2. |
อาคารประกอบ หมายถึง อาคารอื่น ๆ ที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของ |
นักเรียน ซึ่งประกอบด้วย |
|
2.1ห้องพยาบาล ควรอยู่ชั้นล่างของอาคารเรียน ถ้าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่อาจมี |
อาคารพยาบาลโดยเฉพาะหนึ่งหลัง โดยตั้งให้ไกลจากเสียงรบกวน เช่น สนามกีฬา |
โรงอาหารภายในห้องพยาบาลควรแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนโดยใช้ฉากหรือตู้กั้น มีเตียง |
พักผู้ป่วยพอเหมาะกับจำนวนนักเรียน และอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลให้พร้อม |
เช่น ยาเวชภัณฑ์ เครื่องชั่งน้ำหนักเครื่องวัดความดัน เครื่องวัดอุณหภูมิของร่างกาย |
เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องวัดการได้ยิน เป็นต้นการจัดแบ่งห้องพยาบาลอาจแบ่งได้ |
2 ส่วน และมีห้องน้ำอยู่ภายในห้อง ส่วนที่ 1 เป็นที่วางตู้เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ |
เพื่อรับการตรวจรักษา อาจจัดโต๊ะทำแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ และอ่างล้างมือไว้สำหรับใช่งาน |
ส่วนที่ 2 เป็นเตียงสำหรับคนไข้หรือจัดโต๊ะเก้าอี้สำหรับแพทย์ใช้ตรวจนักเรียน |
|
ภายในห้องพยาบาลควรได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอ มีหน้าต่าง หรือช่องลม |
ช่วยให้อากาศหมุนเวียนได้ดี และมีการรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ซึ่งควรมีผู้ดูแล |
รับผิดชอบในการใช้อุปกรณ์และให้ยาอย่างถูกต้องปลอดภัยอาจเป็นพยาบาลหรือ |
ครูสุขศึกษาก็ได้ |
|
2.2 โรงอาหาร เป็นอาคารที่มีความสำคัญของโรงเรียน เพราะนักเรียนใช้เป็น |
สถานที่รับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วน ถูกสุขลักษณะ สะดวกต่อการควบคุมเรื่อง |
ความสะอาด และการสุขาภิบาลอาหาร ลักษณะของโรงอาหารที่ดีควรมีแสงสว่างและ |
การถ่ายเทอากาศที่เพียงพอ ซึ่งอาจใช้พัดลมช่วยในการหมุนเวียนอากาศ ภายใน |
โรงอาหารต้องจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและปลอดภัย ด้วยการจัดโต๊ะอาหารและที่นั่ง |
เพียงพอกับจำนวนนักเรียนพื้นที่ที่เหมาะสมคือจำนวนนักเรียน 1 คน ควรมีพื้นที่เฉลี่ย |
1 ตารางเมตร มีน้ำดื่มสะอาดพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เช่น ถัง ก๊อกน้ำ |
และล้างภาชนะที่ใช้ในการรับประทานอาหาร จัดที่รองรับเศษอาหารให้ถูกสุขลักษณะ |
และเพียงพอ มีการควบคุมเรื่องความสะอาดของการปรุงอาหาร และภาชนะที่ใส่อาหาร |
มีเคาร์เตอร์สำหรับจ่ายอาหาร และใช้ลวดตาข่ายกั้นเป็นบริเวณเพื่อป้องกันแมลงวัน |
หรือสัตว์ต่าง ๆ เช่น สุนัข แมว เข้าไปรบกวน |
|
2.3 โรงครัว เป็นสถานที่สำคัญที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาดถูกอนามัยที่ตั้ง |
ของโรง ครัวควรห่างจากสิ่งโสโครก กองขยะหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ พื้นห้องเป็นวัสดุทน |
ไฟทึบเรียบและทำความสะอาดง่าย มีตาข่ายที่ประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันแมลงวันและ |
หนูมีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อความสะอาดในการปรุงอาหารและป้องกันอุบัติเหตุระบบ |
การถ่ายเทอากาศดี เพราะการปรุงอาหารจะมีความร้อนและกลิ่น ดังนั้น การตั้งเตาไฟ |
จึงควรให้มีความสูงพอเหมาะกับการยืนปรุงและมีปล่องไฟดูดควันหรือกลิ่นอาหาร |
ออกจากโรงครัว จัดถังขยะรับเศษอาหารและขยะมูลฝอยต่าง ๆ ซึ่งทำความสะอาดง่าย |
มีฝาปิดมิดชิดและไม่รั่ว มีรางระบายน้ำอย่างดี เพื่อไม่ให้เศษอาหารตกค้างและบูดเน่า |
ส่งกลิ่นเหม็น รวมทั้งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันหรือเชื้อโรคต่าง ๆมีตู้เก็บอาหาร |
ทีปรุงสำเร็จซึ่งควรโปร่งและป้องกันแมลงวัน แมลงสาบหรือสัตว์อื่น ๆ ได้ ภาชนะที่ |
ใส่อาหารและอุปกรณ์สำหรับประกอบอาหารไม่ควรวางบนพื้นครัว เมื่อล้างแล้วผึ่งแดด |
หรือปล่อยให้แห้งและเก็บไว้ในที่สะอาด มีน้ำสะอาดและเพียงพอสำหรับปรุงอาหาร |
และล้างภาชนะ หรือทำความสะอาดอื่น ๆ |
|
2.4 ห้องพลศึกษา เป็นห้องที่ใช้สำหรับจัดเก็บอุปกรณ์และทำกิจกรรมทาง |
พลศึกษาซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายโดยจัดวาง |
สิ่งของให้เป็นระเบียบไม่กีดขวางพื้นที่สำหรับเรียนกิจกรรม พื้นห้องควรทำด้วยวัสดุที่ |
รองเท้าเกาะยึดได้ดี ควรตีเส้นขอบสนามให้ห่างจากฝาผนังพอสมควร และให้ส่วนของ |
วัสดุที่ติดฝาห้องยื่นออกมาน้อยที่สุด |
|
2.5 ห้องน้ำห้อมส้วม เป็นสถานที่สำคัญที่โรงเรียนต้องจัดให้เพียงพอกับจำนวน |
นักเรียน ถ้ามีนักเรียนชายมากอาจจัดที่ปัสสาวะให้ด้วยโดยแยกส้วมนักเรียนชายและ |
นักเรียนหญิงไว้คนละแห่ง มีการรักษาความสะอาดอย่างดีเพราะส้วมเป็นแหล่งที่ทำให้ |
เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนและแพร่กระจายเชื้อโรค รวมทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง |
นำโรคต่าง ๆหลักของการสร้างส้วมควรตั้งในทำเลที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีท่อระบาย |
แก๊สภายในส้วมขึ้นสู่อากาศไม่อับทึบ มีแสงสว่างเพียงพอ สะดวกในการใช้และรักษา |
ความสะอาด ไม่ชื้น ที่เก็บอุจจาระมิดชิดป้องกันแมลงวันและสัตว์ได้ดี และมีอ่างล้างมือ |
ควรมีประกาศห้ามทิ้งสิ่งใด ๆ ลงในส้วมเพื่อป้องกันส้วมเต็ม เกณฑ์ในการคำนวณ |
จำนวนส้วมและมีปัสสาวะที่เหมาะสมคือ 3 ที่ต่อนักเรียน 100 คนแรกและเพิ่มส้วม 1 |
ที่ต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น 60 – 100 คน สำหรับนักเรียนชายในระดับประถม |
และมัธยม ส่วนนักเรียนหญิง 100 คนแรกควรมีส้วม 3 ที่และเพิ่มขึ้นอีก 1 ที่เมื่อ |
มีนักเรียนเพิ่มขึ้นอีก 30 – 50 คนสำหรับนักเรียนระดับประถมและมัธยมตามลำดับ |
3. |
อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในห้องเรียน ภายในห้องเรียนจำเป็นต้องมี |
อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งต้องจัดให้ถูกสุขลักษณะ |
และใช้ได้สะดวก ประกอบด้วย |
|
3.1 โต๊ะครู ใช้สำหรับวางสมุด หนังสือ อุปกรณ์ ประกอบการสอนต่าง ๆ อาจตั้ง |
ด้านซ้ายหรือขวาของห้องเรียน เพื่อความสะดวกในการใช้กระดานมากกว่าวางกลาง |
หน้ากระดานชอล์ก |
|
3.2 โต๊ะเรียนและม้านั่ง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ |
กำลังเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจเพราะถ้าโต๊ะเรียนกับม้านั่งไม่ได้สัดส่วน |
จะทำให้เสียบุคลิกหรือร่างกายผิดส่วนไป โดยทั่วไปโต๊ะเรียนควรมีความกว้าง 1 ศอก |
ยาว 2 ศอกของผู้นั่งหรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 35 X 70 ตารางเซนติเมตร ฝาโต๊ะควรมี |
ความลาดประมาณ 15 องศา และระดับล่างของฝาโต๊ะควรมีช่องว่างหน้าตักให้ผู้นั่ง |
เข้าออกสะดวก ส่วนม้านั่ง ควรมีความสูงเท่ากับท่อนขาส่วนล่างของนักเรียน เมื่อวาง |
ฝ่าเท้าราบกับพื้นโดยหัวเข่าเป็นมุมฉากได้ ความกว้างของที่นั่งควรมีขนาดสองในสาม |
ของความยาวของขาผู้นั่ง พื้นเป็นแอ่งดีกว่าพื้นราบ พนักพิงไม่ควรสูงกว่าสะบักส่วน |
ล่างพนักพิงไม่ทึบ ควรปล่อยช่องว่างให้นั่งสบาย กองสุขาภิบาลกรมอนามัย ได้กำหนด |
ขนาดโต๊ะเรียนและม้านั่งให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีรูปร่างแตกต่างรวม 5 ขนาด |
|
|
|
|
|
การจัดโต๊ะเรียนและม้านั่งให้ถูกสุขลักษณะควรใช้โต๊ะเดี่ยวมากกว่าโต๊ะหมู่ มีความ |
สะอาด มั่นคง แข็งแรง จัดโต๊ะให้ได้แสงสว่างเหมาะสม มีช่องว่างระหว่างแถวไม่ต่ำกว่า |
45 เซนติเมตร เพื่อให้ลุกนั่งได้สะดวก และครูสามารถเดินตามโต๊ะนักเรียนได้ไม้ควร |
ตรึงโต๊ะและม้านั่งติดอยู่กับที่เพราะไม่สะดวกในการจัดทำกิจกรรมและโยกย้าย |
|
3.3 กระดานชอล์ก มักทำด้วยกระดานไม้อัดทาสีเขียว เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้สึก |
เย็นตาและกล้ามเนื้อไม่ต้องทำงานมากจากการเพ่งมองสีขาวกับสีเขียว การติดตั้ง |
กระดานชอล์กควรติดกับฝาผนังห้องเรียนในระดับที่สูงพอที่นักเรียนแถวหน้าห่างจาก |
กระดานไม่น้อยกว่า 2 เมตร และแถวหลังห่างไม่เกิน 9 – 10 เมตร กระดานชอล์กควร |
มีขอบหรือกรอบไม้ทาสีขาวหรือรางไม้ติดไว้ขอบล่างสำหรับรองรับผงชอล์ก สีที่ใช้ |
ทาควรเป็นสีด้าน หรือมีการสะท้อนไม่เกินร้อยละ 20 เพื่อไม่ให้แสงชอนนัยน์ตา และ |
ช่วยในการมองให้ชัดเจนขึ้น ควรมีการซ่อมแซมทาสีเพื่อให้เขียนได้ชัดเจนและ |
ทำความสะอาดเป็นระยะ ๆ สำหรับแปรงลบกระดานควรมีไว้ประจำและทำความสะอาด |
อยู่เสมอ |
|
3.4 สนามกีฬา เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เป็นที่ |
ออกกำลังกายเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง การจัดแบ่งพื้นที่สนามควรมีพื้นที่ |
อัตราเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของบริเวณโรงเรียน ถ้าเป็นสนามฟุตบอล ควรอยู่ด้าน |
หน้า ควรอยู่ด้านหน้าของโรงเรียน ทางทิศเหนือหรือทิศใต้ เพื่อไม่ให้แดดชอนตา |
นักเรียนขณะเล่นกีฬา ส่วนสนามกีฬาเล็กหรือสนามบางประเภท เช่น สนามเด็กเล่น |
ควรจัดอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของโรงเรียน พื้นสนามควรปรับให้เรียบไม่เป็นหลุม |
บ่อเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ พลัดตกหกล้ม รวมทั้งมีระบบการระบายน้ำที่ดี ปลูกและบำรุง |
หญ้าอย่าง สวยงาม ริมของสนามควรปลูกต้นไม้ใบทึบเพื่อกันแดด และเป็นที่ร่ม |
เงาของนักเรียน รวมทั้งช่วยป้องกันเสียงรบกวนได้ระดับหนึ่ง ควรจัดม้านั่งและมีถัง |
รองรับขยะมูลฝอยเป็นระยะ ๆ |
4. |
การถ่ายเทอากาศและแสงสว่าง มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างเสริมหรือบั่น |
ทอนการเรียนการสอนโดยเฉพาะในห้องเรียน เพราะถ้าการถ่ายเทอากาศใน |
ห้องไม่ดีพอเกิดความอบอ้าว จะทำให้นักเรียนง่วงเหงาหาวนอน ปวดศีรษะ หรือมึนซึม |
จึงควรมีประตูหน้าต่างให้เพียงพอโดยมีเนื้อที่ของช่วงประตู หน้าต่างไม่น้อยกว่า |
ร้อยละ 20 ของพื้นที่ห้องทั้งหมด รอบห้องเรียนควรมีช่องลมปิดด้วยไม้ตีเป็นลูกกรง |
และมีชายคาคลุมกันฝนสาดเข้าได้ บริเวณโดยรอบห้องเรียนภายในระยะ 8 เมตร |
ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ เพื่อไมให้ขัดขวางการระบายอากาศและช่วยให้หลังคาไม่ |
สกปรกชำรุดได้ง่าย |
|
สำหรับแสงสว่างที่เหมาะสมกับสายตา ควรส่องเข้าทางซ้ายมือของนักเรียน ถ้าแสง |
สว่างจากธรรมชาติไม่เพียงพอควรหาหลอดไฟฟ้ามาเพิ่ม ซึ่งต้องส่องสม่ำเสมอไม่ใช่ |
่แสงกระพริบและใช้การทาสีภายในห้องช่วยการสะท้อนแสงในห้องเรียนประกอบซึ่งสี |
ต่าง ๆ จะให้กำลังสะท้อนแสงแตกต่างกันออกไป |
|
|
|
5. |
น้ำดื่ม น้ำใช้ และการระบายน้ำในบริเวณโรงเรียน น้ำเป็นสิ่งจำเป็น |
สำหรับการดำรงชีวิต โรงเรียนจึงต้องจัดบริการน้ำดื่มน้ำใช้ให้นักเรียน ซึ่งต้องเป็นน้ำ |
สะอาดปลอดภัยปราศจากเชื้อโรค และมีจำนวนเพียงพอโดยอาจคำนวณในเกณฑ์ 3–4 |
ลิตรต่อคนต่อวัน โรงเรียนที่ตั้งในเขตการประปา อาจจัดตู้น้ำเย็น อ่างน้ำพุ หรือใช้ |
เครื่องกรองน้ำเพื่อให้บริการน้ำดื่ม เพราะน้ำประปา อาจจัดตู้น้ำเย็น อ่างน้ำพุหรือใช้ |
น้ำเพื่อให้บริการน้ำดื่ม เพราะน้ำประปา จะผ่านการกำจัดเชื้อโรค ความขุ่นและความ |
เป็นกรดด่างมากแล้ว ถ้าโรงเรียนจัดน้ำฝนให้บริการเป็นน้ำดื่มควรระมัดระวังเรื่อง |
ความสะอาด ซึ่งอาจเก็บในแท็งก์น้ำ หรือทำถังเก็บน้ำฝนมีฝาปิดมิดชิดและทำความ |
สะอาดอย่างน้อยปีละครั้ง และเริ่มรองน้ำฝนหลังจากที่ฝนตกหลายครั้ง เพื่อให้น้ำฝน |
ชะล้างสิ่งสกปรกบนหลังคาก่อน ถ้าเป็นน้ำบ่อควรตั้งให้ห่างจากแหล่งน้ำโสโครก |
อย่างน้อย 30 เมตร มีขอบบ่อกั้นเพื่อป้องกันดินพัง ขอบบ่อต้องสูงจากพื้นดินไม่น้อย |
กว่า 50 เซนติเมตร ทำลานซีเมนต์รอบปากบ่อ มีทางระบายน้ำ และมีฝาปิดครอบ |
ไม่ให้เชื้อโรคหรือฝุ่นละอองตกลงในบ่อโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำแทนการใช้ถังผูกเชือก |
หย่อนตักในน้ำและต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาที ก่อนนำไปดื่ม ส่วนอ่างน้ำพุแล |
ะอ่างล้างมือควรแยกไว้ต่างหาก และติดตั้งไว้ให้เหมาะสมกับส่วนสูงของนักเรียน |
อ่างน้ำพุและอ่างล้างมือควรทำจากวัสดุไม่อุ้มน้ำ ขัดล้างและทำความสะอาดได้ง่าย |
จำนวนอ่างล้างมือควรมีอย่างน้อย 1 ทีต่อจำนวนนักเรียน 50 คน หรือก๊อกน้ำดื่มใช้ 1 |
ก๊อกต่อนักเรียน 50 คน เพิ่มอีก 1 ก๊อก สำหรับนักเรียนที่เกิน 50 คน แต่ไม่ถึง |
100 คน |
|
การระบายน้ำในบริเวณโรงเรียน ควรทำรางหรือท่อน้ำทิ้งเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขัง |
ซึ่งอาจส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเกิดเชื้อโรค และเป็นที่เพาะพันธุ์ยุง แมลงวัน และ |
แมลงสาบ การวางแนวระบายน้ำควรแบ่งออกเป็นทาง ๆ เพื่อแบ่งปริมาณน้ำให้ไหลเป็น |
หลายทาง น้ำโสโครกจากห้องน้ำ ห้องส้วม ควรจัดทำโดยใช้การต่อท่อลงถังเกรอะ |
บ่อซึมแยกต่างหาก |
6. |
การกำจัดขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยเป็นบ่อเกิดของเหตุรำคาญต่าง ๆ และ |
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน หรือเป็นที่อยู่อาศัยของหนู และสัตว์อื่น ๆ ขยะมูลฝอย |
ในโรงเรียนส่วนมากมักเป็นเศษกระดาษ เศษอาหาร และวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ ห้อง |
เรียนทุกห้องจึงควรมีตะกร้าสำหรับใส่เศษกระดาษขยะมูลฝอย และนำไปเททิ้งทุกวัน |
สำหรับขยะมูลฝอย เปียกหรือเศษอาหารควรจัดภาชนะรองรับให้เพียงพอและทิ้งใน |
หลุมที่ขุดไว้ เมื่อเททิ้งทุกครั้งควรเอาดินหรือทรายเทกลบให้หนาประมาณ 20 ซม. |
เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นและสัตว์ไปคุ้ยเขี่ย ถ้าโรงเรียนตั้งอยู่เขตเทศบาลที่มีการกำจัด |
ขยะมูลฝอยควรนำไปเทรวมในภาชนะที่เจ้าหน้าที่ตั้งไวเป็นประจำทุกวัน โรงเรียนควร |
จัดหาภาชนะสำหรับทิ้งขยะมูลฝอย ตั้งไว้ตามที่ต่าง ๆ ซึ่งควรมีฝาปิดและทำความสะอาด |
ได้ง่าย |
7. |
การป้องกันโรคติดต่อ โรงเรียนควรตรวจตราและสังเกตนักเรียน โดยจัดทำบันทึก |
ประวัติสุขภาพของนักเรียนเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังโรค ถ้าพบว่านักเรียนเป็นโรค |
ติดต่อควรอนุญาตให้นักเรียนพักการเรียนชั่วคราวจนกว่าจะหายเป็นปกติ |
โรคที่เกิดขึ้นอาจติดต่อด้วยวิธีต่าง ๆ |
|
|
|
|
8. |
สุขวิทยาส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่โรงเรียนสอนให้นักเรียนรู้จักดูแลรักษาสุขภาพ |
ต่าง ๆ เช่น การดูแลรักษาฟัน การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร ท่านั่งเรียน |
ที่เหมาะสมโดยครูเป็นบุคคลสำคัญในการอบรมสั่งสอนให้นักเรียนมีความรู้และทัศนคติ |
ที่ดีในการรักษาสุขภาพของตัวเอง |
|
องค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นในการจัดการสุขาภิบาลโรงเรียน |
ดังแผนภูมิ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|