การสูญเสียความสมดุลในระบบนิเวศ |
|
โดยธรรมชาติระบบนิเวศซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ มีหน้าที่แตกต่างกันไป ถ้าไม่ |
มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง ระบบนิเวศจะอยู่ในภาวะสมดุลเป็นปกติ |
แม้ว่าในระบบนิเวศจะมีกระบวนการหลาย ๆ อย่างทั้งการผลิต การบริโภค และการย่อม |
สลายเป็นวัฎจักรแต่องค์ประกอบในแต่ละส่วนของวงจรจะมีการใช้และการปรับปรุง |
ซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเรียกว่าเป็นภาวะของ “ความสมดุลในระบบนิเวศ |
(Ecosystem Balance) ความสมดุลดังกล่าวจะคงอยู่ถ้าไม่มีกระบวนการใด ๆ |
ไปทำให้กระบวนการต่าง ๆ หยุดชะงักหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น การสร้างเขื่อน |
ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำบริเวณหน้าเขื่อนและในบริเวณหลังเขื่อน น้ำจะน้อยลงกว่าเดิม |
สภาพเช่นนี้ทำให้น้ำบริเวณหน้าเขื่อนจะมีปริมาณมากขึ้น ขณะที่น้ำบริเวณหลังเขื่อน |
จะลดปริมาณลง อันเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งสองบริเวณ |
แตกต่างกัน ปลาบางชนิดที่เคยขึ้นไปวางไข่บริเวณหน้าเขื่อนก็ขึ้นไม่ได้ ทำให้ปลา |
ในบริเวณหน้าเขื่อนลดลงจากสภาพดังกล่าว ลักษณะของการตกตะกอนของบริเวณ |
ทั้งสองแห่งก็จะมีความแตกต่างกันและเป็นจุดเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแบบค่อยเป็น |
ค่อยไป |
|
การสูญเสียความสมดุลในระบบนิเวศอาจเกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ หรือ จากน้ำ |
มือของมนุษย์ แต่ผลกระทบมีความแตกต่างกันเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติย่อม |
มีการแก้ไขให้สมดุลได้ด้วยตัวเอง เช่น ในพื้นที่ที่มีหญ้าอุดมสมบูรณ์ ย่อมมีสัตว์ต่าง ๆ |
อาศัยอยู่เช่นกวางชนิดต่าง ๆ ที่มีจำนวนมากจะถูกจับเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อ |
ประเภทเสือหรือสิงโต ซึ่งเป็นการลดปริมาณของกวางในพื้นที่ดังกล่าวไม่ให้มีจำนวน |
มากเกินไป แต่ถ้าจำนวนกวางลดลงมากเกินไปย่อมทำให้สัตว์กินเนื้อ ขาดแคลนอาหาร |
และอาจต้องอพยพไปหาแหล่งอาหารใหม่เพื่อความอยู่รอด |
|
มนุษย์มีสวนทำลายระบบนิเวศมากที่สุด อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การ |
เพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของเมือง การขยายตัวของพื้นที่เพื่อทำการเกษตร |
กรรม การนำเทคโนโลยีมาพัฒนารูปแบบการเกษตรสมัยใหม่ การตั้งโรงงาน |
อุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตล้วน |
ทำให้ระบบนิเวศถูกทำให้เสียสมดุลอย่างรวดเร็วและรุนแรง มูลเหตุที่ทำลายระบบ |
นิเวศที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย |
1. |
การเพิ่มประชากร ทำให้มีความต้องการในการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรเพิ่ม |
ขึ้น ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อนกำลังประสบปัญหาการทำ |
ลายพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมากเนื่องจากประชากรจะบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย |
ทำให้ดิน ป่าไม้ สภาวะแวดล้อมเสียหายเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผลผลิตที่ได้ไม่มี |
มูลค่าเพียงพอกับทรัพยากรที่สูญเสียไป |
2. |
การเกษตรสมัยใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อบริโภคเป็นการผลิตเพื่อการ |
ค้าทำให้มีการนำสารเคมีเช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืชมาเร่งอัตราการเติบโต |
เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ การนำสารต่าง ๆ มาใช้มักเกิดการตกค้างในดินและอาจถูก |
ชะล้างในแหล่งน้ำไปส่งผลกระทบสิงมีชีวิตในน้ำและในดิน การเร่งผลผลิตมากเกิน |
ไปจะได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เป็นการทำลายแร่ธาตุ ในดินให้ลดลงอย่างรวดเร็ว |
เช่นเดียวกัน |
3. |
การขยายตัวของเมือง จากการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้เกิดความต้องการที่พัก |
อาศัยเพิ่มขึ้นจึงเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว พื้นที่ทางการเกษตรจะถูกใช้ |
เพื่อการสร้างที่พักอาศัยและเป็นสถานที่เพื่อประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการสร้างตึก |
ศูนย์การค้า ถนนหนทาง ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป เกิดการถ่ายเทของเสีย |
จากเมืองซึ่งทำให้เกิดมลพิษทางน้ำและอากาศ อันส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของ |
สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์โดยตรง |
4. |
การอุตสาหกรรม เป็นกิจกรรมที่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบใน |
ปริมาณมากเกินกว่าธรรมชาติจะสร้างทดแทนให้มีความสมดุลดังเดิมได้ ซึ่งทำให้เกิด |
ภาวะของผู้บริโภคมีจำนวนมากกว่าผู้ผลิตในระบบนิเวศ อันส่งผลให้เกิดความ |
เสื่อมโทรมหรือภาวะขาดแคลนของทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ นอกจากนี้กระบวน |
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะมีของเสียเกิดขึ้น เช่น น้ำเสีย ไอเสีย ที่ส่งผลกระทบ |
ต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในบริเวณที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่และบริเวณ |
ใกล้เคียงอันมีส่วนสำคัญในการทำลายการเติบโตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยตรง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|