ปัจจัยที่กำหนดลักษณะของระบบนิเวศ |
|
การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศต่าง ๆ ต้องมีองค์ประกอบทั้งที่เป็นสิ่ง |
ไม่มีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งมีชีวิตประจำตัวกำหนดเช่น จำนวนกวาง |
ที่มีในป่าย่อมขึ้นอยู่กับหญ้าและน้ำในป่านั้น ถ้าจำนวนกวางเพิ่มขึ้นแต่หญ้าที่มีใน |
บริเวณป่าขึ้นไม่ทันกับความต้องการ กวางที่เกิดมาใหม่ไม่มีอาหารกินจะต้องล้มตาย |
หรือย้ายไปอยู่ป่าแห่งอื่น ๆ ตัวอย่างนี้เป็นการดำรงอยู่ในระบบนิเวศที่สมดุล สัตว์และ |
พืชในระบบนิเวศย่อมเลือกเกิดหรืออาศัยในที่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ซึ่งประกอบ |
ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดลักษณะของระบบนิเวศ ดังนี้ |
1. |
อุณหภูมิ ภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่เป็นเครื่องกำหนดว่ามีสัตว์หรือพืชชนิดใด |
ดำรงชีวิตอยู่ได้บ้าง เช่น ทะเลทรายที่มีอากาศร้อน จะมีอูฐและพืชตระกูลกระบองเพชร |
ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในช่วงเวลาต่าง ๆ ยังเป็นตัว |
กำหนดพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตด้วยเช่น ในฤดูร้อนกบจะจำศีลเพราะขาดแคลนอาหาร |
และต้องอาศัยในรูลึกเพราะเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณภายนอกโดยทั่วไป |
เพื่อเป็นการสงวนพลังงานของร่างกายไว้ |
2. |
ความชื้น ครอบคลุมทั้งความชื้นในดินและความชื้นที่เกิดจากปริมาณไอน้ำใน |
อากาศที่มีความสัมพันธ์กับพืชและสัตว์ เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งสองประเภทนี้จะมีการถ่าย |
เทไอน้ำให้กับอากาศเสมอ เช่น ในบริเวณที่อากาศมีความชื้นต่ำร่างกายจะหายใจไม่ |
สะดวก หรือในวันที่อากาศร้อนและแห้ง ร่างกายจะต้องการน้ำมากเพราะมีการถ่ายเท |
น้ำไปให้อากาศทำให้หิวน้ำมากและบ่อยครั้งสำหรับพื้นซึ่งมีการถ่ายเทน้ำกับอากาศ |
เสมอนั้นต้องอาศัยไอน้ำในอากาศโดยการหายใจเข้าทางใบ ดังนั้นในบริเวณที่ |
ระบบนิเวศมีความชื้นมากจึงมีพืชและสัตว์อยู่อย่างหนาแน่น |
3. |
แสงสว่าง ซึ่งรวมถึงแสงจากดวงอาทิตย์และแสงสว่างจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ เป็น |
ส่วนสำคัญต่อระบบนิเวศ เพราะทำให้เกิดการถ่ายเทวัตถุต่าง ๆ ในระบบนิเวศ กล่าวคือ |
เป็นการทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ถือกำเนิดและดำรงอยู่ได้ ตัวอย่างเช่นพืชที่ขึ้น |
ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ย่อมมีลักษณะแตกต่างจากพืชที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง ความสว่างและ |
ความมืดมีอิทธิพลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์และพืชเช่น นก และสัตว์ต่าง ๆ |
จะกลับเข้ารังหรือที่อยู่อาศัย เพราะสัตว์เหล่านี้ตอบสนองต่อความมืด หรือพืชส่วนใหญ่ |
จะสลัดใบทิ้งในฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงที่ได้รับแสงสว่างน้อยลง |
4. |
ดิน เป็นที่รวมของธาตุอาหารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ไนเตรท ฟอสฟอรัส เป็นต้น |
ดิน เป็นแหล่งผลิตปุ๋ยโดยธรรมชาติ เพราะเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ตายจะถูกย่อย |
สลายธาตุต่าง ๆกลายเป็นฮิวมัส เพื่อให้พืชได้ใช้ธาตุต่าง ๆได้ต่อไป ส่วนประกอบในดิน |
นอกจากจะมีธาตุอาหารต่าง ๆ ของพืชแล้วยังมีสัตว์ขนาดเล็ก ๆ น้ำ และอากาศด้วย |
ดินที่มีความสมบูรณ์หรือมีธาตุอาหารที่แตกต่างกันย่อมทำให้พืชและสัตว์ที่อาศัยดิน |
นั้น ๆ เพื่อดำรงชีวิตอยู่มีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและกระบวนการเจริญ |
เติบโต |
5. |
ไฟป่า เป็นสิ่งทีทำให้ชีวิตของพืชและสัตว์เปลี่ยนแปลงการเกิดไฟป่าในแต่ละครั้ง |
ส่งผลกระทบต่อการอพยพเคลื่อนย้ายของสัตว์ที่ต้องหนีไฟไปอยู่ถิ่นอื่น ปริมาณของ |
ต้นไม้ลดลงจากการถูกเผาตายซึ่งรวมถึงหญ้าที่ปกคลุมดิน แต่ในขณะเดียวกัน หลังการ |
เผาไหม้ของไฟป่าจะทำให้พืชบางชนิดสามารถแตกขึ้นมาใหม่และเจริญงอกงามได้ |
อย่างรวดเร็วเพราะไม่มีพืชอื่น ๆ มาบังแสงแดดหรือแย่งอาหาร |
6. |
มลพิษ (Pollution) เป็นปัจจัยสำคัญที่เปลี่ยนแปลงหรือกำหนดลักษณะของสิ่งทีมี |
ชีวิตและไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ เพราะมลพิษทำให้สภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศมีการ |
เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ เช่นทำให้การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตไม่ |
สมบูรณ์ ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่พืชและสัตว์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับผล |
กระทบหรือเกิดมลพิษในบริเวณนั้น ๆ หรืออาจทำให้ตายลงได้มลพิษส่วนใหญ่เป็น |
กิจกรรมที่เกิดจากคน |
7. |
การแย่งชิง (Competition) เป็นลักษณะของการแย่งชิงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิด |
เดียวกันหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน เนื่องจากปริมาณของทรัพยากร เช่น น้ำ |
อาหาร แสงสว่าง หรือพื้นที่อยู่อาศัยมีจำนวนจำกัด หรือไม่เพียงพอจะทำให้สิ่งมีชีวิต |
อื่น ๆ ดำรงอยู่ได้เป็นปกติ การแย่งชิงนี้ส่งผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตตายลงเพราะไม่ |
สามารถแสวงหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ เช่น ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ถูกตัด |
โค่นทำลายทำให้ป่าชนิดเดิมเกิดขึ้นทดแทนตามธรรมชาติได้ยากเพราะพืชที่อยู่ใน |
บริเวณนั้นได้รับแสงแดดและสารอาหารเพิ่มขึ้นแทนต้นไม้ใหญ่ที่ตายลง ทำให้สภาพ |
ของพืชที่เติบใหญ่เปลี่ยนแปลงสภาพป่าไปด้วย |
8. |
การกินซึ่งกันและกัน (Predation) เกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิต |
อื่น ๆ เป็นอาหาร เช่น ตั๊กแตนกินหญ้า นกจะกินตั๊กแตนอีกทอดหนึ่ง โดยธรรมชาติ |
นั้นสัตว์จะระมัดระวังไม่ให้ถูกสัตว์อื่นจับมากินเป็นอาหาร เช่น แมลงจะบินหนีจิ้งจกที่ |
คอยจับกิน พืชปล่อยสารพิษหรือผลิตหนามมาป้องกันสัตว์อื่น ๆ ที่จะมากินเป็นอาหาร |
เป็นต้น ถ้าในระบบนิเวศขาดความสมดุลในเรื่องการกินซึ่งกันและกันจะทำให้เกิด |
ปัญหาต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น ในทุ่งนาข้าวมีตั๊กแตนมากินแทะทำลายรวงข้าวเพราะไม่มี |
สัตว์อื่น ๆ มาจับตั๊กแตนกินเป็นอาหารทำให้ตั๊กแตนแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว |
9. |
ปรสิต (Parasite) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินกันและกันได้ แต่ปรสิตที่ดูดกินพืชและสัตว์ |
อื่น ๆเป็นอาหารโดยพืชและสัตว์ที่ถูกเกาะอาศัยสามารถดำรงชีวิตได้ เช่น เห็บหรือหมัด |
ที่อาศัยตามลำตัวของสุนัขก็อาศัยการดูดเลือดสุนัขเป็นอาหาร ต้นกาฝากที่เกาะอยู่กับ |
ต้นไม้ใหญ่และดูดสารอาหารจากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในอาหาร เป็นต้น |
10. |
ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตและส่งผลต่อ |
การเปลี่ยนแปลงระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาโดยกระบวนการทางเคมี |
ของออกซิเจนมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะต้องใช้ในการหายใจส่วน |
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและจำกัดการแพร่ |
กระจายของสัตว์ได้ |
11. |
ธาตุอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นของการดำรงชีวิตได้แก่ แร่ธาตุที่ใช้ในการสังเคราะห์ |
แสงเช่น แมงกานีส เหล็ก คลอรีน สังกะสี และแร่ธาตุต่าง ๆ |
12. |
กระแสน้ำ ให้ผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต เพราะน้ำเป็นตัว |
จำกัดการดำรงชีวิตและการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในน้ำ รวมทั้งสามารถเพิ่มหรือลด |
ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซและธาตุอาหารที่ละลายในน้ำได้ |
|
ปัจจัยต่าง ๆ ในระบบนิเวศดังกล่าวจะมีการประสานสัมพันธ์กันในลักษณะที่สมดุล |
จึงจะทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นปกติ ตัวอย่างการประสานความ |
สัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นปกติ ตัวอย่างการประสาน |
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆในระบบนิเวศ เช่น การที่พืชสังเคราะห์แสงทำให้ |
เกิดสารประกอบคาร์บอนอันเป็นสิ่งจำเป็นของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในการดำรงอยู่ได้ ธาตุ |
อาหารและพลังงานที่เกิดจากพืชจะถ่ายทอดไปสู่สัตว์ และสัตว์ย่อยสลายพืช จนธาตุ |
ต่างๆที่อยู่ในลักษณะของอาหารจะสลายสู่สิ่งแวดล้อมและรอที่จะถูกใช้ต่อไป |
|
|
|
|
|
|