ประเภทของแหล่งน้ำ
  แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้นได้มาจาก 3 แหล่งที่สำคัญ ดังนี้
1.
น้ำจากบรรยากาศหรือน้ำฝน คือ น้ำที่ได้จากการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำของก้อนเมฆ
โดยตรง อาจเป็นน้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ ฯลฯ จัดเป็นน้ำสะอาดตามธรรมชาติ มีความ
กระด้างน้อย จึงทำปฏิกิริยากับสบู่ทำให้เป็นฟองได้ง่าย แต่เนื่องจากขณะที่ฝนตกลงมา
อาจดูดซับก๊าซฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคในบรรยากาศ ถ้ามีปริมาณความสกปรกไม่เกิด
มาตรฐานน้ำดื่มน้ำใช้ย่อมสามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้โดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพ
แต่ถ้าน้ำฝนถูกปนเปื้อนจากฝุ่นละอองเศษไม้ใบหญ้า  หรือมูลนก เนื่องจากหลังคาพื้น
ผิวที่รองรับน้ำฝน หรือภาชนะที่เก็บกักน้ำฝนสกปรกรวมทั้งบริเวณที่รองรับน้ำฝน
สกปรกเพราะอยู่ในเขตชุมชนหนาแน่น ย่อมเป็นส่วนทำให้น้ำฝนสกปรก และอาจเป็น
อันตรายต่อผู้บริโภคได้
2.
น้ำผิวดินหรือน้ำบนพื้นดิน คือ น้ำที่ขังอยู่บนพื้นผิวโลกซึ่งมีต้นกำเนิดจากน้ำฝน
ที่ตกมายังพื้นโลกในปริมาณมาก ๆ และเหลือจากการดูดซับของชั้นดิน หรือเหลือจาก
การระเหยรวมทั้งการดูดซึมไปใช้ของพืช  แหล่งน้ำผิวดินจะมีปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่
กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ปริมาณการสูญเสียเนื่องจากการระเหยของผิวหน้าแหล่ง
น้ำ และการสูญเสียเนื่องจากการซึมลงสู่ชั้นดิน น้ำผิวดินมีความสำคัญต่อชุมชนเพราะ
เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สุดโดยเฉพาะในทะเล มหาสมุทรซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ
ในการคมนาคมและการประมง ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองหรืออ่างเก็บน้ำล้วนเป็นแหล่
น้ำผิวดินที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ในการใช้ดื่ม และทำประปา เพื่อบริโภคในระดับ
ครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม น้ำผิวดินแต่ละแห่งมีคุณภาพที่
แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการปนเปื้อนของน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำผิวดินจึงมีความสกปรกและ
การปนเปื้อนมากกว่าน้ำฝนและน้ำใต้ดินการนำผิวดินมาใช้อุปโภคบริโภคจึงควรมีการ
ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สะอาดปลอดภัยก่อน
3.
น้ำใต้ดิน คือน้ำที่ขังตามช่องว่างหรือรูพรุนของดิน หิน กรวดทราย ซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก
น้ำใต้ดินเกิดจากการที่น้ำฝนหรือน้ำจากบรรยากาศตกสู่ผิวโลกแล้วไหลซึมลงเบื้องต่ำ
จนถึงชั้นดินที่มีลักษณะจับตัวแน่นจนน้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ เช่น ดินเหนียว ดินดาน
หรือชั้นหินที่อัดตัวแน่น แหล่งน้ำเหล่านี้ได้แก่ น้ำพุ น้ำบ่อ น้ำบาดาล ซึ่งมีความสำคัญ
ต่อพื้นที่กันดารน้ำ คุณภาพของน้ำใต้ดินมีความสะอาดกว่าน้ำผิวดินเนื่องจากมี
การกรองจากชั้นดิน หิน กรวดในธรรมชาติ แต่น้ำจะมีความกระด้างสูง มักมีรสกร่อย
ถ้าเป็นน้ำที่อยู่ในบริเวณที่มีธาตุเหล็กและเกลือของแคลเซียมมาก อาจทำให้น้ำมีสีขุ่น
มีสีหรือกลิ่นของสนิมเหล็กหรือกลิ่นคาว ทำให้ไม่นิยมนำมาบริโภค
       

 

       

 

6.1
  ความสำคัญของน้ำที่มีต่อชีวิต
6.2
  วัฎจักรของน้ำ
6.3
  ประเภทของแหล่งน้ำ
6.4
  คุณภาพของน้ำ
6.5
  การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค
    บริโภค