|
สรีระวิทยาการกีฬา ( Sport Physiology) ชีวกลศาสตร์การกีฬา ( Sport Biomechanics) โภชนาการการกีฬา ( Sport Nutrition) จิตวิทยาการกีฬา ( Sport Psychology) เวชศาสตร์การกีฬา (Sport Medicine) วิศวกรรมและเทคโนโลยี (Engineering and Technology)
วิทยาศาสตร์การกีฬานำมาใช้เพื่อสร้างสมรรถภาพทางกาย เพื่อพัฒนาทักษะกีฬา พัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อการทดสอบ วัดผล และประเมินผล เพื่อพัฒนาสภาพจิตใจ เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัยและเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและภาวะความสมบูรณ์ของร่างกาย
สิ่งที่ผู้ฝึกสอนควรรู้คือโครงสร้างร่างกายสัมพันธ์กับชนิดของกีฬาที่เล่น สรีรวิทยาของการออกกำลังกายโดยเฉพาะระบบพลังงาน รู้กระบวนการ ขั้นตอนการเรียนรู้ทักษะ รู้วิธีที่จะไปดัดแปลงกระบวนการการเรียนรู้ให้ดีขึ้นและเร็วขึ้น ชีวกลศาสตร์ ( Biomechanics) สรีรวิทยาของการฝึก ( Physiology of training) ต้องรู้จิตวิทยาการกีฬา ( Sport psychology) และควรมีความรู้รอบตัวในเรื่องอื่นๆ ที่จะเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อความสามารถของนักกีฬา เช่น รู้เกี่ยวกับผลของอากาศ (เช่น อุณหภูมิ, ความชื้น, ความสูงจากระดับน้ำทะเล) รู้เกี่ยวกับอาหาร การเจ็บป่วย และการบาดเจ็บต่อการเล่นกีฬา รู้วิธีเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพนักกีฬา และวิธีป้องกันการบาดเจ็บ มีความสามารถในการบริหารโดยอาศัยความรู้ทางการบริหารกีฬา ( Sports management) มาใช้ในการบริหารเวลาและทรัพยากรที่จะอำนวยให้การเตรียมนักกีฬาประสบผลสำเร็จสูงสุด
ชีวกลศาสตร์กับการบาดเจ็บทางการกีฬา มีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อเพิ่มสมรรถนะและพัฒนาความสามารถในการเล่นกีฬา (Improve performance) และเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและลดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Reduction of injury)
|