วัฏจักรของน้ำ

  ตามธรรมชาติของน้ำ จะมีการหมุนเวียนเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง
ทั้งในแนวราบและแนวดิ่งของพื้นดิน และมีการแผ่กระจายของน้ำบนพื้นดิน วัฏจักร
ของน้ำจึงเป็นการหมุนเวียนของความเปลี่ยนแปลงระหว่างโมเลกุลของน้ำจากผิวโลก
ไปสู่บรรยากาศโดยการระเหยการคายน้ำของพืช และจากบรรยากาศสู่ผิวโลกตกลงมา
เป็นฝน หิมะลูกเห็บ และน้ำค้างหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไม่มีที่สิ้นสุดวัฏจักรของน้ำมี
ลำดับขั้นตอน ดังนี้
  ขั้นที่  1  น้ำบนผิวโลก ได้แก่ น้ำทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำธาร คลอง ฯลฯ
เมื่อได้รับความร้อนจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ดวงอาทิตย์ การคายน้ำของพืชหรือกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์จะกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก
  ขั้นที่  2  เมื่อไอน้ำลอยตัวสูงขึ้น อุณหภูมิจะลดลงทำให้ไอน้ำเปลี่ยนสภาพกลาย
เป็นเมฆเกาะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวตามกำลังลม เมื่อเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้น
ทำให้มีน้ำหนักมากก็จะลอยลงมาใกล้พื้นผิวโลกและถูกความร้อนที่ผิวโลกละลาย
ก้อนเมฆ  ทำให้เกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาสู่พื้นผิวโลกในลักษณะ
ต่าง ๆ เช่น เป็นน้ำฝน หิมะ  ลูกเห็บ หรือน้ำค้าง เรียกว่าน้ำจากบรรยากาศ
(Precipitation water)
  ขั้นที่  3  น้ำที่ตกลงมาสู่ผิวโลกจะไหลไปตามพื้นผิวและรวมอยู่ในพื้นที่ที่ต่ำกว่า
กลายเป็นลำธาร คลอง แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทร ซึ่งเรียกว่าน้ำผิวดิน
(Surface  water) อาจมีน้ำผิวดินบางส่วน ซึมผ่านลงไปในชั้นดิน ชั้นหิน ต่าง ๆ
ทำให้เกิดการสะสมของน้ำซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ได้ ถ้ามีการสะสมน้ำในชั้นดินหรือ
หินปริมาณมาก ๆ จนกลายเป็นน้ำบาดาล หรือน้ำพุ เราเรียกว่าน้ำใต้ดิน
(Ground  water) น้ำบางส่วนเมื่อได้รับความร้อนหรือการระเหยจากพืชจะลอยขึ้น
เป็นไอน้ำสู่อากาศหมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป
  ปริมาณของน้ำในวัฏจักรแต่ละขั้นตอนไม่มีความแน่นอนตายตัวเพราะต้องอาศัย
องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิ ลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล ความกดดันของอากาศลักษณะ
ภูมิประเทศเป็นส่วนช่วยในการระเหยของน้ำหรือช่วยให้เกิดการกลั่นตัวของเมฆ
อย่างไรก็ตามวัฏจักรของน้ำดังกล่าวเป็นส่วนที่ทำให้เกิดน้ำและแหล่งน้ำที่มนุษย์
นำมาใช้ประโยชน์ต่อการอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน
   
       

วัฎจักรของน้ำ

       

 

6.1
  ความสำคัญของน้ำที่มีต่อชีวิต
6.2
  วัฎจักรของน้ำ
6.3
  ประเภทของแหล่งน้ำ
6.4
  คุณภาพของน้ำ
6.5
  การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค
    บริโภค