10  เมตร  โดยขอบล่างของหน้าต่างสูงจากพื้นห้องเรียนประมาณ
1.00 เมตร หรือสุงกว่าโต๊ะเรียนเล็กน้อย พื้นที่ประตูและหน้าต่างควรมีไม่น้อยกว่าหนึ่ง
ในสี่ของพื้นฝาห้องเรียน
 
 

 

4.1
  ความหมายและความสำคัญของ
    การสุขาภิบาลโรงเรียน
4.2
  บุคคลที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ
    การสุขาภิบาลโรงเรียน
4.3
  หลักการจัดสุขาภิบาลโรงเรียน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
 
         
หน้าถัดไป