คุณภาพของน้ำ |
|
น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัยสามารถนำมาจากแหล่งน้ำทั้ง 3 ประเภท |
ดังกล่าวโดยทั่วไปคุณสมบัติของน้ำบริสุทธิ์ ประกอบด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจน |
และออกซิเจนที่อยู่ในรูปของของเหลว (H2O) มีความใส โปร่งแสง ไม่มีรสชาติ ไม่มี |
กลิ่นถ้ามีปริมาณน้อยจะไม่มีสี แต่ถ้ามีปริมาณมาก หรือมีความลึกมากจะมองเห็น |
เป็นสีฟ้าจาง ๆ น้ำบริสุทธิ์จะแข็งตัวที่ 0 องศาเซลเซียส และมีจุดเดือดที่ 100 |
องศาเซลเซียส น้ำฝนจัดเป็นน้ำบริสุทธิ์แต่เมื่อนำฝนตกสู่พื้นโลกจะมีความ |
สกปรกและมีสารปนเปื้อน เพราะน้ำมีคุณสมบัติในการละลายสิ่งต่าง ๆ ได้ทุกชนิด |
เช่น แก๊ส ของเหลว หรือของแข็งต่างๆดังนั้นเมื่อน้ำไหลผ่านสิ่งใดย่อมจะล้างสารต่างๆ |
ปะปนไปด้วยทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนไปและอาจต้องมีการปรับปรุงน้ำให้มีคุณภาพ |
ที่เหมาะสำหรับการอุปโภคบริโภคโดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คุณภาพของน้ำแบ่ง |
ออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ 3 ประเภทคือ |
|
1. คุณภาพของน้ำทางฟิสิกส์ หรือกายภาพ (Physical Property) |
|
2.คุณภาพของน้ำทางเคมี (Chemical Property) |
|
3. คุณภาพของน้ำทางชีวภาพ (Biological Property) |
|
แต่ละประเภทมีคุณสมบัติ ดังนี้ |
1. |
คุณภาพของน้ำทางฟิสิกส์ หรือกายภาพ หมายถึง ลักษณะความสกปรกในน้ำที่ |
ปรากฏและสามารถวิเคราะห์ได้โดยทางกายสัมผัส เช่น ดูด้วยตา ดมกลิ่น และลิ้มรส |
คุณภาพของน้ำทางฟิสิกส์อาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกรองน้ำ |
ระบบน้ำประปา หรือระบบท่อน้ำในกิจการประปา คุณภาพทางฟิสิกส์ที่สำคัญ ได้แก่ |
|
1.1 ความขุ่น ความขุ่นของน้ำเกิดจากสารแขวนลอยทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสาร |
อนินทรีย์แขวนลอยในน้ำทำให้บดบังแสงจนไม่สามารถมองทะลุลงไปในระดับน้ำที่ลึก |
ได้สะดวก สารแขวนลอยในน้ำประกอบด้วยดินละเอียด แพลงตอน จุลินทรีย์ หรือโคลน |
ตมต่าง ๆ เป็นต้น ความขุ่นของน้ำมีความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพด้านของน้ำดื่มน้ำใช้ |
เพราะมนุษย์มักนิยมดื่มน้ำที่สะอาด |
|
1.2 สี น้ำในธรรมชาติจะมีสีที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของสิ่งเจือปนในน้ำหรือ |
สารแขวนลอยต่าง ๆ สีของน้ำมี 2 ชนิด คือ |
|
1.2.1 สีปรากฏ เป็นสีของน้ำที่เกิดจากสารที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำและสีที่ |
เกิดจากสารแขวนลอยในน้ำ ซึ่งสามารถแยกออกได้ด้วยการกรองหรือตกตะกอน |
|
1.2.2 สีแท้ เป็นสีของสิ่งที่เกิดจากสารที่ละลายเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำหลังจากการ |
ตกตะกอนหรือใช้กระดาษกรองสีปรากฏของน้ำออกแล้ว สิ่งที่เหลือจะเป็นสีแท้ |
|
น้ำที่มีสีชา หรือน้ำตาล ปนเหลือง เป็นน้ำที่มีการหมักหมมทับถมของพืชใบไม้ |
เศษวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ |
|
ส่วนน้ำที่มีสีชาหรือสีน้ำตาล อาจเกิดจากการละลายธาตุเหล็ก แมงกานิส หรือ |
แพลงตอน |
|
การเกิดสีของน้ำอาจเปลี่ยนไปตามการปนเปื้อนของโรงงานอุตสาหกรรมหรือน้ำ |
ทิ้งจากบ้านเรือน |
|
สีของน้ำที่เกิดจากการสลายตัวของพืช ใบไม้ ใบหญ้า ในธรรมชาติ ไม่มีอันตราย |
ต่อการอุปโภคแต่ทำให้รู้สึกไม่ต้องการใช้น้ำดังกล่าว เพราะดูเป็นน้ำสกปรกจึงต้อง |
กำจัดสีของน้ำออกไปด้วยวิธีต่าง ๆ |
|
1.3 กลิ่น น้ำที่มีกลิ่นมักเป็นน้ำซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของอินทรีย์สารในน้ำที่ขาด |
ออกซิเจนทำให้เกิดแก๊สไข่เน่า (H2S) หรือมีการปนเปื้อนของน้ำทิ้งจากโรงงาน |
อุตสาหกรรมรวมทั้งการใช้สารเคมีต่าง ๆ ในน้ำ เช่น คลอรีน กลิ่นของน้ำมีส่วนทำให้ |
น้ำไม่น่าดื่มน่าใช้ และอาจทำให้เกิดความรำคาญเมื่อสูดดมด้วย |
|
1.4 รสชาติ รสของน้ำเกิดจากการละลายของเกลืออนินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เช่น เกลือ |
ทองแดง เกลือเหล็ก เกลือโซเดียม เป็นต้น รสชาติของน้ำสามารถสัมผัสด้ด้วยปุ่มโรส |
ของลิ้นที่จำแนกได้ 4 รส คือ เปรี้ยว หวาน ขม และเค็ม |
|
รสของน้ำอาจมีสาเหตุจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ |
|
1. น้ำมีเกลือละลายเป็นจำนวนมาก |
|
2. น้ำมีสารที่เป็นกรดหรือด่างป่นอยู่ |
|
3. น้ำมีสารประกอบของเหล็กอยู่ด้วย |
|
4. น้ำมีสารเคมีที่ใช้เพื่อการบำบัดมากเกินไป |
|
น้ำที่มีรสจะส่งผลต่อความรู้สึกไม่ดีในการอุปโภค บริโภค เช่นเดียวกับกลิ่นของน้ำ |
|
1.5 อุณหภูมิ โดยธรรมชาติน้ำจะมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามสภาพดิน ฟ้า |
อากาศ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่เกิดจากการปนเปื้อนของโรงงานต่าง ๆ |
ทำให้มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่าปกติ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ |
์ซึ่งอาจก่อปัญหาหรือทำลายระบบนิเวศในธรรมชาติลงได้ |
2. |
คุณภาพของน้ำทางเคมี หมายถึงลักษณะของสิ่งที่มีการละลายแร่ธาตุต่าง ๆ |
ปนอยู่และทำให้คุณภาพของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนไม่ปลอดภัยในการดื่มกินเนื่องจาก |
สารบางชนิดอาจเป็นพิษต่อมนุษย์ได้ คุณสมบัติทางเคมีของน้ำที่สำคัญ ประกอบด้วย |
|
2.1 ความกระด้างของน้ำ หมายถึงน้ำที่มีความกระด้างและเมื่อทำปฏิกิริยากับสบู่จะ |
ทำให้เกิดฟองได้ยาก ก่อให้เกิดตะกรันอุดตันในหม้อต้มน้ำ ท่อน้ำหรือภาชนะอื่น ๆ |
ที่ใช้ต้มน้ำในอุณหภูมิสูง ๆ น้ำกระด้างทำให้เกิดปัญหาของการใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน |
ของมนุษย์ เช่น ทำให้สิ้นเปลืองสบู่ในการซักฟอก เกิดคราบสกปรกเกาะติดตามภาชนะ |
หรือทำให้รสชาติของน้ำ เปลี่ยนไป ความกระด้างของน้ำเกิดจากการที่มีเกลือ |
ไบคาร์บอเนตซัลเฟต คลอไรด์ และไนเตรด ของธาตุแคลเซียมและแมกนีเซี่ยม |
ละลายอยู่ในน้ำ น้ำจะมีความกระด้างมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับปริมาณและประเภท |
ของเกลือดังกล่าว โดยทั่วไปน้ำในธรรมชาติมีความกระด้างที่เกิดจากการ |
ละลายของเกลือประเภทไบคาร์บอเนตและซัลเฟต ความกระด้างของน้ำสามารถ |
แบ่งออกได้ 2 ลักษณะคือ |
|
2.1.1 ความกระด้างชั่วคราว เป็นความกระด้างของน้ำที่เกิดจากเกลือคาร์บอเนต |
และไบคาร์บอเนตของธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่ ซึ่งสามารถแก้ไข |
ความกระด้างดังกล่าวได้ด้วยการต้มน้ำ เพื่อให้แคลเซียมคาร์บอเนตตกตะกอน |
ทำให้น้ำหายกระด้าง |
|
2.1.2 ความกระด้างถาวร เป็นความกระด้างของน้ำที่เกิดจากเกลือซัลเฟตและคลอ |
ไรต์ของธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งต้องแก้ไขด้วยวิธีการทางเคมี เช่น การใช้ |
ปูนขาวกับโซดาซักผ้า ทำให้เกิดการตกตะกอน หรือใช้การแลกเปลี่ยนไอออนของธาตุ |
ที่เป็นสาเหตุของความกระด้าง |
|
น้ำกระด้างส่งผลกระทบต่อสุขภาพเพราะเป็นสาเหตุของการเป็นนิ่วได้ |
|
เกณฑ์การพิจารณาลักษณะความกระด้างของน้ำที่เหมาะสมกับการดื่ม |
|
|
|
|
2.2 ค่าความเป็นกรด – ด่างของน้ำ หรือค่าพีเอช (pH) เป็นค่าที่บอกลักษณะ |
ความเป็นกลาง เป็นกรด เป็นด่างของน้ำ น้ำที่มีลักษณะเป็นกรดจะมีค่า pH ระหว่าง |
1 – 6 ซึ่งสามารถละลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์วัตถุได้ ส่วนน้ำที่มีลักษณะเป็นด่าง |
มักมีเกลือของโซเดียมคาร์บอเนตละลายปนอยู่ จะมีค่า pH ระหว่าง 8.5 – 14 |
สามารถทำให้เหล็กเป็นสนิมและหม้อน้ำผุกร่อน น้ำที่ใช้ดื่มได้ดีที่สุดคือน้ำที่มีความ |
เป็นกลางโดยมีค่า pH ระหว่าง 5 – 8 ซึ่งน้ำในธรรมชาติปกติมีค่า pH ตั้งแต่ |
5.5 – 9.0 ค่าความเป็นกรด เป็นด่างของน้ำทำให้รสชาติของน้ำไม่น่าบริโภค |
|
2.2.1 ความเป็นกรดของน้ำ หมายถึง ปริมาณความจุที่ต้องใช้ด่างเข้มข้นในการทำ |
ให้น้ำเป็นกลางซึ่งบ่งชี้ได้โดยค่า pH ความเป็นกรดของน้ำมีสาเหตุการเกิดจากปัจจัย |
ต่าง ๆ เช่น |
|
1) เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในอากาศละลายลงไปในน้ำ |
|
2) เกิดจากการหายใจของสิ่งมีชีวิตในน้ำ |
|
3) เกิดจากการสลายตัวของสารอินทรีย์วัตถุ |
|
4) เกิดจากกรดของแร่บางประเภทในธรรมชาติ เช่น กรดกำมะถัน กรดไน |
ตริก กรดคาร์บอนิค เป็นต้น |
|
น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 8.5 จะมีค่าความเป็นกรด ถ้าเป็นน้ำที่มีความเป็นกรดใน |
ธรรมชาติสามารถนำมาบริโภคได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้าเป็นกรดที่เกิด |
จากแร่ธาตุตกค้างของโรงงานอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ไม่ควรนำ |
มาบริโภคเพราะมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสูง อาจกัดทำลายกระเพาะอาหารหรือทางเดิน |
อาหารได้ |
|
2.2.2 ความเป็นด่างของน้ำ หมายถึง ปริมาณความจุที่ต้องใช้กรดเข้มข้นใน |
การทำให้น้ำเป็นกลางซึ่งบ่งชี้ได้โดยค่า pH ความเป็นด่างของน้ำมีสาเหตุมาจากการ |
ละลายของเกลือคาร์บอเนต ไบคาร์บอเนต และไฮดรอกไซด์ของธาตุต่าง ๆ น้ำที่มีความ |
เป็นด่างสูง จะทำให้รสชาติของน้ำไม่น่าบริโภค เพราะมีรสกร่อยหรือฝาดมาก อาจทำ |
ให้ผิวหนังระคายเคือง หรือถ้านำไปรดต้นไม้บางชนิด เช่น กล้วยไม้จะทำให้ตายได้ |
|
2.3 ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่จะช่วยให้น้ำมี |
รสชาติดีขึ้น ถ้าน้ำไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย จะทำให้มีรสปร่า ปริมาณของออกซิเจน |
ในน้ำจะช่วยกำจัด มลพิษต่าง ๆ ที่อยู่ในน้ำเพราะมีการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น |
(Oxidation) ทำให้ช่วยลดอินทรีย์สาร และแบคทีเรียในน้ำได้ น้ำสกปรกที่มีแบคทีเรีย |
จำนวนมากจะทำให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลงพราะแบคทีเรียจะใช้ออกซิเจน |
ในการดำรงชีวิต ปริมาณของออกซิเจนเป็นเครื่องวัดสภาวะของน้ำผิวดินได้เป็นอย่างดี |
|
2.4เหล็กและแมงกานิส เป็นธาตุที่มีในน้ำธรรมชาติ แหล่งที่อยู่ในน้ำจะมี 2 |
แบบคือเป็นเฟอรัสที่มีวาเลนซี 2 จะละลายน้ำได้ดี ถ้าเหล็กอยู่ในรูปของเฟอริคที่มี |
วาเลนซี 3 จะไม่ละลายน้ำ โดยทั่วไปเหล็กที่อยู่ในน้ำจะอยู่ทั้งสองรูปคือเป็นทั้งเฟอริค |
และเฟอรัสไอออนเฟอรัสเมื่อพบกับออกซิเจนในอากาศจะทำปฏิกิริยากลายเป็นเฟอริค |
ซึ่งเรียกว่าถูกออกซิไดซ์และตกตะกอนติดเป็นครอบตามภาชนะต่าง ๆ น้ำที่มีเหล็กและ |
แมงกานีสปะปนอยู่มากจะทำให้มีรสหวานปนขมไม่น่าดื่มการดื่มน้ำที่มีเหล็กมากเกิน |
ไปร่างกายจะนำเหล็กไปสะสมไว้ที่ตับและทำให้เกิดโรคตับได้ ถ้านำมาใช้ซักเสื้อผ้า |
จะทำให้เกิดคราบเหลือง เครื่องสุขภัณฑ์หรือเครื่องใช้เป็นครายสนิมเหล็กและมี |
การอุดตันในท่อน้ำ คราบของเหล็กที่ติดตามเสื้อ ภาชนะ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ จะมี |
สีเหลือง หรือเหลืองเข้มจนเป็นสีดำ ถ้าคราบน้ำที่มีธาตุเหล็กอย่างเดียวคราบ จะเป็น |
สีน้ำตาลแดง จนเป็นสีสนิมเหล็ก ส่วนคราบที่มีแมงกานิสมากจะเป็นสีดำ |
|
2.5 ฟลูออไรด์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ การดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์อยู่ระหว่าง |
1 มิลลิกรัมต่อลิตรจะทำให้อีนาเมลซึ่งเป็นส่วนที่หุ้มฟันชั้นนอกสุดมีความแข็งและช่วย |
ป้องกันฟันผุได้ดี แต่ถ้าน้ำที่ดื่มมีฟลูออไรด์ ปริมาณมาก ๆ ะทำให้ฟันเกิดคราบดำ และ |
ถ้าร่างกายได้รับฟลูออไรด์น้อยเกินไปจะทำให้เป็นโรคฟันเปราะหรือหักง่าย |
|
2.6 คลอไรด์ เป็นสารละลายน้ำในธรรมชาติที่มีมากในน้ำผิวดินใกล้ปากน้ำ น้ำที่มี |
คลอไรด์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าน้ำจะไหล่ผ่านพื้นดิน หรือชั้นดินที่มีปริมาณคลอไรด์ |
อยู่มากน้อยเท่าใด น้ำในธรรมชาติรับคลอไรด์ได้หลายทางเช่น ละลายจากผิวดิน |
เป็นละอองที่พัดมาจากมหาสมุทร มากับน้ำทะเลที่ไหลปะปนกับน้ำจืดตอนน้ำขึ้นจาก |
ปัสสาวะหรือเหงื่อของมนุษย์และน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดที่มีคลอไรด์ |
อยู่มาก น้ำที่มีคลอไรด์ปะปนอยู่เกิน 700 มิลลิกรัมต่อลิตร จะกลายเป็นสีดำ คลอไรด์ |
ในน้ำจะทำให้มีรสกร่อยเค็มไม่น่าดื่ม ความสำคัญของคลอไรด์ในอดีต จะใช้เป็นตัวชี้ |
ความสกปรกของแหล่งน้ำว่ามีการปนเปื้อนเพียงใด |
|
2.7 ซัลเฟต เป็นธาตุที่เกิดในน้ำธรรมชาติ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความกระด้างถาวร |
หรือเกิดเป็นเกลือของธาตุอื่นๆ เช่น โซเดียม โพแทสเซียมเป็นต้น น้ำที่มีซัลเฟสมากๆ |
จะทำให้เกิดตะกรันแข็งที่หม้อต้มน้ำ และเกิดกลิ่นเหม็นจากการรวมตัวของแบคทีเรีย |
บางชนิด การดื่มน้ำที่มีซัลเฟตในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการคล้ายการกินยาถ่ายได้ |
|
2.8 ตะกั่ว เป็นธาตุที่เกิดจากการที่น้ำไหลในท่อเหล็กหรือมีส่วนผสมของเหล็ก |
รวมทั้งท่อไอเสียจากรถยนต์ การใช้สีตะกั่ว สีผสมตะกั่ว ยาฆ่าแมลงในการเกษตร |
เครื่องสำอาง เป็นต้น น้ำที่มีตะกั่วผสมอยู่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเพราะเกิด |
การสะสมจนกลายเป็นโรคพิษของตะกั่วซึ่งทำลายสมองและระบบประสาท |
|
2.9 ทองแดง เป็นธาตุที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท การกัดกร่อน |
ท่อน้ำหรือภาชนะที่ทำด้วยทองแดง ทองเหลือง รวมทั้งการใช้สารจุนสีในการทำลาย |
สาหร่ายในน้ำ ทองแดงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตเพราะมนุษย์ต้องการบริโภคทองแดงจาก |
อาหารเฉลี่ยวันละประมาณ 2 มิลลิกรัม เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง แต่ถ้าทองแดงมี |
ปริมาณมาก ๆ จะทำให้น้ำมีรสขม และเกิดรอยด่างติดตามภาชนะกระเบื้องเคลือบ |
|
2.10 สังกะสี น้ำผิวดินธรรมชาติมักมีสังกะสีละลายอยู่ ซึ่งเกิดจากการกัดกร่อน |
ท่อน้ำหรือภาชนะที่ทำด้วยทองแดง เหล็กอาบสังกะสี ยางรถยนต์ เป็นต้น สังกะสีเป็น |
ธาตุที่ร่างกายต้องการเพราะช่วยป้องกันโรคแคระแกรนและความบกพร่องในการ |
เจริญเติบโตของร่างกาย แต่ถ้าน้ำมีปริมาณสังกะสีตั้งแต่ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตรจะทำ |
ให้ผิวน้ำเป็นคราบน้ำมัน และถ้ามีปริมาณสังกะสี 5 มิลลิกรัมต่อลิตรจะทำให้น้ำมีรสขม |
ถ้ามีสังกะสีปริมาณ 25 – 40 มิลลิกรัมต่อลิตร จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน |
|
2.11 ไนไตรต์ เป็นธาตุที่เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีของจุลินทรีย์ที่มีการออกซิเดชั่น |
ของแอมโมเนียก่อนจะกลายเป็นไนเตรต น้ำที่มีไนไตรต์ละลายอยู่เป็นสิ่งแสดงว่ามีการ |
ปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกที่มีอินทรีย์สารประกอบ การดื่มน้ำที่มีปริมาณไนไตรต์เกินกว่า |
1 มิลลิกรัมต่อลิตร จะทำให้เด็กทารกมีภาวะผิวหนังเป็นสีเขียวหรือน้ำเงิน เนื่องจาก |
ขาดเลือดและออกซิเจน ซึ่งอาจถึงตายได้ โดยเฉพาะทารกที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน |
|
2.12 ไนเตรต เป็นธาตุที่เกิดจากพืชหรือสัตว์น้ำ ที่มีสารอินทรีย์ไนโตรเจนเป็น |
องค์ประกอบ หรืออาจเกิดจากการปนเปื้อนของสิ่งสกปรก น้ำที่มีไนเตรตละลายอยู่มาก |
จะเป็นตัวชี้ความสกปรกของน้ำ และทำให้เกิดโรคในเด็กทารกช่นเดียวกับไนไตรต์ |
เแต่จะช่วยให้สาหร่ายหรือพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ดี |
|
2.13 สารหนู เป็นธาตุที่ได้จากการที่น้ำไหลผ่านชั้นดินหรือพื้นที่มีสารหนูรวมทั้ง |
การตกค้างจากการใช้ยาฆ่าศัตรูพืช สัตว์ ปุ๋ย ผงซักฟอก ที่มีสารหนูประกอบอาหาร |
ทะเลบางชนิด และจากโรงงานอุตสาหกรรม สารหนูเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง |
จึงไม่ควรดื่มน้ำที่มีสารหนูละลายอยู่ในปริมาณที่มากกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร |
3. |
คุณภาพของน้ำทางชีวภาพ หมายถึง ลักษณะของน้ำที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในน้ำ |
เช่น จุลินทรีย์ แพลงตอน พืชน้ำ และสัตว์น้ำ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะช่วยทำลายสิ่งสกปรก |
ในน้ำและนำมาใช้เป็นอาหารได้ ส่วนน้ำที่นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคอาจมีจุลินทรีย์ |
ปนเปื้อนอยู่ จุลินทรีย์บางชนิด เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตรชัว และหนอนพยาธิ ทำให้ |
เกิดโรคต่อมนุษย์ กล่าวคือ |
|
|
3.1 ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้อง |
จุลทรรศน์อิเล็คตรอนที่มีกำลังขยายพิเศษในการช่วยดู ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคแก่มนุษย |
์ เช่น โรคตับอักเสบชนิด เอ หรือทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในเด็ก |
|
3.2 แบคทีเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไวรัส สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ |
ธรรมดาขนาดกำลังขยาย 100 เท่าก็มองเห็นได้ เป็นสัตว์เซลล์เดียว พบได้ในพื้นที่ |
บางแห่งโดยเฉพาะที่ชื้น แบคทีเรียมีรูปร่าง 3 แบบ คือ รูปร่างกลมรูปร่างเป็นแท่ง และ |
รูปร่างเป็นเกลียว แบคทีเรียทำให้เกิดโรคที่มีน้ำเป็นตัวนำ เช่น อหิวาตกโรค |
ไข้โรคสาด โรคบิด เป็นต้น |
|
1113.3 โปรโตชัว เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถ |
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ดู เป็นสัตว์เซลล์เดียว อาศัยในน้ำที่มี |
ออกซิเจน โปรโตชัวบางชนิด ทำให้เกิดโรคเช่นโรคบิดชนิดอมีบา หรือโรคจิอาร์เดีย |
ที่ทำให้ท้องร่วง ปวดท้อง เกร็งท้อง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้ |
เป็นต้น |
|
3.4 หนอนพยาธิ เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ มีลักษณะ |
ใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช รูปร่างคล้ายหนอน จัดเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปรสิต |
เพราะต้องอาศัยอยู่บนหรือในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หนอนพยาธิมี 3 ประเภท คือ |
พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบบ และพยาธิใบไม้ ซึ่งทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น |
|
3.4.1 โรคพยาธิไส้เดือนกลม ทำให้เกิดอาการปวดท้อง น้ำหนักลดอ่อนเพลีย ถ้า |
พยาธิไปอุดตันอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ท่อน้ำดีจะทำให้มีอาการแทรกซ้อนของ |
โรคดีซ่าน |
|
3.4.2 โรคพยาธิเข็มหมุด เกิดจากพยาธิตัวกลม ที่ทำให้มีอาการซูบซีด |
ร่างกายผอมอ่อนเพลีย |
|
3.4.3 โรคพยาธิใบไม้ปอด เกิดจากพยาธิใบไม้หรือตัวแก่ของพยาธิอาศัยอยู่ใน |
ปอดของคนทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเลือดปนเสมหะ เจ็บปวดหน้าอก |
|
คุณภาพทางกายภาพ เช่น ความขุ่น สี กลิ่น รสชาติ มีผลทำให้บริโภคได้น้อย |
เพราะไม่น่าดื่มกิน |
|
คุณภาพทางเคมี เช่น ความเป็นกรด ด่าง ความกระด้าง และมีธาตุต่างๆ เจือปน |
จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคฟันเปราะ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มะเร็ง |
และเกิดการอุดตันของท่อน้ำ รวมทั้งเกิดความสกปรกติดภาชนะเครื่องใช้และเสื้อผ้า |
|
คุณภาพทางชีวภาพ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โปรโตชัว หนอนพยาธิ ทำให้เกิดโรค |
เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร อหิวาตกโรค โรคตับอักเสบ บิด ไข้รากสาด และ |
โรคทางพยาธ |
|
ดังนั้นการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง |
ปราศจากโรคต่าง ๆ |
|
|
|
|
|
|