หนังสือภายใน
หนังสือภายใน คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก
ใช้ในการติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ โดยกรอก
รายละเอียด ดังนี้
๑. ส่วนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือโดยมีรายละเอียดพอสมควร ปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป
ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง
ถ้าราชการที่ออกหนังสืออยู่ในส่วนราชการที่ต่ำกว่ากรมลงมา
ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
พร้อมทั้งให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
๒. ที่ ให้ลงตัวรหัสพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง
ทับเลขทะเบียนหนังสือส่งสำหรับหนังสือของคณะกรรมการให้กำหนดตัวรหัสพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความจำเป็น
๓. วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน
และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
๔. เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น
ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่อง ให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
๕. คำขึ้นต้น ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้น
สรรพนาม และคำลงท้าย แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง
หรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
๖. ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
และหากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกัน
หรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุไว้ในข้อนี้
๗. ลงชื่อและตำแหน่ง โดยอนุโลมในกรณีที่กระทรวง
ทบวง กรม หรือจังหวัดใดประสงค์จะกำหนดแบบการเขียนโดยเฉพาะ
เพื่อใช้ตามความเหมาะสมก็ให้กระทำได้
ในทางปฏิบัติ ส่วนราชการมักใช้หนังสือประเภทนี้ติดต่อภายในกรมเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
หากต้องติดต่อต่างกรมก็มักใช้เป็นหนังสือภายนอก เช่น หนังสือจากสำนักงาน
ก.พ. ติดต่อไปยังสำนักงบประมาณ ซึ่งสังกัดในสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยกันก็มักใช้หนังสือภายนอก
เป็นต้น (สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์, ๒๕๔๐ : ๑๒๗)
ตัวอย่างในเอกสาร
PDF
|