|
1.2 มาตรฐานน้ำทิ้ง เป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมที่พัก |
อาศัยหรือหน่วยงานอื่น ๆ ปล่อยน้ำเสียหรือน้ำทิ้งที่มีความสกปรกมากจนทำให้น้ำ |
มีคุณภาพต่ำมาก มาตรฐานน้ำทิ้งจึงมีความสำคัญในการจัดการน้ำสะอาด และช่วย |
ควบคุมคุณภาพน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นดินหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ |
และสามารถนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ได้อีกด้วย ประเทศไทยได้กำหนด |
มาตรฐานน้ำทิ้งออกเป็น 4 ประเภท คือ |
|
1. มาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม |
|
2. มาตรฐานน้ำทิ้งลงบ่อน้ำบาดาล |
|
3. มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งจากอาคาร |
|
4. มาตรฐานการควบคุมการปล่อยน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่าง ๆ ลงสู่ลำน้ำ |
|
1.3 มาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นเกณฑ์ที่กำหนดคุณภาพขั้นต่ำของ |
น้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคให้ปลอดภัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวง |
สาธารณสุขได้กำหนดคุณสมบัติของน้ำดื่มไว้ |
|
เกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
|
|
|
ขณะที่การประปานครหลวงซึ่งมีหน้าที่ผลิตน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคให้แก่ชุมชนได้ |
กำหนดเกณฑ์ของน้ำดื่มไว้ 2 ประการ คือ |
1. |
สารที่เกี่ยวกับคุณภาพของน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้ามีมากเกินที่ |
กำหนดอาจทำให้น้ำไม่น่าดื่ม |
ระดับของสารปนเปื้อนในน้ำที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อกำหนดของการ |
ประปานครหลวง |
|
|
2. |
สารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ถ้ามีมากเกินกำหนดอาจทำให้เกิดโรคได้ |
ระดับของสารปนเปื้อนในน้ำที่ไม่ทำให้เกิดโรคตามเกณฑ์ของการประปานครหลวง |
|
|
|
และสำหรับเกณฑ์มาตรฐานของน้ำบริโภคบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท ตาม |
ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) และตามประกาศของ |
กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) เพื่อจำหน่ายได้กำหนดมาตรฐานไว้ |
|
|
จากข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มดังกล่าว พบว่า น้ำไม่ควรมีการปนเปื้อนหรือ |
มีการปนเปื้อนน้อยที่สุดโดยพิจารณาคุณภาพด้าน เคมี กายภาพ และชีวภาพ |
2. |
การปรับปรุงคุณภาพน้ำ จากคุณลักษณะของน้ำในการละลายหรือมีสาร |
ปนเปื้อนเมื่อไหลผ่านที่ต่าง ๆ ทำให้น้ำเกิดความสกปรก ที่อาจมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ |
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพราะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการ |
ปรับปรุงน้ำดิบเพื่อให้น้ำสะอาดและปลอดภัยต่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งทำได้หลายวิธี |
การ เช่น |
|
2.1 การต้ม เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นน้ำดื่มของครอบครัว โดยนำน้ำที่ |
ตกตะกอนมาต้มให้เดือด 15 – 20 นาที จะช่วยฆ่าเชื้อโรคและไข่หนอนพยาธิได้ |
|
2.2 การกรอง เป็นวิธีทำน้ำให้สะอาด สามารถลดจำนวนเชื้อโรคได้ร้อยละ |
95 – 99 เพราะการกรองคือการทำให้น้ำไหลผ่านวัสดุที่ใช้กรองเป็นชั้น ๆ |
เครื่องกรองน้ำแบบง่าย ๆ โดยใช้โอ่ง และใส่วัสดุ ดังนี้ |
|
|
|
2.3 การกลั่น เป็นวิธีการทำน้ำที่จะได้น้ำสะอาดที่สุด เพราะเริ่มจากการทำให้น้ำ |
กลายเป็นไอ แล้วไปกระทบความเย็น ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จัดเป็นวิธีการ |
ที่สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายมาก จึงนิยมใช้กับกิจการที่ต้องการน้ำสะอาดบริสุทธิ์ |
เช่น การแพทย์หรือเภสัชกรรม |
|
2.4 การกวนด้วยสารส้ม เป็นวิธีการทำน้ำให้สะอาดอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เกิดการ |
ตกตะกอนในน้ำ การกวนด้วยสารส้มในตุ่มหรือโอ่งน้ำ ครั้งแรกให้กวนเร็ว ๆ เพื่อให้ |
สารส้ม กระจายไปทั่วประมาณ 1นาที จึงกวนซ้ำ ๆ อีก 20 – 30 นาที จะได้น้ำใส |
เพราะตะกอนจะรวมตัวนอนก้นภาชนะ |
|
2.5 การใช้ยาทำลายเชื้อโรค เพื่อทำให้น้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรค ยาฆ่าเชื้อโรค |
ที่ใช้สำหรับทำน้ำให้สะอาด ประกอบด้วย |
|
1) ด่างทับทิม ใช้ละลายในน้ำเพื่อทำลายเชื้อโรคบางชนิด |
|
2) ทิงเจอร์ไอโอดีน ชนิดใส่แผลสด ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ 2 หยดต่อน้ำ 1 ลิตร |
ทิ้งไว้ 30 นาทีจึงนำไปบริโภคได้ |
|
3) คลอรีน เป็นวิธีการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถทำลายเชื้อ |
โรคได้ทุกชนิดและนิยมใช้กันมาก การใส่คลอรีนในน้ำมีอัตราส่วนใช้คลอรีนผง |
ช้อนชาต่อน้ำ 1 ตุ่ม (10 ปี๊บ) โดยการละลายผงคลอรีนในน้ำ 1 ถ้วนก่อนแล้วคนให้ |
คลอรีนละลาย เทส่วนที่ใสลงตุ่มน้ำให้ผสมกันดี ทิ้งไว้ 20 นาทจึงตักน้ำไปใช้ได้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|