ความสัมพันธ์ของนิเวศวิทยากับสุขภาพสิ่งแวดล้อม |
|
การศึกษาด้านนิเวศวิทยาทำให้เราสามารถเข้าใจปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ |
สิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านของกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ และปรากฎการณ์ที่เป็นอันตรายต่อ |
ชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ เนื่องจากการดำรงชีวิต |
ของมนุษย์ต้องอาศัยวัตถุธาตุ และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างต่อ |
เนื่องกันเช่น |
|
มนุษย์ต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจ หรือกินอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน |
เลี้ยงชีวิตอย่างสม่ำเสมอ ถ้าสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศเสื่อมลงจนทำให้เกิดความไม่ |
่สมดุลในธรรมชาติ ย่อมทำให้ห่วงโซ่อาหารถูกทำลายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพและ |
ความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยตรง เช่น |
1. |
ก่อให้เกิดมลพิษทางสภาวะแวดล้อม จากการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และ |
รุนแรงทำให้ธรรมชาติไม่สามารถสร้างสมดุลได้ทัน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย |
ของมนุษย์ เพราะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคมะเร็ง โรคปอด โรคภูมิแพ้ |
เป็นต้น |
2. |
ทำให้อัตราการตายเพิ่มขึ้น จากการเจ็บป่วยของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก |
สภาพแวดล้อมที่เสื่อมลง และจากการได้รับสารพิษที่เกิดเพราะมีการนำยาปราบศัตรูพืช |
ยาปราบวัชพืช หรือสารเคมีอื่นมาใช้ และทำลายระบบนิเวศโดยตรง |
3. |
เพิ่มความรุนแรงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากการตัดไม้ทำลายป่าที่ลด |
ปริมาณอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง และรุนแรง เนื่องจากปรากฏการทาง |
ธรรมชาติถูกทำลายลงและส่งผลเสียหายของชุมชนต่าง ๆ ในบริเวณที่เกิดอุทกภัย |
รวมทั้งเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคติดต่อ เช่น โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง |
ไทฟอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากปริมาณต้นไม้ที่ลดลง |
รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีบางชนิดที่ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก |
4. |
ส่งผลต่อการผลิตอาหารลดลง เนื่องมาจากความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ ทำให้ |
การผลิตอาหารในธรรมชาติมีปริมาณลดลง เพราะห่วงโซ่อาหารถูกตัดตอนและสิ่งมี |
ชีวิตในบางช่วงของระบบนิเวศถูกทำลาย แม้ว่ามนุษย์จะคิดวิธีการต่าง ๆ ขึ้นทดแทน |
วัตถุธาตุที่ขาดหายไปในระบบนิเวศ เช่น การใช้สารเคมีทดแทนแร่ธาตุในธรรมชาติ |
หรือ การใช้ฮอร์โมนต่าง ๆ เป็นตัวเร่งในการเติบโตของพืชและสัตว์เพื่อเพิ่มปริมาณ |
การผลิตอาหาร แต่สารตกค้างจากวิธีการดังกล่าว ก่อให้เกิดโรคใหม่ ๆ ขึ้นอย่าง |
มากมายและเป็นปัญหาต่อการสาธารณสุขในปัจจุบัน เนื่องจากการเพิ่มของอัตรา |
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคต่าง ๆ ดังกล่าว |
5. |
ทำให้สถานที่พักผ่อนทางธรรมชาติลดลง จากการขาดความสมดุลในธรรมชาติ |
ทำให้กระทบต่อสภาพแวดล้อมในธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ |
เช่น การทำลายพืชที่ป่าไม้จนทำให้เกิดภัยแล้ง ไม่มีน้ำในน้ำตก หรือแม่น้ำลำคลอง |
เหือดแห้งในฤดูร้อน ซึ่งเป็นปัญหาภัยแล้งที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้ |
การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรทำให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ |
ได้รับผลกระทบโดยตรง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|