การผลิตน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภค |
|
น้ำดื่มน้ำใช้ที่มีคุณภาพดีย่อมไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ดื่มและใช้ การผลิต |
น้ำสะอาดจึงเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่สุขภาพของมนุษย์ ซึ่งต้องปราศจาก |
สารต่าง ๆที่ทำให้เกิดโรค แต่การใช้น้ำที่บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งสกปรก เป็นสิ่งที่กระทำ |
ได้ยากมาก หรืออาจเสีย ค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงต้องอาศัยเกณฑ์หรือมาตรฐานในการ |
กำหนดคุณภาพของน้ำว่าอยู่ในระดับใดที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ ด้วยการจัดการ |
คุณภาพน้ำสะอาดโดยมี 2 วิธีการคือ |
1. |
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำ มาตรฐานคุณภาพน้ำที่มีการกำหนดขึ้นต้อง |
คำนึงถึงมาตรฐานแหล่งน้ำดิบ มาตรฐานน้ำทิ้ง และมาตรฐานน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค |
ซึ่งมาตรฐานทั้ง 3 ประเภทมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพราะถ้าน้ำในแหล่งน้ำดิบ |
ดิบสกปรกมากย่อมทำให้การปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สะอาดตามมาตรฐานทำได้ยาก |
เกณฑ์มาตรฐานน้ำประเภทต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังนี้ |
|
|
1.1 มาตรฐานแหล่งน้ำดิบ คือ เกณฑ์ที่ใช้ในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำ |
ไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือน่ารังเกียจ เช่น ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ไม่มีสิ่งสกปรก |
ต่าง ๆ ลอยที่ผิวน้ำ ไม่มีน้ำมันหรือไขมันลอยหรือมีการสะสมตะกอน เป็นต้น การรักษา |
มาตรฐานของแหล่งน้ำ จึงเป็นวิธีอนุรักษ์น้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น |
การอุปโภคบริโภค การประมง การอุตสาหกรรม หรือการเกษตรกรรม เป็นต้น |
|
ประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำตามประกาศของสำนักงานคระกรรม |
การสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ |
สิ่งแวดล้อมซึ่งประมวลสรุปได้ ดังนี้ |
|
1.1.1 มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินที่ไม่ใช่ทะเล |
ตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และพลังงาน พ.ศ. 2528 ได้แบ่ง |
แหล่งน้ำผิวดินที่ ไม่ใช่ทะเลออกเป็น 5 ประเภท คือ |
|
ประเภทที่ 1 ได้แก่ แหล่งน้ำที่มีสภาพตามธรรมชาติปราศจากน้ำทิ้งจาก |
กิจกรรมทุกประเภท และสามารถใช้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้อุปโภคบริโภคที่ผ่าน |
การฆ่าเชื้อโรค ตามปกติสิ่งมีชีวิตสามารถขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ในระบบนิเวศ |
ที่เป็นปกติ |
|
ประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภทแต่ |
สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ผ่านการฆ่าเชื้อตามปกติและผ่าน |
กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปสามารถใช้ว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำการประมง |
หรือใช้ในการอนุรักษ์สัตว์น้ำได้ |
|
ประเภทที่ 3 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และ |
สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่าน |
กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไป สามารถใช้กับการเกษตรได้ |
|
สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ |
และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษ สามารถใช้กับภาคอุตสาหกรรมได้ |
|
ประเภทที่ 5 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และ |
สามารถใช้ประโยชน์ในการคมนาคมได้ |
|
แหล่งน้ำดังกล่าวมีการนำไปใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไปตามคุณภาพ |
ของน้ำในแต่ละประเภท |
|
1.1.1 การกำหนดประเภทแหล่งน้ำในแม่น้ำที่สำคัญ ๆ สำนักงานคณะกรรมการ |
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา |
ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ประเภทที่ 2 3 และ 4 |
ตามประกาศในปี พ.ศ. 2529 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ |
|
เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา |
|
|
|
|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (พ.ศ. 2529) เรื่องกำหนด |
ประเภทของแหล่งน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา |
|
ส่วนประเภทแหล่งน้ำในแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันตก |
และภาคกลางบางส่วน ได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำได้ 3 ประเภท |
มาตรฐานคุณภาพน้ำแม่น้ำท่าจีน |
|
|
|
และสำหรับแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำนครนายกมีการกำหนดประเภทของแหล่ง |
น้ำไว้เป็นประเภทที่ 3 ส่วนแม่น้ำปราจีนบุรีได้กำหนดเป็นแหล่งน้ำไว้เป็นประเภทที่ 2 |
มาตรฐานคุณภาพแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำปราจีนบุร |
|
|
|
1.1.3 การอนุรักษ์น้ำดื่มเพื่อการประปานครหลวง ได้กำหนดมาตรการป้องกัน |
อนุรักษ์เขตพื้นที่รับน้ำเพื่ออนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา ซึ่งไม่อนุญาตให้ตั้งหรือ |
ขยายโรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำทิ้งประกอบด้วยสารพิษประเภทโลหะหนักเช่น สังกะสี |
โครเมียม ทองแดง แมงกานีส ตะกั่ว แบเรียม เหล็ก วัตถุมีพิษที่ใช้ในการเกษตร |
สารเคมีอื่น ๆ รวมทั้งไม่อนุญาตให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำทิ้งปริมาณเกินกว่า |
วันละ 50 ลูกบาศก์เมตร ตั้งใกล้แหล่งน้ำดิบด้วยเช่นกัน |
|
1.1.4 การกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี |
และสิ่งแวดล้อมได้ประกาศเรื่องกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพ |
น้ำทะเลออกเป็น 7 ประเภท |
ประเภทของแหล่งน้ำทะเลชายฝั่ง |
|
|
|
|
|
|
วิธีตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล |
|
|
วิธีตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล (ต่อ) |
|
|
|
|
|
|