การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ |
|
โดยธรรมชาติมีความเปลี่ยนแปลงทุกระบบนิเวศแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ |
ค่อยเป็นค่อยไปที่ส่งผลกระทบหรืออันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยมาก แต่ใน |
สภาพปัจจุบันมนุษย์ได้ทำลายสมดุลของระบบนิเวศลงและปรากฏผลกระทบต่อตัวเอง |
และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อย่างรุนแรง จึงมีการให้ความสำคัญในการศึกษาและดำเนิน |
การต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ระบบนิเวศกลับมาอยู่ในภาวะที่สมดุลด้วยมาตรการต่าง ๆ |
โดยใช้หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ |
1. |
การสำรวจ (Exploration) เพื่อเก็บและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากร |
ธรรมชาติต่าง ๆ เช่น แหล่งน้ำมันดิบ แหล่งก๊าซธรรมชาติ พื้นที่ป่าไม ้แหล่งน้ำ |
ว่ามีจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหน สามารถนำออกมาใช้ได้หรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบ |
การวางแผนในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
2. |
การป้องกัน (Protection) เป็นแนวทางที่กำหนดเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งที่ใช้แล้ว |
มีสารตกค้างหรือส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดพิษภัย ความเสื่อมโทรมหรือความเสียหาย |
อื่น ๆ เช่น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินและเป็นการป้องกัน |
แหล่งน้ำตื้นเขิน |
3. |
การลดอัตราความเสื่อมสูญ (Elimination of Waste) เป็นการนำทรัพยากร |
มาใช้ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยให้เกิดส่วนเสียหรือส่วนที่ไม่ใช้ประโยชน์ |
น้อยที่สุด เช่น น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่ไหล่สู่ทะเล เอาน้ำมาใช้ |
ประโยชน์ด้วยการสร้างเขื่อนสร้างอ่างเก็บน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบกระจายสู่ชุมชนอื่น ๆ |
4. |
การใช้สิ่งที่มีคุณภาพรองลงมา (Use Lower – Grade Materials)
|
เป็นการใช้ทรัพยากรชนิดเดียวกันแต่มีคุณภาพรองลงมา เป็นวัตถุดิบทดแทนทรัพยากร |
ที่มีปริมาณน้อยลงและมีแนวโน้มหมดไป เช่น การใช้ไม้สะเดาช้าง ไม้สน ซึ่งปลูก |
เป็นป่าเศรษฐกิจมาทดแทนไม้สักที่มีปริมาณน้อยมากในปัจจุบัน |
5. |
การปรับปรุงคุณภาพ (Improve the Quality) เป็นการนำเทคนิคและวิธี |
การใหม่ ๆ มาใช้กับทรัพยากรที่มีคุณภาพต่ำเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ |
มากขึ้น เช่น การบำบัดน้ำเสียให้ป็นน้ำสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การปรับปรุงดินจืด |
ดินเสื่อมให้มีความอุดมสมบูรณ์การปรับปรุงดินเดิมให้สามารถเพราะปลูกได้ เป็นต้น |
6. |
การนำมาทดแทน (Substitution) เป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวน |
มากและหาได้ง่ายมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่มีน้อยและหายากแต่มี |
ประโยชน์ในการใช้ใกล้เคียงกันเช่น การใช้เหล็กแทนไม้ การใช้เส้นใยสังเคราะห์ |
แทนใยไหมใยฝ้าย การใช้พลาสติกแทนสังกะสีหรือกระดาษ เป็นต้น |
7. |
การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก (Re-Cycling) เป็นการนำทรัพยากรที่ไม่ใช้ |
แล้วมาผ่านกระบวนการใหม่เพื่อผลิตเป็นวัสดุใหม่นำไปใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น |
การหลอมเศษแก้วมาทำขวดใหม่ การนำเศษกระดาษมาทำกระดาษใหม่ การนำเศษ |
เหล็กมาทำแผ่นเหล็ก ตลอดจนการใช้ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมาทำปุ๋ย เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
|
|