องค์ประกอบของระบบนิเวศ

  โครงสร้างและหน้าที่ของแต่ละระบบนิเวศมีความสัมพันธ์และต้องพึ่งพาอาศัยกัน
ระหว่างพืช  สัตว์  วัตถุธาตุ  และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ในระบบนิเวศแต่ละ
ระบบจึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1.
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic  Components) จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
ของระบบนิเวศ ซึ่งประกอบด้วย
  1.1 อนินทรีย์สาร  ได้แก่ คาร์บอนไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์  ออกซิเจน  
ดิน หิน และแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น
  1.2 อินทรีย์สาร ได้แก่ โปรตีน  คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน ซากพืช  ซากสัตว์ เป็นต้น
  1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ แสงสว่าง ความร้อน  ความชื้น  ความเป็น
กรดเป็นด่าง อุณหภูมิ เป็นต้น
2.
องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic  Components)  จึงแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยตาม
ลักษณะของการถ่ายทอดพลังงานได้ ดังนี้
  2.1 ผู้ผลิต (Producers) หมายถึง  สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์อาหาร
(Organic) กอนินทรีย์สารได้เอง (Autotrophic  organisms) ส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิต
ที่มีคลอโรฟิลด์ หรือพืชสี เขียว ซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานจากดวงอาทิตย์ น้ำ อากาศ
และแร่ธาตุในดินโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) ให้อยู่ในรูปที่
มนุษย์และสัตว์เอาไปกินได้ พืชสีเขียวจึงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของทุกระบบนิเวศ
และจัดเป็นผู้ผลิตที่มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นจุดเริ่มต้นและเชื่อมต่อระหว่างสิ่งมีชีวิต
และไม่มีชีวิตในระบบนิเวศอื่น ๆ
  2.2 ผู้บริโภค (Consumers) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสังเคราะห์อาหาร
จากอนินทรีย์สารได้ ต้องอาศัยอาหารจากผู้ผลิตหรือผู้บริโภคด้วยกันมี 3 ชนิดคือ
    2.2.1 สัตว์กินพืชอย่างเดียว (Herbivores) จัดเป็นผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิ
(Tertiary Consumer)  เพราะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่
ปลาขนาดใหญ่ จระเข้  นก งู  และมนุษย์ เป็นต้น
  ในระบบนิเวศทั่วไป ผู้บริโภคอาจกินต่อหลาย ๆ ทอด ผู้บริโภคที่อยู่อันดับสุดท้าย
ของลูกโซ่อาหารเรียกว่า ผู้บริโภคสัตว์ขั้นสุดยอด (Top  Carnivores)
  2.3 ผู้ย่อยสลาย (Decomposers)  หมายถึง  สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถ์
สังเคราะห์ อาหารได้เอง และต้องกินซากอินทรียวัตถุ  และสิ่งขับถ่ายทั้งของผู้ผลิตและ
ผู้บริโภคเป็นอาหารและย่อยสลายให้กลายเป็นสารอาหารคืนกลับสู่ระบบนิเวศ เพื่อให้
ผู้ผลิตได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปซึ่งได้แก่ เห็ด รา  แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ กลุ่มผู้ย่อย
สลายมีความสำคัญในระบบนิเวศ เพราะเป็นส่วนช่วยย่อยสลายซากอินทรีย์ต่าง ๆ
ให้หมดไปและเป็นแหล่งสารอาหารให้กับผู้ผลิต ในการสังเคราะห์อาหารให้กับ
ผู้บริโภคใหม่
  ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะต้องมีองค์ประกอบทั้งผู้ผลิตและผู้ย่อยสลายที่สมดุลกัน
ซึ่งจะเป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์  ถ้าผู้ผลิตถูกทำลายไปจนมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการของผู้บริโภค หรือผู้ย่อยสลายมีจำนวนมากกว่าผู้ผลิตย่อมก่อให้เกิดภาวะไม่
สมดุลของระบบนิเวศและทำให้เกิดความเสียหายระหว่างความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อม
และมนุษย์ ซึ่งผลที่ตามมาคือการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
อนามัยของมนุษย์โดยตรง
       
       
       
       
       

 

2.1
  ความหมายของนิเวศวิทยา
2.2
  ขอบข่ายของนิเวศวิทยา
2.3
  คำศัพท์ในระบบนิเวศ
2.4
  องค์ประกอบของระบบนิเวศ
2.5
  ปัจจัยที่กำหนดลักษณะ
  ของระบบนิเวศ
2.6
  ความสัมพันธ์ของนิเวศวิทยา
    กับสุขภาพสิ่งแวดล้อม
2.7
  ประโยชน์ของการรักษาระบบนิเวศ
2.8
  การสูญเสียความสมดุลย์ระบบนิเวศ
2.9
  การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ